Page 18 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 18
7-8 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ตารางท่ี 7.3 (ตอ่ )
ลำ�ดบั พฤติกรรม รายละเอียด ตัวอย่างพฤตกิ รรม
การคัดลอก การท�ำตาม
3. การตอบสนองตามแนวทางที่ให้ การปฏิบัติโดยการเลียนแบบ การทดลอง การพิสูจน์
ประกอบ สร้าง ร่างแบบ
(guided response) หรือการลองผิดลองถูก
การสาธิต ซ่อม แก้ไข ปรับปรุง
4. การสร้างกลไก (mechanism) การสร้างระบบ วิธีการจาก ประสานงาน
ประสบการณ์ท่ีสะสมไว้เพ่ือ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าในการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา การจัดระเบียบ
การบูรณาการ
5. การตอบสนองที่ซับซ้อน การปฏิบัติอย่างมีทักษะเป็น ออกแบบ สร้างกฎ
(complex overt response) การตอบสนองอย่างไม่ลังเล สร้างทฤษฎี เปลี่ยนแปลง
และมีประสิทธิภาพ
6. การดัดแปลงให้เหมาะสม การปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่ที่
(adaptation) ซับซ้อนด้วยความช�ำนาญ
7. การริเร่ิมส่ิงใหม่ (origination) การปฏิบัติโดยใช้วิธีการแบบใหม่
หรือทักษะใหม่ในการริเริ่ม
สร้างสรรค์สิ่งใหม่
จากการจ�ำแนกพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยของบุคคลทั้งสามแตกต่างกัน แต่ส่วนท่ีเหมือนกันคือ
เป็นการจ�ำแนกพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับความสามารถในการปฏิบัติงาน การเลือกใช้วิธีการจ�ำแนกพฤติกรรม
เพื่อใช้สร้างเครื่องมือในการวัดข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ เช่น ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรม
เพ่ือเพ่ิมพูนความรู้ของบุคลากรในการปฏิบัติงาน อาจเลือกใช้การจ�ำแนกพฤติกรรมของเดฟซ่ึงมีล�ำดับการ
เรียนรู้ที่ไม่ซับซ้อน ส�ำหรับหลักสูตรในสถาบันการศึกษาอาจเลือกใช้แนวคิดของแฮร์โรว์ในกรณีที่เก่ียวข้อง
กบั การแสดงออกดว้ ยการสอ่ื สารดว้ ยรา่ งกายหรอื ดว้ ยวาจา และใชแ้ นวคดิ ของซมิ ปส์ นั ในกรณขี องการปฏบิ ตั ิ
ที่มีความซับซ้อนหรือต้องการให้มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
3. คุณลักษณะของการวัดดา้ นทกั ษะพิสัย
ธรรมชาติของการวัดด้านทักษะพิสัยเก่ียวข้องกับการปฏิบัติงานซ่ึงประกอบด้วยกระบวน
การท�ำงาน (process) และผลงาน (product) การวัดทักษะกระบวนการและการวัดผลงานมีเกณฑ์ในการ
ประเมินที่แตกต่างกัน เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ให้ความส�ำคัญกับการวัดความ
ถูกต้องของกระบวนการเตรียมอุปกรณ์ในการทดลอง เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
การท�ำพาวเวอร์พอยท์แสดงผลงานท่ีมอบหมายไม่เน้นกระบวนการในการด�ำเนินการแต่เน้นท่ีผลงาน คือ
พาวเวอร์พอยท์ซึ่งครอบคลุมเน้ือเรื่องท่ีต้องการน�ำเสนอภายในเวลาที่ก�ำหนดและใช้เทคนิคท่ีดึงดูด
ความสนใจของผู้ฟัง ส่วนการปรุงอาหารให้ความส�ำคัญกับกระบวนการในการคัดเลือกวัสดุ การเตรียม