Page 24 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 24
7-14 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เร่อื งที่ 7.1.3 หลักการสร้างเครอื่ งมือวัดด้านทกั ษะพิสยั
เคร่ืองมือวัดด้านทักษะพิสัยที่มีคุณภาพต้องมีการสร้างและพัฒนาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ซ่ึงมีหลักการสร้างที่คล้ายคลึงกับหลักการสร้างเครื่องมือวัดด้านอ่ืน ๆ ซึ่งหลักการดังกล่าวน�ำไปพัฒนาเป็น
กระบวนการสร้างเคร่ืองมือท่ีมีคุณภาพ ส�ำหรับเร่ืองน้ีจะกล่าวถึงหลักการและกระบวนการสร้างเครื่องมือวัด
ด้านทักษะพิสัย ดังนี้
1. หลักการสรา้ งเคร่อื งมือวดั ด้านทกั ษะพสิ ัย
1.1 วางแผนในการสรา้ งอยา่ งเปน็ ระบบ การวางแผนการสรา้ งเครอ่ื งมอื ตอ้ งเรม่ิ ตน้ จากการพจิ ารณา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาติของงานท่ีให้ปฏิบัติ วิเคราะห์คุณลักษณะของพฤติกรรมที่ต้องการ
วัด ก�ำหนดนํ้าหนักความส�ำคัญของคุณลักษณะ ก�ำหนดวิธีวัดและก�ำหนดเครื่องมือวัด
1.2 ดำ� เนนิ การสรา้ งเครอ่ื งมอื ตามหลกั การสรา้ งเครอื่ งมอื แตล่ ะชนดิ เครอ่ื งมอื แตล่ ะชนิดมีแนวทาง
ในการสร้างแตกต่างกัน ดังน้ันผู้สร้างต้องศึกษาและด�ำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอน
1.3 ตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือก่อนน�ำไปใช้ เมื่อด�ำเนินการสร้างเคร่ืองมือเสร็จแล้วก่อนน�ำ
ไปใช้ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพตามหลักการตรวจสอบเครื่องมือแต่ละชนิดจนผ่านเกณฑ์ก่อนน�ำไปใช้
1.4 พฒั นาเครอื่ งมอื ในการวดั อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง เม่ือมีการน�ำเครื่องมือการวัดด้านทักษะพิสัยไปใช้แล้ว
ผู้สร้างควรมีการตรวจสอบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเคร่ืองมือดังกล่าว และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเน่ือง
เพื่อจะได้เครื่องมือวัดที่เป็นมาตรฐานต่อไป
1.5 เขยี นคมู่ อื การใชเ้ ครอื่ งมอื วดั ดา้ นทกั ษะพสิ ยั เพอื่ ใหผ้ ใู้ ชส้ ามารถนำ� เครอื่ งมอื ไปใชต้ ามวตั ถปุ ระสงค์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลดความคลาดเคล่ือนที่เกิดจากเคร่ืองมือในการวัดด้านทักษะพิสัยท�ำได้โดยการเลือกใช้
เคร่ืองมือที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือที่มีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพไว้แล้ว หรือเป็นเครื่องมือ
ท่ีสร้างข้ึนใหม่โดยใช้กระบวนการท่ีสอดคล้องกับหลักการสร้างเครื่องมือท่ีกล่าวมาแล้ว
2. กระบวนการสร้างเครอ่ื งมอื วัดด้านทักษะพสิ ัย
กระบวนการสร้างเครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนส�ำคัญ ได้แก่ การวางแผน
สร้างเคร่ืองมือวัด การด�ำเนินการสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
2.1 การวางแผนสร้างเครอื่ งมือ มีรายละเอียดดังน้ี
2.1.1 การศึกษาหลักสูตรและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชา (สาระการเรียนรู้) ใน
การสร้างเครื่องมือต้องศึกษาวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชาอย่างละเอียดแล้ววิเคราะห์วัตถุประสงค์
ให้อยู่ในรูปที่สามารถวัดและสังเกตได้ ซ่ึงจะต้องก�ำหนดนิยามและตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมอย่างชัดเจน