Page 55 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 55
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-45
การวัดที่มีการออกแบบและตรวจสอบคุณภาพให้ได้เครื่องมือวิจัยมีคุณภาพสูง แบบแผนการเลือกตัวอย่าง
และ/หรือผู้ให้ข้อมูล และการรวบรวมข้อมูลตามหลักวิจัยโดยไม่มีความล�ำเอียง (bias) 4) วธิ วี ทิ ยา ใช้โลก-
ทัศน์แบบการตรวจสอบพิสูจน์ (verification) มุ่งใช้การวิเคราะห์ตรวจสอบความถูกต้องของทฤษฎีท่ีเป็น
พ้ืนฐานแนวคิดในการวิจัย โดยการก�ำหนด และทดสอบสมมติฐานวิจัยตามหลักสถิติวิเคราะห์ให้ได้ค�ำตอบ
ปัญหาวจิ ยั และ 5) วาทศลิ ป์ ใชโ้ ลกทศั นแ์ บบเสนอรายงานวจิ ยั เปน็ ทางการ (formal style) มุ่งใชน้ ิยามตวั แปร
และเครื่องมือวัดตวั แปรทมี่ ีคุณภาพ ในการรายงานผลการวิจยั ตรงตามความจรงิ ตวั อยา่ งการวิจัยเชงิ ปรมิ าณ
เช่น การวิจัยทดลอง การวิจัยส�ำรวจ (แบบมีการสุ่มตัวอย่าง) การวิจัยและพัฒนา และการวิจัยพยากรณ์
การวจิ ัยเชงิ คณุ ภาพ (qualitative research) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้โลกทัศน์แบบ ‘โครงสร้างนิยม
(constructivism)’ ด�ำเนินการ 5 ด้าน คือ 1) ภววิทยา ใช้โลกทศั น์แบบเนน้ ความเข้าใจ (understanding)
ความรู้ความจริงท่ีหลากหลาย (multiple realities) มุ่งศึกษาปัญหาวิจัยโดยติดตามศึกษาปรากฏการณ์ที่
เกดิ ขนึ้ จรงิ ระยะยาว เนน้ การศกึ ษาใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจความหมาย (meaning) ของปรากฏการณท์ ศี่ กึ ษา ปญั หา
วิจัยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบค�ำถามว่า อะไร (what) และอย่างไร (how) 2) ญาณวิทยา ใชโ้ ลกทศั น์แบบเนน้
ความหมายของผู้มีส่วนรวมทหี่ ลากหลาย (multiple participant meanings) มุ่งศึกษาข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล
ส�ำคัญแต่ละคน น�ำมาสังเคราะห์ให้ได้ความหมายจากโลกทัศน์ที่หลากหลาย 3) คุณวิทยา ใช้โลกทัศน์แบบ
การสร้างทัศนะทางประวัติศาสตร์และสังคม (social and historical construction) มุ่งศึกษาและรวบรวม
ข้อมูลแบบอัตนัยจากการสัมภาษณ์แบบลึก (indepth interview) ผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญแต่ละคน จนได้รับข้อมูล
อ่ิมตัว (saturated data) จึงน�ำมาสังเคราะห์ประมวลเข้าด้วยกัน ให้เกิดความคิดรวบยอดท่ีตอบค�ำถามวิจัย
ได้แบบพลวัต 4) วธิ วี ทิ ยา ใชโ้ ลกทศั นแ์ บบการสงั เคราะหแ์ ละตรวจสอบพสิ จู นข์ อ้ มลู เพอ่ื สร้าง/พฒั นาทฤษฎี
(theory generation) มุ่งศึกษาผลการด�ำเนินงานตามโลกทัศน์ท้ัง 3 ด้านข้างต้น โดยการประมวล วิเคราะห์
และสังเคราะห์ข้อมูล รวมท้ังอภิปรายผลการสังเคราะห์เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ร่วมกันให้ได้ผลสุดท้ายเป็น
ข้อค้นพบจากระดับรากหญ้าสู่ระดับทฤษฎีฐานราก (grounded theory) และ 5) วาทศิลป์ ใช้โลกทัศน์แบบ
การเสนอรายงานวจิ ยั อยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ (informal style) มงุ่ สงั เคราะห์ และบรรยายผลการวจิ ยั ดว้ ย สำ� นวน
โวหาร และอปุ มาเชงิ เปรยี บเทยี บผลการวจิ ยั แสดงในรปู อปุ ลกั ษณ์ (metaphor) อนั เปน็ คำ� อปุ มาเพยี งคำ� เดยี ว
หรือวลีเดียว แต่มีความหมายรวมผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้สละสลวย และแสดงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ระหว่างอุปลักษณ์ ตวั อยา่ งแบบแผนการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ เช่น การวิจัยกรณีศึกษา การวิจัยทฤษฎีฐานราก การ
วิจัยชีวประวัติ และการวิจัยศึกษาความเป็นพลวัตด้านการพัฒนาเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล
การวิจยั ผสมวธิ ี (mixed method research) การวิจัยผสมวิธีใช้ ‘โลกทัศน์ปฏิบัตินิยม (pragma-
tism)’ ด�ำเนินการ 5 ด้าน คือ 1) ภววิทยา ใช้โลกทัศน์ท้ังแบบเนน้ ผลทเ่ี กดิ จากปญั หาวิจยั เพ่อื ให้ได้ความรู้
ความจริงทั้งแบบที่มีอยู่แบบเดียว และแบบที่มีอยู่หลากหลาย มุ่งศึกษาปัญหาวิจัยท่ีเน้นทั้งปัญหาวิจัยแบบ
ความสมั พนั ธเ์ ชงิ สาเหตุ และแบบตดิ ตามศกึ ษาปรากฏการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ จรงิ ระยะยาว เนน้ การศกึ ษาใหเ้ กดิ ความ
เข้าใจความหมาย (meaning) ของปรากฏการณ์ที่ศึกษา 2) ญาณวิทยา ใชโ้ ลกทศั นท์ งั้ แบบลดรูปนิยม และ
แบบเนน้ ความหมายของผมู้ สี ว่ นรวมทห่ี ลากหลาย มุ่งศึกษาทั้งตัวแปรคัดสรรเฉพาะตัวแปรที่มีความสัมพันธ์
กันเด่นชัด โดยควบคุมตัวแปรท่ีมีความสัมพันธ์ตํ่ากับตัวแปรตาม และแบบศึกษาข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก
แต่ละคน น�ำมาสังเคราะห์เพ่ือให้ได้ความหมายจากโลกทัศน์ท่ีหลากหลาย 3) คุณวิทยา ใช้โลกทัศน์ทั้งแบบ
การสังเกตและการวัดแบบประจักษ์นิยม และแบบการสร้างทัศนะทางประวัติศาสตร์และสังคมมุ่งศึกษา