Page 84 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 84

2-74 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

               นอกจากรหัส DOI, ISBN และ ISSN ที่น�ำเสนอแล้วข้างต้น ยังมีรหัสอีกประเภทหนึ่งมีช่ือ
  ย่อเรียกว่า รหัสมาตรฐานสากลระบุต�ำแหน่งที่อยู่ของวรรณกรรม (Uniform Resource Locator) หรือรหัส
  URL ซ่ึงจัดว่าเป็นรหัสมาตรฐานของวรรณกรรมที่เป็นประโยชน์ และผู้อ่านควรได้เรียนรู้ความหมายเช่นเดียว
  กับรหัส DOI, ISBN และ ISSN

               3.2.4 รหัสมาตรฐานสากลระบุตำ� แหน่งทีอ่ ย่ขู องวรรณกรรม (Uniform Resource Locator -
  URL) ‘รหสั มาตรฐานสากลระบตุ ำ� แหนง่ ทอ่ี ยู่ (address) ของวรรณกรรม’ หรอื ‘ตวั กำ� หนดตำ� แหนง่ ทรพั ยากร
  เอกรูป’ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือเรียกชื่อส้ัน ๆ ว่า ‘รหัส URL’ หมายถึง รหัสมาตรฐาน
  หรือตัวก�ำหนดต�ำแหน่งท่ีอยู่ของวรรณกรรมเฉพาะเรื่องในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้รหัส URL
  ในการค้นคืน (retrieve) วรรณกรรมฉบับน้ันได้จากอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีกลไก (mechamism)
  ท่ีนักวิจัยสามารถดึงข้อมูลจากวรรณกรรมมาใช้งานตามท่ีนักวิจัยต้องการได้ กล่าวอีกอย่างหน่ึง รหัส URL
  น้ีเป็นรหัสบ่งบอกท่ีอยู่บนเว็บ (web site) ของวรรณกรรม ซึ่งนักวิจัยสามารถค้นคืนวรรณกรรมได้ และมี
  คุณสมบัติเฉพาะบางอย่างท่ีช่วยให้นักวิจัยสั่งให้มีการท�ำงานเก่ียวกับวรรณกรรมบางส่วนได้ (Sitechecker.
  pro, 2017)

               จากเอกสารของ Dordal (2019), Internet Corporation for Assigned Names and
  Numbers (ICANN), Microsoft Corporation (2018) และ Sitechecker.pro (2017) สรุปสาระส�ำคัญ
  รวม 5 ประเด็น คือ ประวัติความเป็นมา รหัสเลขฐานสองแบบ BCD-8421 ท่ีต้องรู้ รูปแบบและส่วนประกอบ
  รวมทั้งความหมายของส่วนประกอบ การจัดประเภทรหัส URL และคุณค่าของรหัส URL การเสนอสาระเรื่อง
  รหัส URL ต่อไปน้ีจึงแยกเป็น 5 ประเด็น ดังน้ี

                    1) ประวัติความเป็นมาของรหัส URL จากเอกสารของ Dordal (2019), Microsoft
  Corporation (2018), ICANN (2011) และ Sitechecker.pro (2017) สรุปสาระเกี่ยวกับได้ว่า ระบบเวิลด์-
  ไวด์เว็บ (world wide web) เป็นเครือข่ายปฏิสัมพันธ์และเผยแพร่สารสนเทศที่เช่ือมต่อกันอย่างกว้างขวาง
  ท่ัวโลก โดยมีเบราว์เซอร์ (browser) เป็นซอฟต์แวร์ท่ีสร้างข้ึนเพ่ือใช้งานดังกล่าว และเป็นซอฟต์แวร์ ท่ีนัก
  วิจัยรู้จักกันดี เช่น Internet Explorer และ Chrome เป็นต้น เน่ืองจากสารสนเทศท่ีส่ือสารกันในระบบเวิลด์
  ไวด์เว็บต้องมีท่ีอยู่บนเว็บ จึงมีการพัฒนา ‘รหัสมาตรฐานสากลระบุต�ำแหน่งท่ีอยู่ (address) ของวรรณกรรม
  หรือ URL’ เพ่ือใช้ประโยชน์ในการจัดการเผยแพร่สารสนเทศ การพัฒนา URL เริ่มต้นในช่วงปี ค.ศ. 1989
  โดย Tim Berners-Lee และทีมงาน ได้พัฒนาวิธีการค้นหาบนเว็บให้หน่วยปฏิบัติการทางฟิสิกส์จุลภาคแห่ง
  ยุโรป (European Laboratory for Particle Physics) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นท่ีรู้จักกันดีในชื่อ
  CERN (Conseil European pour la Recherche Nuclearie) กล่าวได้ว่าหน่วยงาน CERN ได้พัฒนา
  เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอลพื้นฐานใช้งานน�ำเสนอ ค้นคืน และจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ
  ระยะแรก ต่อมา NCSA (National Center for Supercomputer Applications) ประเทศสหรัฐอเมริกา
  ได้พัฒนาเป็นโปรแกรม Mosaic ส�ำหรับเรียกดูข้อมูลสารสนเทศในเว็บ รวมทั้งสร้าง URL ระบุต�ำแหน่ง
  สารสนเทศอีกหลายแบบ

                    2) รหสั เลขฐานสองแบบ BCD-8421 (เฉพาะสว่ นทตี่ อ้ งรใู้ นการใชร้ หสั URL) เนอ่ื งจาก
  รูปแบบของรหัส URL ทุกแบบ ได้รับการพัฒนาโดยใช้รหัสเลขฐานสองแบบ BCD-8421 (binary code
  decimal – BCD - 8421) ซง่ึ เปน็ รหสั ทไี่ ดร้ บั การพฒั นาเลยี นแบบรหสั ในระบบตวั เลขฐานสอง (binary code)
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89