Page 80 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 80

2-70 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

               International ISBN Agency (2007) ได้รวบรวมข้อมูลการใช้งานจากผู้ใช้ระบบ ISBN
  และสรุปสาระส�ำคัญด้านลักษณะพิเศษที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ของรหัส ISBN โดยเฉพาะด้านความไว
  สมรรถนะในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาล และความถูกต้องของผลงาน สรุปคุณประโยชน์ของ ISBN
  รวมท้ังหมด 4 ประการ แยกเป็นคุณประโยชน์ต่อนักวิจัยในการใช้งานทางวิชาการรวม 3 ประการ และ
  คุณประโยชน์ต่อส�ำนักพิมพ์ ห้องสมุด และหน่วยงานอ่ืนอีก 1 ประการ รวมเป็น 4 ประการ ดังนี้

                    1) ระบบ ISBN ช่วยให้นักวิจัยสามารถค้นคืนวรรณกรรมประเภทหนังสือได้อย่าง
  หลากหลาย ไม่มีข้อผิดพลาด และค้นคืนส�ำเร็จได้ในเวลารวดเร็วมากข้ึน เพราะระบบ ISBN ให้ข้อมูลส�ำหรับ
  การค้นคืนวรรณกรรมท่ีสมบูรณ์กว่าข้อมูลตามแบบการเขียนบรรณานุกรม แต่ใช้รหัสจึงสั้นและใช้เวลาใน
  การพิมพ์เพื่อสืบค้นน้อยกว่าข้อมูลตามบรรณานุกรม และระบบ ISBN จัดเก็บเอกสารมีระบบตามสภาพท่ี
  เป็นจริง ช่วยให้การค้นคืนได้วรรณกรรมสมบูรณ์ตามที่ต้องการและมีจ�ำนวนมากกว่าการค้นคืนแบบเดิม
  หลายเท่า

                    2) ระบบ ISBN ช่วยให้นักวิจัยรับประกันได้ว่า การค้นคืนวรรณกรรมทุกครั้งได้
  วรรณกรรมตรงตามความต้องการท่ีต้อง มีปริมาณครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ทุกรายการที่มีในระบบ เพราะ
  ระบบ ISBN แต่ละรายการให้ท่ีอยู่ของวรรณกรรมท่ีถูกต้อง และน�ำทางให้นักวิจัยค้นคืนวรรณกรรมได้อย่าง
  แม่นย�ำทุกครั้ง

                    3) ระบบ ISBN เอื้ออ�ำนวยให้นกั วิจัยสัง่ ซอื้ วรรณกรรมประเภทหนังสอื จากส�ำนกั พิมพ์
  และการจัดส่งวรรณกรรมของส�ำนักพิมพ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาดและรวดเร็วมาก เพราะระบบ
  ISBN ใชร้ หัสที่โปรแกรมคอมพวิ เตอร์อ่านได้โดยตรง และค้นคืนให้ในระยะเวลาส้ันมาก โดยไม่มีความคลาด
  เคลื่อนทั้งข้ันตอนการส่ังซื้อของนักวิจัย ซ่ึงน�ำทางให้นักวิจัยค้นคืนเอกสารได้อย่างแม่นย�ำ และได้ผลการ
  ค้นคืนที่ถูกต้อง รวมท้ังการจัดส่งเอกสารได้ไม่มีข้อผิดพลาด จัดว่าเป็นวิธีการท่ีมีประสิทธิภาพดีมาก

                    4) ลักษณะพิเศษของระบบ ISBN ช่วยให้หน่วยงาน/องค์การเก่ียวกับวรรณกรรม
  ประเภทหนังสือมีผลการด�ำเนินงานดีข้ึนมาก เช่น (1) ร้านขายหนังสือใช้ระบบ ISBN ในการเก็บรวบรวมและ
  ค�ำนวณผลการจ�ำหน่ายหนังสือเพื่อให้ได้แต้มอิเล็กทรอนิกส์ของร้านเพื่อการค�ำนวณภาษี (2) บริษัท
  ส�ำนักพมิ พ์ และองค์การในระบบโซ่อุปทาน (supply chain systems) ด้านการพิมพ์และจำ� หนา่ ยวรรณกรรม
  ประเภทหนังสือจ�ำนวนมากใช้ระบบ ISBN ในการด�ำเนินงานด้านการติดตามผลการด�ำเนินงานของตนและ
  วางแผนด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล (3) การใช้ระบบ ISBN ในการค�ำนวณข้อมูลสะสมด้านการจ�ำหน่าย
  หนังสือแยกตามประเภทและปีท่ีพิมพ์ (ซ่ึงในอดีตท�ำไม่ได้) ช่วยให้องค์การด้านการจ�ำหน่ายหนังสือมีข้อมูล
  ในการบริหารงานการจ�ำหน่ายมีประสิทธิภาพสูง เพราะมีข้อมูลว่าหนังสือประเภทใด ช่วงปีใดเป็นที่ต้องการ
  ท�ำให้สามารถวางแผนจัดหาหนังสือได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และ (4) ระบบ
  การเช่าซื้อหนังสือไปอ่านเป็นระยะเวลาส้ัน ๆ ในระดับชาติของบางประเทศใช้ระบบ ISBN ซึ่งมีผลท�ำให้
  ผู้แต่งหนังสือ ห้องสมุดสาธารณะ และหน่วยงานที่เก่ียวข้องได้รับผลตอบแทนจากการเช่าซ้ืออย่างถูกต้อง
  ไม่มีข้อผิดพลาด เป็นต้น

               3.2.3 รหัสมาตรฐานสากลประจ�ำวารสาร (International Standard Serial Number - ISSN)
  จากวรรณกรรม Enago Academy (2018); ISSN International Centre (2014a, 2014b, 2015, 2016)
  ผู้เขียนสรุปสาระเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ ISSN ได้ว่า International Organization for Standard-
  ization (ISO) ไดพ้ ฒั นาระบบ ISSN ชว่ งตน้ ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี 1970 เพอ่ื ออกแบบระบบรหสั ทม่ี ี ลกั ษณะเฉพาะ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85