Page 64 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 64
2-54 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ขนั้ ตอน 5 การออกแบบการเลอื กตวั อยา่ ง และการเลอื กผใู้ หข้ อ้ มลู การด�ำเนินงานข้ันตอนน้ีเป็นการ
ออกแบบและการด�ำเนินงานในการเลือกตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูล ซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะงานวิจัย กล่าวคือ
การด�ำเนินงานการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย การก�ำหนดกลุ่มประชากร การก�ำหนดขนาดตัวอย่าง
(sample size) และการเลือกตัวอย่างซ่ึงนิยมใช้กระบวนการสุ่ม (randomization process) ส่วนการวจิ ยั
เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การระบุลักษณะและจ�ำนวนผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญ (key informants) การลงพื้นท่ี
ส�ำรวจ ท�ำความรู้จักคุ้นเคย และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลขั้นต้น เพ่ือให้มีข้อมูลในการเลือกผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญ
ส�ำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซ่ึงนิยมใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive selection) เพราะนักวิจัยต้องการ
ผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญที่มีประสบการณ์ตรง มีข้อมูลสมบูรณ์เพียบพร้อม (rich data) และมีความเต็มใจให้ความ
ร่วมมือแก่นักวิจัยอย่างดีท่ีสุด
การออกแบบและด�ำเนินการเลือกตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญดังกล่าว นักวิจัยจ�ำเป็นต้องอาศัย
ความรจู้ ากวรรณกรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ ง เพื่อให้มีความรู้ว่าวิธีการท่ีถูกต้องทันสมัยในการเลือกตัวอย่างส�ำหรับการ
วิจัยเชิงปริมาณ และผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญส�ำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพควรเป็นแบบใด เลือกจ�ำนวนเท่าใด และมี
ขั้นตอนการเลือกอย่างไร เพื่อให้ได้ตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญที่มีจ�ำนวนเหมาะสมมีลักษณะใกล้เคียง และมี
คณุ สมบตั เิ ปน็ ตวั แทนทดี่ ขี องประชากรในการวจิ ยั ได้ รวมทง้ั ไดแ้ นวทางการเลอื กซอ่ มกรณตี วั อยา่ งผใู้ หข้ อ้ มลู
ขาดหาย (missing) เพื่อให้สามารถตอบค�ำถามวิจัยได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย นอกจากนี้นักวิจัยควร
ต้องศึกษาวรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยใหม่ ๆ เพ่ือเรียนรู้แนวทางการใช้วิธีการใหม่ทันสมัยที่ให้ผลการ
ด�ำเนินงานถูกต้องมากยิ่งข้ึนด้วย เช่น การเลือกตัวอย่างงานวิจัยเชิงปริมาณ ควรใช้การเลือกตัวอย่างแบบ
G*Power (Cohen, 1988; Erdfelder, Faul, & Buchner, 1996; Faul, Erdfelder, Buchner, & Lang,
2009; Faul, Erdfelder, Lang, & Buchner, 2007; G* Power 3.1 manual, 2017)
ข้ันตอน 6 การด�ำเนินการสร้าง/พัฒนาเครื่องมือวิจัย การด�ำเนินงานข้ันตอนน้ีแตกต่างกันตาม
ลักษณะงานวิจัย กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย การนิยามตัวแปรทุกตัวในกรอบแนวคิดการ
วิจัย ท้ังนิยามเชิงทฤษฎีและนิยามเชิงปฏิบัติการ การเลือกใช้/การสร้าง/พัฒนาเครื่องมือวิจัยให้เหมาะสมกับ
ตัวอย่าง การทดลองใช้เครื่องมือวิจัย รวมท้ังการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ซ่ึงหากมีคุณภาพตํ่าต้องมี
การปรับปรุงเคร่ืองมือวิจัยด้วย เคร่ืองมือวิจัยเชิงปริมาณที่นิยมใช้กันมาก คือ แบบสอบถาม มาตรวัด แบบ
สัมภาษณ์มีโครงสร้าง แบบสังเกต และการใช้เครื่องมือทางประสาทวิทยาในการวัดความดัน การขยายม่านตา
ฯลฯ ทสี่ ะทอ้ นความรสู้ กึ แทจ้ รงิ ของผตู้ อบคำ� ถาม สว่ นการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ ประกอบดว้ ย การกำ� หนดขอบขา่ ย
ขอ้ มลู การเลอื กใชเ้ ครอ่ื งมอื วจิ ยั ทเ่ี หมาะสมในการรวบรวมขอ้ มลู จากผใู้ หข้ อ้ มลู สำ� คญั การทดลองใชเ้ ครอ่ื งมอื
วิจัย และการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รวมทั้งการปรับปรุงเครื่องมือวิจัยกรณีท่ีคุณภาพเคร่ืองมือ
วิจัยตํ่า เคร่ืองมือวิจัยเชิงคุณภาพท่ีนิยมใช้ส่วนใหญ่เป็นเคร่ืองมือที่มีอยู่แล้ว เช่น ตัวนักวิจัย อุปกรณ์ที่ช่วย
ในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นครุภัณฑ์ เช่น กล้องถ่ายภาพน่ิง/ภาพยนตร์/วีดิทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
รวมท้ังเครื่องมือวิจัยท่ีต้องสร้าง/พัฒนาเฉพาะงานวิจัย เช่น แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (partici-
pant observation) ประเด็นค�ำถามหลักและแนวค�ำถามตรวจสอบรอบด้าน (probing) แบบบันทึกการ
สัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) และแบบสัมภาษณ์ในกลุ่มสนทนา (focus group interview)
(Neuman, 1991)