Page 17 - ลักษณะภาษาไทย
P. 17

คายืมภาษาบาลี-สนั สกฤต 9-7

เรื่องท่ี 9.1.1

ควำมสัมพนั ธ์ทำงประวตั ศิ ำสตร์ระหว่ำงอนิ เดยี กบั ไทย

       อินเดียมีความสัมพันธ์กับไทยมาช้านานกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากความสัมพันธ์ทางประวัติ-
ศาสตร์แล้วยังปรากฏความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ด้านศาสนา ประเพณี วิชาการ
วรรณคดี ภาษา ฯลฯ ด้วยเหตทุ ่ีว่า อนิ เดยี ได้ชอ่ื วา่ เป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่ครั้งโบราณ ประเทศ
ใกล้เคียงก็ไดร้ บั อทิ ธิพลแหง่ ความเจรญิ รงุ่ เรอื งน้ันด้วย

       ประเทศไทยถือเป็นประเทศหน่ึงที่ได้รับอิทธิพลแห่งความเจริญของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทางด้านภาษา จนมผี ู้กลา่ ววา่ หากเปิดพจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน จะพบคาท่ีเรานามาจากภาษา
บาลี-สันสกฤตอยู่เกนิ กว่าครง่ึ (จานงค์ ทองประเสริฐ, 2520, น. 2)

       หากจะกล่าวถึงประวัติของภาษาบาลี-สันสกฤตน้ัน ชาวอารยันถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีภาษาและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง ชาวอารยันเหล่านี้จะใช้ภาษาท่ีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์พระเวท
เรียกว่า ไวทิกภาษา เป็นเคร่ืองมือในการส่ือสารระหว่างกัน หลังจากนั้นชาวอารยันก็ได้อพยพเข้ามาสู่
ชมพูทวีปและต้ังหลักแหล่งอยู่บริเวณแม่น้าสินธุในประเทศอินเดียปัจจุบนั และยังคงใช้ภาษาเดิมในการ
ตดิ ตอ่ สอื่ สารระหวา่ งกนั

       เม่ือวัฒนธรรมของชาวอารยันเข้าไปผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองเดิม ก็ เกิด
วิวัฒนาการทางภาษาขึ้นจนเป็นภาษามคธที่ใช้พูดกันในแคว้นมคธและแคว้นโกศล ขณะเดียวกันก็เป็น
ช่วงที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในชมพูทวีป พระองค์ใช้ภาษามคธในการประกาศพระพุทธศาสนาให้
แพร่หลาย มีคาส่ังสอนที่เรียกว่าพระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 หมวด ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระ-
สตุ ตันตปฎิ ก และพระอภธิ รรมปิฎก ทง้ั 3 หมวดข้างตน้ บนั ทกึ ด้วยภาษามคธท้ังส้นิ และภาษามคธน้ีเอง
ทีป่ จั จุบันเรยี กวา่ ภาษาบาลี

       หากกล่าวถึงคาว่า บาลี หรือ ปาลิ น้ัน ไม่ได้หมายความว่า ภาษา อย่างท่ีเข้าใจกันโดยทั่วไป
เท่านั้น แต่มีความลึกซ้ึงกว่านั้นอยู่มาก นั่นคือ บาลี หรือ ปาลิ หมายถึง พุทธวจนะหรือเน้ือความเดิม
ในพระไตรปิฎก ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นภาษาท่ีบันทึกคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่ีประกาศ
พุทธศาสนาระหว่างที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ กระทั่งพุทธศตวรรษที่ 19 มีผู้ใช้คาว่า ปาลิ ในความหมายว่า
พทุ ธพจนแ์ ละภาษาท่ใี ชบ้ ันทึกคาสอนของพระพทุ ธเจ้าซง่ึ เรียกวา่ ภาษาบาลี จนถงึ ปัจจบุ ัน

       ขณะเดียวกัน หลังจากท่ีชาวอารยันอพยพเข้าสู่ดินแดนชมพูทวีป วัฒนธรรมของชาวอารยันได้
ผสมผสานกับวัฒนธรรมพ้ืนเมืองจนเกิดการเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปาณินิ นักปราชญ์คนหน่ึงใน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22