Page 71 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 71

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-61

โดยมูลนิธิ ‘International DOI Foundation – IDF’ มูลนิธิ IDF ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาก�ำไรท่ีก่อต้ัง
โดยความร่วมมือจากสมาคมส�ำนักพิมพ์แห่งสหรัฐอเมริกาและองค์การต่าง ๆ เช่น International Associa-
tion of Scientific, Technical and Medical Publishers พันธกิจส�ำคัญของมูลนิธิ คือการบริหารจัดการ
‘ระบบ DOI (DOI system)’ โดยมูลนิธิ IDF ได้จัดต้ัง Data Cite ท�ำหน้าท่ีเป็นนายทะเบียน มีหน้าท่ีบริหาร
จัดการ ‘ระบบทะเบียน DOI ท้ังหมด’ ให้เป็นมาตรฐานรหัสเอกสารดิจิทัล โดยก�ำหนดเป็นรหัสประจ�ำเอกสาร
ดิจิทัลแต่ละรายการซ่ึงอยู่ในรูปไฟล์ที่มีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และต�ำแหน่งท่ีอยู่บนเว็บของเอกสาร
ดิจิทัลฉบับนั้น

            ลักษณะของรหัส DOI ตามระบบ DOI มีลักษณะคล้ายกับบาร์โค้ด (bar-code) ของสินค้า/
ผลิตภัณฑ์ บรรจุข้อมูลรหัสในรูปเส้นหลายเส้นเรียงต่อกันเป็นชุด แต่ละเส้นมีขนาดความกว้างแตกต่างกัน
รหัสแต่ละชุดเมื่อผ่านเคร่ืองอ่านด้วยแสงจะได้ตัวเลขรหัสรายการสินค้าแต่ละประเภท เม่ือแคชเชียร์น�ำ
บาร์โค้ดสินค้าเข้าเคร่ืองสแกน เคร่ืองสแกนสามารถระบุราคาสินค้าแต่ละรายการ และรวมยอดค่าสินค้า
ทง้ั หมด พรอ้ มทง้ั มรี ะบบจดั เกบ็ เงนิ และจดั ทำ� ใบเสรจ็ รบั รองการจำ� หนา่ ยใหล้ กู คา้ ได้ ระบบจดั เกบ็ และกำ� หนด
รหสั DOI สำ� หรบั เอกสารดจิ ทิ ลั แตล่ ะรายการ มลี กั ษณะคลา้ ยกนั กบั ระบบจดั เกบ็ เงนิ และจดั ทำ� ใบเสรจ็ รบั รอง
การจ�ำหน่ายให้ลูกค้าในการซื้อขายสินค้าท่ัวไปนั่นเอง กล่าวได้ว่า ‘ระบบ DOI เป็นรหัสระบุต�ำแหน่งที่อยู่
รวมทั้งการปรับ (update) เอกสารดิจิทัลแต่ละเร่ืองให้เป็นปัจจุบัน เป็นประโยชน์ในการค้นคืนเอกสาร’
เช่นเดียวกับ ‘ระบบบาร์โค้ดเป็นรหัสระบุราคาของสินค้าแต่ละช้ิน รวมท้ังการปรับราคาให้เป็นปัจจุบัน
เป็นประโยชน์ต่อระบบจัดเก็บเงินและจัดท�ำใบเสร็จให้ลูกค้า’ นั่นเอง

            รหัส DOI มีรูปแบบเฉพาะประกอบด้วยรหัสท้ังตัวเลขและตัวอักษรรวม 13 หลัก แบ่งเป็น
2 ส่วน คั่นด้วยเครื่องหมาย ‘/’ ส่วนแรก บุพสัญญา (prefix) ประกอบด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก ในรูป
‘XX.XXXX’ รหัสสองตัวแรกเป็นรหัสของหน่วยงาน และรหัสส่ีตัวหลังเป็นรหัสประเภทของเอกสารงานวิจัย
และส่วนท่ีสอง มหัตถสัญญา (suffix) ประกอบด้วยรหัสท้ังตัวอักษรและตัวเลขรวม 19 หลัก ในรูป
‘A.XXXX-XXXX.XXXX.XXXXX.A’ แบ่งเป็น 4 ชุด ชุดแรก เป็นรหัสตัวอักษรตัวเดียวระบุว่าเป็น
วรรณกรรมประเภทใด ชุดท่ีสอง เป็นรหัสตัวเลข 8 หลัก แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 4 หลัก คั่นด้วยเคร่ืองหมาย
ยัติภังค์ (hyphen) หรือ ‘-’ (ตามแบบรหัส ISSN ของวารสารที่พิมพ์เผยแพร่เอกสารน้ัน) ชดุ ทส่ี าม เป็นรหัส
ตัวเลข 4 หลัก ระบุปี ค.ศ. ที่ส�ำนักพิมพ์ได้รับเอกสาร/บทความวิจัยฉบับน้ี และชดุ ท่ีส่ี เป็นรหัสชุดสุดท้าย
ประกอบด้วยรหัสตัวเลข 5 ตัว และรหัสตัวอักษรตัวเดียว คั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (full stop) หรือ ‘.’
อันเป็นรหัสประจ�ำเอกสาร/บทความวิจัยฉบับนั้น ดังท่ี Enago Academy (2018) ยกตัวอย่างเอกสาร
ส�ำนักพิมพ์ Wiley ฉบับหนึ่งมีรหัส ‘DOI: 10.1111/j.1365-2575.2012.00413.x.’ ซึ่งมีความหมายของรหัส
ส่วนบุพสัญญา รวม 2 ส่วน และรหัสมหัตถสัญญา รวม 4 ชุด นอกจากน้ียังได้แสดงรหัสมาตรฐานสากลระบุ
ต�ำแหน่งท่ีอยู่ (address) ของวรรณกรรม (รหัส URL) ด้วย ดังภาพต่อไปน้ี
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76