Page 79 - การอ่านภาษาไทย
P. 79
การอา่ นร้อยกรอง ๖-69
๒.๔ เป็นผู้รอบรู้ ในรูปแบบลักษณะของวรรณศลิ ป์ และความเป็นมาของวรรณกรรมร้อยกรองท่ี
จะวพิ ากษว์ จิ ารณ์ เชน่ การวจิ ารณบ์ ทละครเรอื่ ง เงาะปา่ พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้
เจ้าอยู่หัว นอกจากผู้วิจารณ์ควรมีความรู้เกี่ยวกับกลอนบทละครของไทยแล้ว ยังควรทราบเกี่ยวกับ
ภมู ศิ าสตรข์ องภาคใต้ เผา่ พนั ธ์ุ แหลง่ ทอี่ ยู่ วถิ ที างดำ� รงชวี ติ ของชนเผา่ ซาไก หรอื เงาะปา่ ซงึ่ คนงั ซมพลา
ลำ� หบั ตวั ละครเอกของเร่อื งเป็นชนเผ่าซาไก จะชว่ ยให้วิพากษ์วจิ ารณ์วรรณกรรมร้อยกรอง เงาะปา่ ได้
ครบถว้ นสมบูรณ์
๒.๕ เป็นผู้ใช้ภาษาไทยได้ดี สามารถถ่ายทอดสาระท่ีต้องการสื่อจากความรู้สึกนึกคิด เจตคติ
ความเหน็ ความเข้าใจ และมีความกล้าหาญท่จี ะใช้ภาษาเขียนวจิ ารณ์อย่างยตุ ธิ รรม
๓. ข้อแนะน�ำแนวทางในการอ่านร้อยกรองเพ่ือวิพากษ์วิจารณ์
ประมวลจาก วรรณคดีในแง่วรรณศิลป์ ของศาสตราจารย์ พระยาอนมุ านราชธน และวรรณคดี
และวรรณคดีวิจารณ์ ของ ดร.วิทย์ ศิวะศรยิ านนท์
๓.๑ ผู้อ่านร้อยกรองเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ ควรเขา้ ใจวา่ วรรณกรรมรอ้ ยกรอง แมแ้ ตง่ ขน้ึ ตา่ งสมยั
กนั แตเ่ มื่อวิพากษ์วจิ ารณ์โดยหลกั การท่ถี กู ต้องแลว้ อาจพบลกั ษณะวรรณศิลป์ และคุณค่าในดา้ นตา่ งๆ
เฉพาะเร่ืองทัดเทียมกัน จึงต้องอา่ นศึกษาอยา่ งละเอียดรอบคอบ
๓.๒ ผู้วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมร้อยกรอง ควรมุ่งให้เกิดประโยชน์ท้ังแก่ตนเอง แก่กวี
ผสู้ รา้ งสรรคผ์ ลงาน และแกผ่ อู้ า่ นทว่ั ไปโดยรวม และควรใหง้ านวพิ ากษว์ จิ ารณข์ องตนเปน็ เครอ่ื งจงู ใจผอู้ า่ น
ทวั่ ไปใหเ้ กดิ ความสนใจใครอ่ า่ นวรรณกรรมรอ้ ยกรองนน้ั ๆ ดว้ ยตนเอง ไมว่ า่ การวจิ ารณน์ นั้ ๆ จะเปน็ การติ
หรือชม ทง้ั น้ี เพอ่ื ใหผ้ ้อู า่ นทว่ั ไปได้ประจกั ษ์ในคณุ ค่าหรอื ข้อบกพรอ่ งของวรรณกรรมรอ้ ยกรองนน้ั ๆ ด้วย
ตนเอง
๓.๓ การประเมินค่าของวรรณกรรมร้อยกรอง เปน็ ขั้นตอนสำ� คัญของการวพิ ากษ์วจิ ารณ์ ควร
พิจารณาประเด็นต่างๆ ต่อไปนอ้ี ย่างรอบคอบ
๓.๓.๑ จนิ ตนาการของผสู้ รา้ งสรรคง์ านรอ้ ยกรองทอ่ี า่ น เปน็ จนิ ตนาการสงู หรอื ตาํ่ ดหี รอื ชวั่
ผู้วิจารณ์ควรพิจารณาให้ทราบอย่างถ่องแท้ เพ่ือสื่อสารผลการวิพากษ์วิจารณ์ออกไปสู่ประชาชน และ
เนอื่ งจากศิลปะและวรรณกรรมเป็นเครือ่ งหมายแห่งอารยธรรมอนั สูง เป็นเกยี รติภูมขิ องประเทศชาติ และ
ศลิ ปะวรรณกรรม เปน็ ปจั จยั ยกฐานะแหง่ จติ ใจของมนษุ ยชาติ ใหพ้ น้ จากสภาพแหง่ ความปา่ เถอื่ น อำ� นาจ
แหง่ ความงามของศิลปะโดยเฉพาะวรรณศิลป์ เป็นสิ่งทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ปัญญา ความสุข และความเจรญิ ที่ถาวร
เปน็ ศานตสิ ขุ ของมวลมนษุ ยชาติ ดงั นน้ั ผวู้ พิ ากษว์ จิ ารณ์ จงึ ควรเสนอผลแหง่ การวพิ ากษว์ จิ ารณว์ รรณกรรม
ใหเ้ กิดคณุ ประโยชนแ์ ท้จรงิ
จากการประเมินค่าหรือวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมร้อยกรอง ตามหลักการดังกล่าวมาแล้ว
ข้างต้น จะพบว่า วรรณกรรมร้อยกรองท่ีเป็นวรรณคดีมรดกของไทยจ�ำนวนมาก เช่น โคลงทวาทศมาส
สมุทรโฆษคำ� ฉันท์ ก�ำสรวลศรปี ราชญ์ โคลงยวนพ่าย ลลิ ิตพระลอ นิราศรบพม่าท่ีทา่ ดนิ แดง รามเกียรต์ิ
อเิ หนา พระอภยั มณี สงั ขท์ อง กากคี ำ� กลอน นริ าศพระบาท โคลงนริ าศสพุ รรณบรุ ี เทศนม์ หาชาตเิ วสสนั ดร
ชาดก ลลิ ติ ตะเลงพา่ ย เงาะปา่ สามคั คเี ภทคำ� ฉนั ท์ ฯลฯ ลว้ นเปน็ ผลงานทเ่ี ชดิ ชคู วามเปน็ ไทยในดา้ นภาษา
และวรรณกรรม ท้ังสนิ้