Page 15 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 15
การวัดด้านทักษะพิสัย 7-5
เรอื่ งท่ี 7.1.1 ความหมาย พฤติกรรม และคุณลักษณะของ
การวัดด้านทักษะพิสัย
การวัดด้านทักษะพิสัยเก่ียวข้องกับการวัดความสามารถในการใช้มือ หรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย หรือกล้ามเน้ือเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหน่ึง อาจเป็นผลจากการเช่ือมโยงความสัมพันธ์ของ
คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เจตพิสัย และการฝึกฝนเพื่อปฏิบัติงาน การวัดด้านทักษะพิสัยในท่ีนี้จะใช้ค�ำว่า
การวัดทักษะ การวัดภาคปฏิบัติ หรือการวัดทักษะปฏิบัติในความหมายเดียวกัน ในเร่ืองน้ีจะกล่าวถึง
ความหมาย พฤติกรรม และคุณลักษณะของการวัดด้านทักษะพิสัย
1. ความหมายของทกั ษะพิสัย
ทักษะพิสัย (psychomotor domain) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการแสดงพฤติกรรมที่
เก่ียวข้องกับการใช้มือ กล้ามเน้ือ หรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติงาน โดยที่
การกระท�ำดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านพุทธิพิสัยและด้านเจตพิสัยด้วย ถ้ากระท�ำซ�้ำบ่อย
ครงั้ จะทำ� ให้เกิดการเรียนรู้มากขึน้ และมคี วามชำ� นาญ โดยทก่ี ารเรยี นรูเ้ กิดตามล�ำดบั ข้นั จากการปฏบิ ัติง่าย ๆ
ไปสู่การปฏิบัติท่ีซับซ้อนข้ึน (Gronlund & Waugh, 2009) เช่น การเล่นดนตรี การแสดงนาฏศิลป์ การเล่น
กฬี า การทำ� งานศลิ ปะ การทำ� อาหาร การทดลองในวชิ าวทิ ยาศาสตร์ การทำ� โครงงาน การทำ� การเกษตร เปน็ ตน้
2. พฤตกิ รรมดา้ นทักษะพสิ ยั
ผู้ท่ีริเร่ิมศึกษาเก่ียวกับพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยคือ เบนจามิน เอส บลูม (Benjamin S. Bloom)
และคณะ ซ่ึงศึกษาเกี่ยวกับการจ�ำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1956 แต่ไม่ได้จ�ำแนก
รายละเอียดของโครงสร้างพฤติกรรมด้านนี้ แนวคิดส�ำคัญในการจ�ำแนกพฤติกรรมในการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ
ของบลมู คอื พฤติกรรมการเรียนรใู้ นแตล่ ะดา้ นต้องมีล�ำดับความยากของพฤติกรรมยอ่ ยและการเรยี นรตู้ ้อง
เกิดขึ้นโดยเรียงตามล�ำดับข้ันของพฤติกรรมย่อยจากง่ายไปหายาก ผู้ที่ท�ำการศึกษาและจ�ำแนกพฤติกรรม
ทางด้านทักษะพิสัยตามแนวคิดของบลูมในล�ำดับต่อมาและผลของการศึกษาเป็นท่ียอมรับของนักการศึกษา
ท่ัวโลกอย่างกว้างขวางคือ เดฟ (Dave, 1970) แฮร์โรว์ (Harrow, 1972) และซิมป์สัน (Simpson, 1972)
แนวคิดดังกล่าวมีประโยชน์ในการก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรมในหลักสูตร
ต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่จะน�ำไปใช้ต้องศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์