Page 57 - วิถีไทย
P. 57
ภาษาในวิถไี ทย 3-47
เนื้อความในตัวอย่างแรกพบค�ำยืมภาษาเขมรคือ บ�ำเรอ ภาษาเขมรเขียนว่า บมฺเรี แปลว่า
“รับใช้” ข้อความว่า กูบ�ำเรอแกพ่ อ่ กู กูบำ� เรอแก่แมก่ ู จงึ แปลความได้วา่ “กูรบั ใช้พ่อกู กูรับใชแ้ มก่ ”ู สว่ น
ข้อความทสี่ องพบค�ำยมื ภาษาเขมรคอื ตระพัง ภาษาเขมรเขียนวา่ ตรฺพำ� ง แปลวา่ “แหล่งนำ้� แอ่ง หนอง
สระ” ขอ้ ความว่า มนี ้ำ� ตระพงั โพยสีใสกนิ ดี จึงแปลไดว้ ่า “มแี หลง่ นำ�้ หรือสระนำ้� ทใ่ี สสะอาด บริโภคได”้
ในขณะที่ข้อความท่ีสาม พบค�ำยืมเขมรว่า โอย ภาษาเขมรเขียนว่า โอย แปลว่า “ให้” ข้อความว่า
มักโอยทาน จงึ แปลวา่ มักให้ทาน
คำ� ภาษาเขมรในจารกึ หลกั ท่ี 1 นำ� มาสขู่ อ้ สนั นษิ ฐานวา่ ภาษาไทยนา่ จะรบั ภาษาเขมรมาตงั้ แตก่ อ่ น
สมัยสุโขทัยแล้ว เพราะเหตุว่าการใช้ค�ำเขมรในจารึกย่อมต้องมีผู้เข้าใจความหมายของค�ำอยู่ก่อนแล้ว จึง
น�ำค�ำมาใช้ในจารึก จารึกสมยั สุโขทยั หลักอนื่ ๆ อาทิ จารึกวดั ศรีชมุ ก็ยังพบคำ� เขมรดว้ ย และดูเหมือนใน
สมัยอยุธยาภาษาไทยก็รับค�ำเขมรเข้ามา โดยเฉพาะในวรรณคดีสมัยอยุธยาพบค�ำยืมภาษาเขมรมากจน
นา่ ประหลาดใจ ดงั ตวั อยา่ งวรรณคดเี ร่อื งลลิ ิตตะเลงพา่ ย
กลางไพรใครเพ่ือนท้าว นอนผลู
จักผทมเดียวด ู แตไ่ ม้
ค�ำว่า ไพร ในภาษาเขมรเขียนว่า ไพฺร แปลว่า “ป่า” ผลู ภาษาเขมรเขียนว่า ผฺลูว หมายถึง
“ทาง” และคำ� วา่ ผทม ในภาษาเขมรเขยี นวา่ ผทฺ ํ ใชเ้ ปน็ คำ� ราชาศพั ทแ์ ปลวา่ “บรรทม นอน” บทวรรณคดี
ข้างตน้ จงึ แปลความได้ว่า กลางปา่ ทีพ่ ระมหาอุปราชได้เสด็จมาน้ันตอ้ งนอนตามทางพระองค์เดยี ว ที่มีแต่
ตน้ ไม้
ภาษาไทยรับคำ� ภาษาเขมรบางค�ำเขา้ มาใชโ้ ดยยังสบื ทอดจนปัจจุบนั โดยทผ่ี ูพ้ ดู ภาษาไทยท่วั ไป
อาจไม่ทราบว่าเป็นค�ำภาษาเขมร เน่ืองจากค�ำเหล่านี้ใช้อยู่ในวิถีปัจจุบันและสืบต่อกันมานานพอควรแล้ว
ดังตัวอย่างขอ้ ความต่อไปน้ี
บริษัทแจกสินคา้ ให้แก่ผู้แทนจำ� หน่าย จึงมภี าระในการหักภาษี ณ ทจ่ี า่ ย
คนไทยเข้าใจความหมายของข้อความข้างต้น แต่น้อยคนท่ีรู้และทราบที่มาของ แจก จ�ำหน่าย
และจา่ ย ว่าเปน็ คำ� ยมื ภาษาเขมร ค�ำแรกภาษาเขมรเขยี นว่า แจก ทั้งรปู การออกเสยี ง และความหมาย
ใกล้กับภาษาไทยมาก หมายถึง “แบ่งออก ปันออก แบ่งให้” ส่วนค�ำว่า จ�ำหน่าย ภาษาเขมรเขียนว่า
จํณาย มคี วามหมายวา่ “ใหค้ นอ่นื จ่ายหรือแจก ออกเงินให้จา่ ย” สว่ น จ่าย ภาษาเขมรเขยี นว่า จาย แปล
ว่า “เอาออกใช้หรือให้” อย่างไรก็ดีบางคนอาจแย้งว่าทั้งสามค�ำเป็นค�ำไทยแท้ แต่เม่ือศึกษาภาษา
เชงิ ประวตั ิและเปรียบเทยี บค�ำศัพทร์ ่วมเชือ้ สายในตระกูลภาษาแลว้ จะพบวา่ ทั้ง จำ� หนา่ ย จา่ ย และแจก
เป็นค�ำทพ่ี บในภาษาเขมรโบราณ ไมพ่ บในภาษาตระกลู ไทอ่นื ๆ นอกจากภาษาไทยถนิ่ กรงุ เทพ
ภาษาไทยรับคำ� เขมรเขา้ มาใช้อย่างมาก ซง่ึ แบง่ ได้เป็น
1) ค�ำทั่วไป คอื คำ� ทใ่ี ชท้ ัว่ ไปในชีวติ ประจ�ำวนั คำ� ในกลุม่ นี้ใชท้ ั้งเปน็ ภาษาสภุ าพและภาษา
สนทนาทัว่ ไป อาทิ กำ� เนดิ โปรด เดิน ทะเบยี น กบาล จังหวดั กระบอื