Page 78 - การอ่านภาษาไทย
P. 78
๖-68 การอา่ นภาษาไทย
“การวิจารณ์อย่างท่ี ๑) และ ๒) เป็นเร่ืองเอาความเห็นและความรู้สึกของบุคคลโดย
ธรรมดาเป็นท่ีต้ัง ไม่ได้ใช้หลักวิชาความรู้เป็นเครื่องวิจารณ์...ส่วนการวิจารณ์อย่างที่ ๓) คือ
การวิพากษ์วิจารณ์นั้น มีหลักส�ำหรับใช้วินิจฉัยตัดสิน เป็นท�ำนองผู้พิพากษาอรรถคดีในโรงศาล...
แท้จริง การวิพากษ์วิจารณ์ ก็เพื่อจะค้นหาคุณงามความดีซึ่งมีอยู่ในสิ่งน้ัน เพ่ือก�ำหนดค่าของ
ส่ิงนั้นว่า สูงต่ําหรือดีช่ัวแค่ไหน จึงจ�ำเป็นอยู่เองท่ีจะต้องพิจารณาถึงข้อบกพร่องในส่ิงนั้นด้วย
เพื่อจะได้ไต่ขึ้นไปหาสิ่งท่ีถือว่าเป็นอุดมคติได้สะดวกข้ึน เพราะฉะนั้น ว่าในทางหลักวิชา
การวิพากษ์วิจารณ์ จึงไม่ใช่เร่ืองจะจับผิดหาข้อบกพร่องโดยตรง แต่เป็นเรื่องค้นหา และก�ำหนดค่า
ให้แก่ส่ิงนั้น”
๑.๓ วรรณคดีวิจารณ์ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์ (๒๕๐๗) อธบิ ายลกั ษณะของวรรณคดวี จิ ารณไ์ ว้
ในหนังสือวรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์ ประมวลความไดว้ า่
๑) การวิจารณไ์ มใ่ ช่การคิดหรือจับผดิ การวจิ ารณ์หนงั สอื เร่อื งหนง่ึ ผวู้ จิ ารณจ์ ะต้องไม่คิด
ลว่ งหนา้ วา่ หนงั สอื นนั้ เตม็ ไปดว้ ยขอ้ บกพรอ่ งและหยบิ ยกขอ้ บกพรอ่ งขน้ึ มาแสดง การวจิ ารณแ์ บบนนั้ ไม่
เรยี กวา่ วิจารณ์ แต่เปน็ การประจาน มากกวา่
๒) การวจิ ารณท์ ่ีแท้จรงิ คอื การพจิ ารณาลักษณะของบทประพันธ์ แยกแยะส่วนประกอบที่
สำ� คญั และหยบิ ยกออกมาแสดงวา่ ไพเราะงดงามเพยี งใด วเิ คราะหค์ วามหมายของบทประพนั ธน์ นั้ ถา้ ความ
หมายซอ่ นเร้นอยู่ ก็ใชป้ ัญญาหย่ังไปใหเ้ ห็นทะลุปรโุ ปร่งและแสดงให้ผอู้ า่ นเหน็ ตาม....”
เม่ือพิจารณาความเห็นของปราชญ์ทางวรรณกรรม ท้ัง ๓ ท่านแล้ว จึงสรุปได้ว่า การวิพากษ์
วจิ ารณว์ รรณกรรมร้อยกรอง คือ
๑. การแสดงคุณลักษณะของบทรอ้ ยกรอง ท้ังเนือ้ เรื่อง ความคิดเห็น และทำ� นองแต่ง
๒. การอธบิ ายลักษณะและวิเคราะหว์ นิ จิ ฉัยว่า บทรอ้ ยกรองน้ันๆ มีคุณคา่ หรอื บกพรอ่ งอยา่ งไร
๒. คุณสมบัติของนักวิจารณ์วรรณกรรมท่ีดี
๒.๑ เป็นนักอ่าน ฝกึ ฝนการอา่ นมาดแี ลว้ อา่ นหนงั สอื สมาํ่ เสมอ นยิ มการอา่ น มสี มาธใิ นการอา่ น
อ่านเรว็ เขา้ ใจและจับใจความได้ครบถ้วนถกู ต้อง ทราบแนวทางในการอ่านทีจ่ ะไดร้ บั ประโยชน์แทจ้ รงิ มี
สติปัญญาเฉียบคม เข้าใจโครงสร้าง หยั่งรู้แก่นของเรื่อง ตีความถูกต้อง รับรู้และเข้าใจสาระที่กวีส่งผ่าน
ตัวอกั ษร หยิบยกประเด็นหรือใจความส�ำคัญและถา่ ยทอดได้
๒.๒ เป็นนักคิด เมื่ออ่านแล้ว มีความคิดเห็นในเร่ืองท่ีอ่านอย่างกระจ่างว่า เร่ืองท่ีอ่านเป็น
วรรณกรรมทีท่ รงคุณค่า หรือมคี ณุ ลักษณะของวรรณศิลป์ อยา่ งไรหรือไม่
๒.๓ เปน็ กลาง คอื สามารถขจดั อคติ เชน่ ความไมพ่ อใจหรอื ความชอบ เปน็ สว่ นตวั หรอื เชอ้ื ชาติ
ศาสนา ลทั ธกิ ารปกครองทแี่ ตกตา่ งกนั นกั วจิ ารณต์ อ้ งมจี ติ ใจยตุ ธิ รรม พจิ ารณาเรอ่ื งตา่ งๆ ดว้ ยจติ ใจอสิ ระ
ซ่ึงค่อนข้างยากท่ีบุคคลทั่วไปจะขจัดรสนิยมเฉพาะตน และวางตนเป็นกลางได้โดยสมบูรณ์ แต่เม่ือมี
ความมงุ่ มัน่ จะทำ� งานวจิ ารณ์ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงตอ่ วงการวรรณกรรมและชาติบา้ นเมอื ง จะต้อง
ฝกึ หดั ตน พยายามขจดั อคตใิ หห้ มดสน้ิ หรอื มนี อ้ ยทสี่ ดุ หมน่ั ศกึ ษาและสรา้ งสรรคผ์ ลงานวจิ ารณ์ ใหบ้ รรลผุ ล
สมความม่งุ หมาย