Page 23 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 23

การวัดด้านทักษะพิสัย 7-13

                     2) แบบทดสอบทีใ่ หอ้ ธิบายกระบวนการท�ำงานหรือแกป้ ัญหา (practical exami-
nation) เป็นข้อสอบท่ีใช้วัดทักษะการปฏิบัติแตกต่างจากข้อสอบวัดความรู้ในเน้ือหาท่ีปฏิบัติท่ีเน้นให้ผู้เรียน
อธบิ ายประสบการณ์หรอื กระบวนการในการทำ� งาน

                 3.1.2 แบบทดสอบปากเปล่า (oral examination) เป็นวิธีการวัดความสามารถในการ
ปฏิบัติงานของผู้เรียนโดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการ ทั้งน้ีอาจใช้ในการวัดความสามารถในการท�ำผลงาน
ซึ่งเป็นผลต่อเน่ืองจากกระบวนการในการปฏิบัติงานก็ได้ แต่วิธีการนี้อาจส้ินเปลืองเวลาเพราะต้องทดสอบ
ทีละคน การทดสอบปากเปล่าเหมาะกับการใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี้

                     1) 	ต้องการตรวจสอบการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยเฉพาะ
การทำ� งานกลมุ่

                     2) 	ตอ้ งการตรวจสอบวา่ ผู้เรียนปฏบิ ัตงิ านดว้ ยตนเองหรอื ไม่
                     3) 	ตอ้ งการตรวจสอบทกั ษะการทำ� งานเมอื่ งานทมี่ อบหมายใหแ้ ตล่ ะคนหรอื แตล่ ะ
กลมุ่ แตกต่างกัน
            3.2 	การใชเ้ ครอื่ งมอื อน่ื ๆ ทไี่ มใ่ ชแ่ บบทดสอบ การวัดด้านทักษะพิสัยที่มีความเหมาะสมมาก
ท่ีสุดคือ การให้ผู้ถูกประเมินมีโอกาสปฏิบัติงานจริง ส่วนวิธีการวัดและประเมินการปฏิบัติแตกต่างกันไปตาม
ธรรมชาติของงานท่ีให้ปฏิบัติ ซึ่งอาจท�ำได้โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ ใช้แบบวัดทักษะปฏิบัติ เป็นต้น
ซ่ึงวิธีการดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
                3.2.1 การสังเกต เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างของ
ผู้สังเกตท�ำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานและผลงานของผู้ถูกประเมิน เคร่ืองมือท่ีช่วยให้
การสังเกตมีประสิทธิภาพมากข้ึน คือ แบบสังเกต (observation form) ซ่ึงอาจเป็นแบบตรวจสอบรายการ
(checklist) มาตรประมาณค่า (rating scale) หรือแบบบันทึกพฤติกรรม (anecdotal record)
                3.2.2 	การสมั ภาษณ์ เปน็ การเกบ็ รวบรวมโดยการซกั ถามพดู คยุ ระหวา่ งผสู้ มั ภาษณแ์ ละ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเสริมการสังเกตกรณีท่ีผู้ประเมินไม่มีโอกาสสังเกตพฤติกรรมในการ
ท�ำงานของผู้ถูกประเมิน เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานอีกทางหน่ึง อาจเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
(structured interview) หรือการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured interview)
                3.2.3 การใช้แบบวัดทักษะปฏิบัติ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ของผเู้ รยี นโดยใชเ้ ครอ่ื งมอื และวธิ กี ารหลายอยา่ งประกอบกนั เชน่ การสงั เกต การสมั ภาษณ์ การเขยี นรายงาน
ผลการทดลอง การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน เป็นต้น
       ผลการวัดและประเมินด้านทักษะพิสัยท่ีมีคุณค่านอกจากจะข้ึนอยู่กับคุณภาพของเคร่ืองมือที่ใช้ใน
การวัดแล้วยังเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอ่ืน ๆ ในกระบวนการวัดและประเมิน ซ่ึงประกอบด้วย ผู้ท�ำการวัด
และประเมิน ผู้ถูกวัดและถูกประเมิน และผู้ใช้ผลการประเมิน

              หลังจากศึกษาเนอ้ื หาสาระเรอื่ งที่ 7.1.2 แลว้ โปรดปฏิบัตกิ ิจกรรม 7.1.2
                      ในแนวการศกึ ษาหน่วยที่ 7 ตอนที่ 7.1 เรื่องที่ 7.1.2
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28