Page 61 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 61
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-51
ให้ได้ผลการวิจัยตอบปัญหา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง DV & IV ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ผู้อ่านควร
ทราบด้วยว่าในการวิจัยจริง นักวิจัยอาจมีตัวแปรท้ัง 3 ประเภท และแต่ละประเภทมีหลายตัวแปรได้ แต่ใน
ภาพท่ีเสนอในที่นี้แสดงให้เห็นตัวแปรประเภทละตัวแปรเดียวเพ่ือให้เข้าใจความหมายของการออกแบบการ
วิจัยได้ง่าย
IV การเพ่ิมความแปรปรวนในระบบ
DV ให้มีค่าสูงสุด
การลดความแปรปรวนความคลาดเคลื่อน
ให้มีค่าต่ําสุด
การควบคุมความแปรปรวนแทรกซ้อน
EV ให้มีค่าคงที่
ภาพท่ี 2 หลักแมกซ์-มนิ -คอน (Max.- Min.- Con. principle)
ทีม่ า: ปรับจาก Kerlinger & Lee. (2000).
จากภาพที่ 2 ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร DV และ IV เมื่อควบคุมตัวแปร EV ที่
สมั พนั ธก์ บั DV ดว้ ย ทำ� ใหเ้ กดิ ความแปรปรวนในตวั แปร DV แยกไดเ้ ปน็ 3 สว่ น สว่ นแรก คอื ความแปรปรวน
ของ DV เฉพาะส่วนที่สัมพันธ์กับตัวแปร IV เรียกว่า ความแปรปรวนมีระบบ (systematic variance) ท่ีนัก
วิจัยต้องออกแบบการวิจัยให้มีค่าสูงสุดตามหลัก ‘การเพิ่มความแปรปรวนมีระบบให้มีค่าสูงสุด (maximiza-
tion of systematic variance)’ สว่ นทีส่ อง คือความแปรปรวนของ DV เฉพาะส่วนที่สัมพันธ์กับตัวแปร
EV เรียกว่า ความแปรปรวนแทรกซ้อน (extraneous variance) ที่นักวิจัยต้องการควบคุมให้มีค่าคงที่ตาม
หลัก ‘การควบคุมความแปรปรวนแทรกซ้อนให้มีค่าคงท่ี (control of extraneous variance)’ และส่วนที่
สาม คือความแปรปรวนของ DV ท่ีเหลืออยู่เมื่อหักความแปรปรวนสองส่วนแรกออกไปแล้ว เรียกว่า ความ
แปรปรวนความคลาดเคล่ือน (error variance) ท่ีนักวิจัยต้องการออกแบบการวิจัยให้มีค่าต่ําสุดตามหลัก
‘การลดความแปรปรวนความคลาดเคล่ือนให้มีค่าตํ่าสุด (minimization of error variance)’ ในที่น้ีผู้เขียน
มิได้ให้รายละเอียดในการควบคุมความแปรปรวนทั้ง 3 แบบ เพราะผู้อ่านจะได้เรียนรู้สาระดังกล่าวในหน่วย
ที่เก่ียวกับการออกแบบการวิจัยต่อไป
กรณีท่ีนักวิจัยใช้หลักแมกซ์-มิน-คอน (Max.- Min.- Con. principle) ในการออกแบบการ
วิจัย ผลการออกแบบขั้นต้นท�ำให้นักวิจัยได้แนวทางในการด�ำเนินการวิจัยให้ตรงตามปัญหาวิจัยมากท่ีสุด
เพราะนักวิจัยสามารถใช้แนวคิดทฤษฎีและความรู้จากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อเลือก IVs ท่ีสัมพันธ์กับ
DVs มาศึกษาได้ครบถ้วน ระบุตัวแปร EVs ท่ีจะต้องควบคุมและนิยามตัวแปรท่ีเลือกไว้ ออกแบบพัฒนา