Page 81 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 81
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-71
ส้ัน และชัดเจน ส�ำหรับส่ิงพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ตามวาระต่อเน่ือง ภายใต้มาตรฐาน ISO 3297 โดยก�ำหนดให้
International Serial Data System International Center (ISDC International Center) เป็นหน่วยงาน
รับผิดชอบการบริหารจัดการระบบ ISSN ต่อมาในปี ค.ศ. 1933 คณะกรรมการ ISDS International
Center ปรบั เปล่ยี นชือ่ องค์การเปน็ The International Centre for the registration of serial publica-
tions (CIEPS) หรือ ISSN International Centre และก่อต้ังองค์การเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1976 ท่ี
กรุงปารีส ประเทศฝร่ังเศส ตามข้อตกลงระหว่าง UNESCO และรัฐบาลฝร่ังเศสซ่ึงเป็นประเทศเจ้าภาพหลัก
โดยมีสมาชิกเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ประกอบด้วยประเทศสมาชิกของ UNESCO ทุกประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี 90
ประเทศ องค์การ ISSN International Centre มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นองค์การกลางรับผิดชอบงานส�ำคัญ
รวม 3 ด้าน คือ 1) การจัดท�ำทะเบียนรหัส ISSN ส�ำหรับส่ิงพิมพ์ประเภท ‘วารสาร’ 2) การจัดพิมพ์ ISSN
International Register และ 3) ท�ำหน้าท่ี ISSN National Center ในประเทศที่ยังไม่มี ISSN National
Center ของตน โดยท�ำหน้าท่ีก�ำหนดรหัสและจัดท�ำทะเบียนรหัสสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศน้ันและส่ิงพิมพ์
นานาชาติที่จ�ำหน่ายในประเทศนั้น
วรรณกรรมสงิ่ พมิ พป์ ระเภทวารสารทจี่ ดทะเบยี นขอรบั รหสั ISSN นนั้ แยกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท
(Enago Academy, 2018; ISSN International Centre, 2015) ประเภทแรก เป็นวรรณกรรมท่ีมีการพิมพ์
เผยแพร่เป็นเอกสาร โดยมีการเผยแพร่ประจ�ำตามก�ำหนดเวลา เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน หนังสือ
ที่พิมพ์ต่อเนื่องเป็นชุด และประเภทที่สอง เป็น ‘ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic mesia)’ ซึ่งหมายถึง
‘วรรณกรรมประเภทวารสารออนไลน์ (e-journal) ข่าวออนไลน์ (e-news) ฐานข้อมูล (data base) ออนไลน์
แอปพลิเคชันส�ำหรับโทรศัพท์มือถือออนไลน์ และอื่น ๆ ท้ังนี้วรรณกรรมฉบับหนึ่งอาจเสนอรูปแบบการพิมพ์
เผยแพร่ได้หลายแบบ ท้ังแบบส่ิงพิมพ์ รูปภาพ บล็อก โปรแกรมฯ โดยท่ีไฟล์โปรแกรมอาจอยู่ในรูปไฟล์สกุล
แตกต่างกัน เช่น เป็น pdf, docx, jp ได้ ทั้งนี้ผู้จัดท�ำส่ืออิเล็กทรอนิกส์ต้องน�ำเสนอสื่อน้ันบนเว็บไซต์ หรือ
อินเทอร์เน็ตอย่างต่อเน่ืองสมํ่าเสมอ เม่ือเปรียบเทียบวารสารท้ังสองประเภท ปัจจุบันพบว่า วารสารประเภท
สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีจ�ำนวนเพ่ิมมากขึ้นทุกปี เพราะประการแรก การประหยัดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตประหยัด
ตน้ ทนุ การผลติ วารสารประเภทสอ่ื ออนไลนไ์ ดม้ าก เมอื่ เปรยี บเทยี บกบั ตน้ ทนุ การผลติ วารสาร ประเภทเอกสาร
ประการที่สอง ความสะดวกส�ำหรับผู้ใช้วารสาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิจัย นิยมค้นคืนวารสารประเภท
ส่ือออนไลน์มากกว่าวารสารประเภทผลิตเป็นเล่ม เพราะใช้เวลาสืบค้นน้อย และไม่ต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายมาก
ในการค้นคืนและการถ่ายเอกสาร รวมทั้งจัดเก็บไฟล์เอกสารได้ง่าย ไม่ส้ินเปลืองท่ีเก็บ และประการที่สาม
รหัส ISSN ช่วยให้ผู้ผลิตและนักวิจัยผู้ใช้วารสารค้นคืนเอกสารได้รวดเร็ว เพราะใช้เวลาน้อยกว่าพิมพ์ชื่อ
บทความ และชื่อผู้แต่งบทความในวารสาร
Enago Academy (2018); ISSN International Centre (2015) อธิบายว่า รหัส ISSN มี
ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน คือ รหัส ISSN มีส่วนประกอบน้อยกว่าเพราะ ISSN International Centre
(2015) ยึดหลักว่า รหัส ISSN ควรมีส่วนประกอบท่ีส�ำคัญและจ�ำเป็นส�ำหรับวารสารเท่าน้ัน ประกอบด้วยรหัส
ตัวเลข 8 หลัก แบ่งเป็น 3 ส่วน สว่ นแรก เป็นรหัสระบุประเภทของส่ือ (medium) ที่ใช้ในการจัดท�ำวารสาร
ประกอบด้วยรหัสตัวเลขจ�ำนวน 4 หลัก สว่ นท่ีสอง เป็นรหัสระบุชื่อเร่ืองของบทความ (key title) ประกอบ
ด้วยรหัสตัวเลขจ�ำนวน 3 หลัก และส่วนท่ีสาม เป็นรหัสตัวเลขตรวจสอบ (check digit) จ�ำนวน 1 หลัก