Page 52 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 52
2-42 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
สรุป
เรื่องท่ี 2.1.2 เสนอสาระรวม 2 หัวข้อ คือ วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม และประโยชน์
ของการทบทวนวรรณกรรม ดังสาระสรุปแต่ละหัวข้อดังน้ี
สาระหัวข้อ ‘วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม’ มีประวัติความเป็นมา สรุปได้ว่า ในอดีต
การทบทวนวรรณกรรมยังไม่มีรูปแบบท่ีชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นการสังเคราะห์หลักฐานเอกสารที่เก่ียวข้องกับ
การวิจัยท่ีมีแนวปฏิบัติต่างกัน ต่อมานักวิจัยเริ่มใช้หลักการทบทวนวรรณกรรมแบบมีระบบ (systematic
literature reviews - SLR) ตามลักษณะการวิจัยตามมาตรฐานสากล ซึ่งเริ่มใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
เป็นครั้งแรกช่วงทศวรรษท่ี 1990s ปรากฏผลงานวิจัยหลายเร่ืองที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสาร JAMA รวมท้ัง
ในการประชุมวารสารวิชาการของอังกฤษร่วมกับ UK Cochrane Centre ในปี ค.ศ. 1992 ต่อมาช่วงกลาง
ทศวรรษที่ 1990s แนวคิดการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR ได้รับการยอมรับจากนักวิจัยในสาขาวิชาการ
ศึกษา จิตวิทยา การพยาบาล บรรณารักษศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาวิชาอื่น ๆ น�ำมาใช้ในการวิจัยของ
ตน ในฐานะรูปแบบการทบทวนวรรณกรรมที่มีวัตถุประสงค์และวิธีการมาตรฐาน (standardized method)
ในการด�ำเนินงานเข้มงวด มีผลท�ำให้การทบทวนวรรณกรรมได้รับความเชื่อถือว่ามีคุณสมบัติเป็นวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ (scientific) สามารถท�ำซ้ําได้ (replicable) เป็นปรนัย (objective) ไม่ล�ำเอียง (unbiased)
และเข้มงวด (rigorous) รวมท้ังผลการทบทวนวรรณกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด และมีคุณภาพดี
กว่าการทบทวนวรรณกรรมแบบเก่า วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมแบ่งตามกิจกรรมการศึกษา
วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องจ�ำแนกเป็น 2 ประเภท ต่อเนื่องกัน คือ 1) วัตถุประสงค์ของกิจกรรมการค้นคว้า/
คน้ คนื วรรณกรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ ง เพอื่ ใหน้ กั วจิ ยั มคี วามรอบรแู้ ละศกั ยภาพเปน็ อยา่ งดี 2 ดา้ น คอื (1) ดา้ นความรู้
สารสนเทศ การระบุประเภท ต�ำแหน่งที่อยู่ และวิธีการค้นคืนวรรณกรรมแบบใหม่ และ (2) ด้านการด�ำเนิน
การค้นคนื การประเมนิ การคดั สรร การอ่าน การบันทกึ และการสงั เคราะหว์ รรณกรรม และ 2) วตั ถปุ ระสงค์
ของกิจกรรมการนำ� เสนอวรรณกรรมทีเ่ ก่ียวขอ้ ง จ�ำแนกเป็นวัตถุประสงค์ย่อย 5 ด้าน เพื่อให้ได้ (1) โครง
ร่างรายงานผลการทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับการวิจัยใหม่ (2) ร่างรายงานผลการทบทวนวรรณกรรมใหม่
ท่ีเหมาะสมกว่างานวิจัยในอดีต (3) แนวคิดใหม่ นวัตกรรมต่อยอดเพ่ือพัฒนาผลการวิจัยเดิมที่ยังบกพร่อง
(4) ร่างวิธีการวิจัยใหม่ที่มีนวัตกรรม จุดเด่น และมีคุณภาพสูงกว่างานวิจัยเดิม และ (5) เป้าหมายผลงาน
วิจัยใหม่ที่สร้างเสริมความก้าวหน้าขององค์ความรู้
สาระหัวข้อ ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม แยกเสนอเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านประโยชน์ใน
ฐานะเครื่องมือทีม่ คี ุณค่าตอ่ การทำ� วจิ ัย ช่วยใหน้ กั วจิ ยั ทำ� การวิจยั ได้อย่างมีมาตรฐานและประหยดั ทรัพยากร
2) ด้านประโยชน์ต่อผลงานวิจัย คุณภาพงานวิจัย และสังคม ช่วยให้นักวิจัยสามารถผลิตผลงานวิจัยที่มี
ความถูกต้องตรงตามหลักวิจัย ได้ผลงานวิจัยท่ีมีคุณภาพสูง และผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่าง
แท้จริง 3) ด้านประโยชน์ต่อตัวนักวิจัย การทบทวนวรรณกรรมนอกจากช่วยเสริมสร้างพ้ืนฐานความรู้แก่นัก
วิจัยเพื่อแสวงหา ประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นการวิจัยขยายผล หรือต่อยอดงานวิจัย
เดิมแล้ว ยังเสริมสร้างความม่ันใจในการท�ำวิจัยให้แก่นักวิจัยโดยตรง และเสริมสร้างสมรรถนะด้านความ
ช�ำนาญ/ความเช่ียวชาญในกระบวนการวิจัยแก่นักวิจัย จนนักวิจัยสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ความเช่ียวชาญ