Page 60 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 60
2-50 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
น�ำเสนอสาระในขั้นตอน 2 และ 3 เน้นเฉพาะหัวขอ้ กจิ กรรมโดยไม่มรี ายละเอียดมากนัก เพราะสาระดังกล่าว
เป็นสาระในหน่วยท่ี 2 (ตอนที่ 2.2 และ 2.3) ซ่ึงผู้อ่านต้องได้เรียนรู้ต่อไป
ขนั้ ตอน 4 การออกแบบการวจิ ยั เปน็ ขัน้ ตอนท่ีมคี วามสำ� คัญมากในการดำ� เนินการวจิ ยั ความสำ� คญั
ของแบบแผนการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบการวิจัยกับการสร้างอาคารบ้านเรือน ‘แบบการวิจัย (research de-
sign)’ เปรียบเสมือน ‘พิมพ์เขียว’ ของสถาปนิก ส่วนผลจากการออกแบบการวิจัย คือ ‘แผนงานวิจัย (re-
search plan)’ เปรียบเสมือน ‘แผนงานโครงการก่อสร้าง’ ของวิศวกรและช่างฝีมือตามพิมพ์เขียวของ
สถาปนิก และ ‘ยุทธวิธีในการวิจัย (research strategy)’ เปรียบเสมือน ‘เทคนิควิธีท่ีช่างก่อสร้างใช้ในการ
สร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามแผนงานก่อสร้างท่ีก�ำหนดไว้ (Cooper, Hedges, & Valentine, 2009) ผู้อ่านจะ
เหน็ ไดว้ า่ หากพมิ พเ์ ขยี วในการสรา้ งอาคารบา้ นเรอื นไมต่ รงตามความตอ้ งการของเจา้ ของอาคารบา้ นเรอื น ยอ่ ม
ท�ำให้เจ้าของผิดหวังมาก เช่นเดียวกับการวิจัย หากนักวิจัยออกแบบการวิจัยท่ีไม่สามารถตอบค�ำถามวิจัยได้
ตามเป้าหมาย ย่อมได้แผนงานวิจัยและวิธีด�ำเนินการวิจัยท่ีท�ำให้นักวิจัยได้ผลงานวิจัยไม่ตรงตามความ
ต้องการ และไม่สามารถตอบค�ำถามวิจัยได้ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยทุกคนจึงต้องใส่ใจและต้ังใจออกแบบ
การวิจัยให้เหมาะสมท่ีสุด เพ่ือให้ได้ผลการวิจัยตรงตามความต้องการ
การออกแบบการวิจัยที่ดี ควรเร่ิมต้นจากการก�ำหนดเป้าหมาย ในท่ีน้ีเป้าหมายในการออกแบบการ
วิจัย คือ การได้ผลการวิจัยที่ตอบปัญหาวิจัยได้ถูกต้อง ตรง และชัดเจนที่สุด การเสนอสาระในตอนนี้จึงเร่ิม
ด้วยการเสนอ ‘แบบการวิจัย (research design)’ และ ‘วิธีการออกแบบการวิจัย (to design a research)’
ซ่ึงมีลักษณะแตกต่างกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ Kerlinger (1973) และ Ker-
linger & Lee (2000) ใหน้ ยิ ามวา่ ‘แบบการวจิ ยั ’ หมายถงึ พมิ พเ์ ขยี ว (blueprint) แผนงาน (plan) โครงสรา้ ง
(structure) และยุทธวิธี (strategies) ในการด�ำเนินงานวิจัย เพื่อให้ได้ค�ำตอบปัญหาวิจัยที่ถูกต้อง และ
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2542) ได้เรียบเรียงสรุปความหมายของ Kerlinger & Lee (2000) ว่า แบบการวิจยั เป็น
แผนงาน (plan) แสดงแนวทางและข้ันตอนในการด�ำเนินการวิจัย เป็นโครงสรา้ ง (structure) แสดงรปู แบบ
(model) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร/ประเด็นในการวิจัย และเป็นยุทธวิธี (strategy) ที่นักวิจัยใช้ในการ
ด�ำเนินการวิจัยให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง
กรณีการวจิ ยั เชิงปริมาณ Kerlinger (1973); Kerlinger & Lee (2000) ได้อธิบายเพ่ิมเติม
ว่า การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มี ‘วัตถุประสงค์’ 2 ประการ ประการแรก คือ การตอบค�ำถามวิจัยอย่าง
ถูกต้องและตรง และประการท่สี อง คือ การควบคุมความแปรปรวน (control of variances) ซึ่งจัดประเภท
การควบคุมแยกเป็น 3 ด้าน ตามหลักแมกซ์-มิน-คอน (Max.- Min.- Con. principle) ดังภาพที่ 2 ในภาพ
ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าการวิจัยเชิงปริมาณมีตัวแปรส�ำคัญ 3 ประเภท คือ ตัวแปรตาม (dependent variable -
DV) ตัวแปรต้น (independent variable - IV) และตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable - EV) ที่
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวแปร DV & IV และนักวิจัยไม่ต้องการศึกษาในการวิจัยคร้ังน้ี แต่ต้องน�ำมาวิจัยเพ่ือ
ควบคุม