Page 22 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 22

7-12 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

                 1.6.6 	ให้ผู้เรียนแสดงผลการปฏิบัติงานและเกิดการเรียนรู้จนสามารถปฏิบัติงาน
ชิ้นอ่ืนท่ีมีลักษณะคล้ายคลึงกันได้

                 1.6.7 	ให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในสถานการณ์ เง่ือนไขและเวลาที่ก�ำหนด
                 1.6.8 	กระตุ้นและท้าทายให้ผู้เรียนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่
                 1.6.9 	มีความยุติธรรมและผู้เรียนทุกคนสามารถปฏิบัติจนส�ำเร็จ
                 1.6.10 ท�ำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
       2. 	 แบ่งตามลักษณะของภาระงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท (Linn & Miller, 2005; Gronlund &
Waugh, 2009) ดังนี้
            2.1 	ภาระงานที่จ�ำกัดขอบเขตในการปฏิบัติ (restricted performance tasks) เป็นภาระงานที่
ก�ำหนดขอบเขตในการปฏิบัติให้เหมาะสมกับทักษะเฉพาะอย่าง เช่น การวัดความช้ืนในอากาศ การติดต่อ
วิทยากร การเขียนรายงานการทัศนศึกษานอกสถานที่ 1 หน้ากระดาษ การพูดหน้าช้ันตามหัวข้อที่ก�ำหนดให้
ในเวลา 1 นาที การอ่านบทกลอนที่ก�ำหนดให้ การเลือกใช้อุปกรณ์ในการท�ำงานไม้ เป็นต้น
            2.2 	ภาระงานที่ไม่จ�ำกัดขอบเขตในการปฏิบัติ (extended performance tasks) เป็นภาระงาน
ท่ีต้องใช้ทักษะหลายอย่างในการปฏิบัติงานและผู้ถูกประเมินมีอิสระในการเลือกแนวทางในการปฏิบัติงาน
มากกว่าภาระงานที่จ�ำกัดขอบเขตในการปฏิบัติงาน เช่น การพยากรณ์อากาศ การจัดประชุม การออกแบบ
และด�ำเนินการทดลอง การเขียนเรื่องส้ัน การซ่อมพัดลม เป็นต้น
            การแบ่งประเภทของการวัดและประเมินด้านทักษะพิสัยดังกล่าวใช้ในกรณีต่อไปนี้
                 1) 	ต้องการประเมินทักษะเฉพาะด้านก่อนประเมินทักษะในการปฏิบัติงานที่มีความ
ซับซ้อนมากข้ึน
                 2) 	ต้องการวินิจฉัยทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงาน หากพบจุดอ่อนจะได้ท�ำการแก้ไข
ก่อนที่จะปฏิบัติงานที่ซับซ้อนต่อไป
                 3) 	ผู้ถูกประเมินยังไม่มีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนจึงต้องวัดทักษะเฉพาะด้าน
เพื่อให้ผู้ถูกประเมินเกิดความม่ันใจในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนในภายหลัง
       3. 	 แบ่งตามชนิดของเครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัย แบ่งเป็น 2 ประเภท (สุวิมล ว่องวานิช, 2539)
ดังน้ี
            3.1		การใช้แบบทดสอบ การใช้แบบทดสอบในการวัดด้านทักษะพิสัยแบ่งเป็น 2 ประเภท
ดังน้ี
                 3.1.1 	แบบทดสอบข้อเขียน เหมาะกับการวัดความสามารถเป็นรายบุคคลแต่บริหาร
การสอบเป็นกลุ่มใช้ได้สะดวก เก็บข้อมูลได้รวดเร็ว มีความเป็นปรนัยค่อนข้างสูง แต่มีจุดอ่อนในเรื่อง
ความตรงเพราะวัดทักษะในการปฏิบัติงานได้เพียงบางส่วนเท่าน้ัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังน้ี

                      1) 	แบบทดสอบวัดความรใู้ นเน้ือหาที่ปฏบิ ตั ิ (test items) วธิ นี ี้ควรใชเ้ ฉพาะกรณี
ที่ความรู้ทางทฤษฎีมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติหรือใช้ทดสอบความรู้ทางทฤษฎีที่เป็น
พน้ื ฐานก่อนใหผ้ ้เู รียนปฏบิ ตั งิ านจริง
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27