Page 62 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 62
2-52 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เครื่องมือวัดและตรวจสอบคุณภาพ ผลการวัดตัวแปรให้ได้ตัวแปรที่มีความคลาดเคล่ือนในการวัดน้อยที่สุด
ซึ่งท�ำให้ได้กรอบแนวคิดในการวิจัย (research conceptual framework) และสมมติฐานวิจัย (research
synthesis) ที่เหมาะสม
กรณกี ารวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ แม้ว่าการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณมีแนวคิด ปรัชญา
และการด�ำเนนิ งานวิจยั ทุกขน้ั ตอนแตกตา่ งกัน แตเ่ ปา้ หมายและขน้ั ตอนการวจิ ยั คลา้ ยคลึงกนั คือ มเี ปา้ หมาย
เพ่ือตอบปัญหาวิจัยให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง ตรง และมีคุณค่าเช่นเดียวกัน รวมท้ังมีขั้นตอนหลักในการ
ด�ำเนินการวิจัยคล้ายคลึงกัน แต่ด้วยความแตกต่างด้านปรัชญาท่ีใช้ในการวิจัย จึงมีผลท�ำให้มีวิธีด�ำเนินการ
แตกต่างกัน โดยเฉพาะในด้านการออกแบบการวิจัย ซ่ึงการออกแบบกรณีการวิจัยเชิงคุณภาพมีแนวคิดที่มี
การพัฒนาเสริมต่อแนวคิดในอดีตให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สรุปได้เป็นแนวคิดในการออกแบบการวิจัย
เชิงคุณภาพ 3 แนวคิด ดังนี้
แนวคิดแรก แนวคิดของ Uwe Flick (2009) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเชิง
คุณภาพสาขาวิชาการพยาบาล วิทยาการด้านผู้สูงอายุ และงานบริการสังคม ณ Alice Salomon Univer-
sity of Applied Sciences กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้อธิบายหลักการด้านการออกแบบ
การวิจัยเชิงคุณภาพแยกเป็น 2 แบบ คือ แบบแรก เป็นแนวคิดท่ัวไป หมายถึง ‘กระบวนการก�ำหนดค�ำถาม
ในการวางแผนการวิจัยเชิงคุณภาพ’ ส่วนแบบท่ีสอง เป็นแนวคิดเฉพาะประเด็น หมายถึง ‘กระบวนการ
ก�ำหนดแนวคิดด้านวิธีด�ำเนินการวิจัยส�ำหรับค�ำถามวิจัยแต่ละค�ำถาม ว่าจะใช้วิธีด�ำเนินการวิจัยกี่ขั้นตอน
แต่ละข้ันตอนมีหลักการ วิธีการ และข้ันตอนการด�ำเนินงานอย่างไร รวมทั้งเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพ
การออกแบบการวิจัยด้วย’ แนวคิดที่สองน้ีเน้นความส�ำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพตามหลักการวิจัยท่ี
สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพและประสิทธิผลตามท่ีนักวิจัยมุ่งหวัง
แนวคิดที่สอง แนวคิดของนักวิจัยสังคมวิทยา Creswell & Ckark (2011) และ
Mohajan (2018) อธิบายว่า การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกิจกรรมทางสังคมของนักวิจัย ที่นักวิจัยออกแบบการ
วิจัยโดยมุ่งศึกษาการแปลความ/การตีความของบุคคลที่เป็นเป้าหมายของการวิจัย และศึกษาประสบการณ์
ของบุคคลนั้นเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงในประสบการณ์ของบุคคลนั้น อันน�ำไปสู่สภาพความเป็นจริงทาง
สังคมของบุคคล การออกแบบการวิจัย เริ่มต้นด้วยการพิจารณาก�ำหนดเป้าหมายในการออกแบบการวิจัย
โดยการต้ังค�ำถามว่า ‘ต้องการศึกษาปัญหาวิจัยอะไร และด�ำเนินการวิจัยอย่างไรเพ่ือให้ได้ค�ำตอบปัญหา
วิจัยน้ัน’ ดังตัวอย่างการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเร่ิมต้นด้วยการพิจารณา ‘ปัญหาวิจัย’ เพื่อก�ำหนด
ค�ำถามในการออกแบบการวิจัย ได้แก่ ปัญหาวิจัยดังกล่าวต้องการข้อมูลประเภทใด ลักษณะอย่างไร
จากใคร น�ำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการใด และสรุปผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีใดเพื่อให้ได้ค�ำตอบปัญหาวิจัย’
ผลการตอบค�ำถามดังกล่าวท�ำให้ได้ ‘แบบแผนการวิจัย’ เป็นแนวทางด�ำเนินการวิจัยเพ่ือตอบปัญหาวิจัยได้
งานขนั้ ตอ่ ไป คอื การดำ� เนนิ การตามแบบแผนการวจิ ยั ทอ่ี อกแบบไวใ้ หไ้ ดผ้ ลการวจิ ยั ทกุ ขน้ั ตอนอยา่ งเหมาะสม
แนวคดิ ทสี่ าม แนวคดิ ของ Godin & Zahedi (2014) ซงึ่ สรปุ สาระท่ี Sir Christopher
John Frayling ผู้เป็นบุคคลส�ำคัญด้านการศึกษาศิลปะและการออกแบบ (art and design education)
ในสมัยน้ัน ได้เสนอผลงานใน The Royal College of Art Research Papers เม่ือ ค.ศ. 1993 และ Alain
Findeli ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยแห่งมอนทรีออล (Universitè de Montrèal) ได้ปรับขยายความสาระให้
ชัดเจนมากข้ึนเมื่อ ค.ศ. 2004 สรุปได้ว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยกับศิลปะและการออกแบบ มี 3 รูปแบบ