Page 27 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 27
การวัดด้านทักษะพิสัย 7-17
เกณฑ์การให้คะแนนโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ การก�ำหนดเกณฑ์โดยภาพรวม (holistic ru-
brics) การก�ำหนดเกณฑ์โดยแยกเป็นประเด็นย่อย (analytic rubrics) การก�ำหนดเกณฑ์โดยแยกส่วน
เฉพาะคุณลักษณะที่เด่น (annotated holistic rubrics)
1) การก�ำหนดเกณฑ์ให้คะแนนโดยภาพรวม เป็นเกณฑ์การให้คะแนนผลงานหรือ
กระบวนการที่ไม่ได้แยกส่วนหรือแยกองค์ประกอบในการให้คะแนน โดยประเมินการปฏิบัติในภาพรวม
ท้ังผลงานและกระบวนการน้ัน การให้คะแนนแบบนี้ใช้ได้ง่ายเพราะเป็นการประเมินในภาพรวมของ
ทุกคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน
ตารางที่ 7.8 ตัวอย่างเกณฑ์การใหค้ ะแนนโดยภาพรวมของทกั ษะการเขยี นโครงการ
ระดับคะแนน ลกั ษณะของงาน
3 (ดี) - เขียนได้ตรงประเด็นตามท่ีก�ำหนดไว้
- มีส่วนประกอบครบถ้วน
2 (ผ่าน) - แต่ละส่วนประกอบเขียนได้อย่างชัดเจน
- ส่วนประกอบต่าง ๆ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผล
1 (ต้องปรับปรุง) - ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและมีความชัดเจน
0 (ไม่ผ่าน) - เขียนได้ตรงประเด็นตามที่ก�ำหนดไว้
- มีส่วนประกอบครบถ้วน
- แต่ละส่วนประกอบเขียนได้อย่างชัดเจน แต่ส่วนประกอบไม่มีความสัมพันธ์กัน
อย่างสมเหตุสมผล
- ใช้ภาษาท่ีเข้าใจง่าย
- เขียนไม่ตรงประเด็น
- มีส่วนประกอบไม่ครบถ้วนและแต่ละส่วนประกอบไม่มีความสัมพันธ์กัน
อย่างสมเหตุสมผล
- ภาษาท่ีใช้เข้าใจยาก
- ไม่มีผลงาน
2) การก�ำหนดเกณฑ์ให้คะแนนโดยแยกเป็นประเด็นย่อย คือแนวทางการให้คะแนน
โดยพิจารณาจากงานแต่ละส่วน ซึ่งต้องก�ำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีค�ำนิยามหรือค�ำอธิบายลักษณะ
ของงานส่วนน้ัน ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน แนวทางการเขียนเกณฑ์การให้คะแนนประเภทน้ีมีดังนี้
ก�ำหนดรายละเอียดข้ันตํ่าไว้ท่ีระดับ 1 แล้วเพ่ิมลักษณะที่ส�ำคัญ ๆ สูงข้ึนมาทีละ
ระดับ เช่น ประเด็นประเมินทักษะการเขียนโครงการ คือ เน้ือหา ส่วนประกอบ (รูปแบบ) และการใช้ภาษา
การก�ำหนดรายละเอียดในแต่ละประเด็นถ้าแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ควรก�ำหนดลักษณะย่อย หรือตัวแปรย่อย
ท่ีส�ำคัญให้ได้ 4 ลักษณะ ดังแสดงในตารางท่ี 7.9