Page 19 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 19

การวัดด้านทักษะพิสัย 7-9

เคร่ืองปรุง ล�ำดับข้ันตอนในการใส่เคร่ืองปรุง ความสะอาดขณะปรุง และรสชาติของอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว
จึงต้องให้ความส�ำคัญท้ังกระบวนการท�ำงานและผลงานท่ีได้

       3.1 	คณุ ลกั ษณะทใ่ี ชว้ ดั กระบวนการทำ� งาน จำ� แนกได้ 2 ประการ คอื ประสทิ ธภิ าพของกระบวนการ
ท�ำงาน (efficiency of the process) และความถกู ต้องของกระบวนการทำ� งาน (accuracy of the process)
ประกอบด้วยลักษณะย่อยท่ีส�ำคัญ ได้แก่ คุณภาพของงานระหว่างปฏิบัติงาน เวลาที่ใช้ระหว่างปฏิบัติงาน
ทักษะปรับปรุงงานระหว่างการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยในการท�ำงาน และการใช้ทรัพยากรในการท�ำงาน

       3.2 	คณุ ลกั ษณะทใี่ ชว้ ดั ผลงาน คุณภาพของผลงานเป็นผลมาจากกระบวนการท�ำงาน ประกอบด้วย
ลักษณะย่อยที่ส�ำคัญ ได้แก่ คุณภาพของผลงาน เวลาที่ใช้ในการสร้างผลงาน ทักษะปรับปรุงผลงานทั้งใน
เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความปลอดภัยของผลงานเม่ือใช้งาน และทรัพยากรที่ใช้ในการสร้างผลงาน

       ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงการประเมินท่ีเกี่ยวข้องกับความสามารถในการปฏิบัติงานโดยใช้ค�ำที่
แตกต่างกัน เช่น การประเมินทางเลือก (alternative assessment) การประเมินตามสภาพจริง (authentic
assessment) การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (portfolio assessment) เป็นต้น การประเมินแบบต่าง ๆ
ดังกล่าวมีความหมายแตกต่างกันดังนี้ (Popham, 2008)

       การประเมินการปฏิบัติ (performance assessment) หมายถึง การประเมินความสามารถในการ
ปฏิบัติงานในสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

       การประเมินทางเลือก (alternative assessment) หมายถึง การประเมินท่ีพิจารณาผลจากการวัด
ที่ใช้เคร่ืองมืออ่ืน ๆ ยกเว้นการใช้แบบทดสอบ (paper and pencil tests)

       การประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) หมายถึง การประเมินความสามารถในการ
ปฏิบัติงานจริงในชีวิตประจ�ำวัน (real-life) หรือในสถานการณ์ท่ีใกล้เคียงกับเหตุการณ์ในชีวิตจริงมากท่ีสุด

       การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (portfolio assessment) หมายถึง การประเมินการปฏิบัติท่ีมี
ลักษณะเฉพาะ (particular type of performance assessment) เป็นการรวบรวมหลักฐานแสดงผลงาน
ที่ได้ท�ำมาแล้ว การประเมินโดยแฟ้มสะสมงานมีนัยที่แตกต่างจากการประเมินการปฏิบัติที่กล่าวในหน่วยนี้
ซ่ึงเน้นการวัดและประเมินการปฏิบัติงานท่ีมีกระบวนการปฏิบัติงานและมีผลงานเป็นหลักฐานในการวัดและ
ประเมิน

       การวัดและประเมินด้านทักษะพิสัยอาจใช้ในการประเมินความก้าวหน้า (formative assessment)
และการประเมินสรุป (summative assessment) ซึ่งกระบวนการวัดและประเมินด้านทักษะพิสัยประกอบ
ด้วยข้ันตอนท่ีส�ำคัญ ได้แก่ ศึกษาวัตถุประสงค์ในการวัดแล้วก�ำหนดภาระงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ก�ำหนดคุณลักษณะที่ใช้ในการวัด ก�ำหนดวิธีวัดท่ีเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการ ก�ำหนดเคร่ืองมือท่ีใช้ใน
การวัด ก�ำหนดวิธีการประเมินและรายงานผลการประเมินด้านทักษะพิสัย

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเร่อื งที่ 7.1.1 แล้ว โปรดปฏิบตั ิกิจกรรม 7.1.1
                      ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยที่ 7 ตอนท่ี 7.1 เรือ่ งท่ี 7.1.1
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24