Page 74 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 74

3-10 องค์การ​และ​การ​จัดการ ​และก​ ารจ​ ัดการ​ทรัพยากร​มนุษย์

Le Breton and Henning:5
       แผน คือ แนว​ปฏิบัติ​ที่ก​ ำหนด​ไว้​ล่วงห​ น้า ลักษณะ​ของ​แผน​จะม​ ีอ​ ยู่ 3 ลักษณะ คือ
       1. 	 จะ​ต้องเ​กี่ยวข้อง​กับอ​ นาคต
       2. 	 จะต​ ้องเ​กี่ยวข้อง​กับ​การก​ระท​ ำ
       3. 	 จะต​ ้องเ​กี่ยวข้องก​ ับค​ วาม​ต้องการ​ของ​บุคคล​และ​องค์การ

Kast and Rosenzweig:6
       การ​วางแผน คือ กระบวน​กา​รใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ล่วง​หน้า​ว่า จะ​ทำ​อะไร อย่างไร มี​การ​กำหนด​วัตถุประสงค์

นโยบาย โครงการ แ​ ละ​แนว​ปฏิบัติเ​พื่อบ​ รรลุ​วัตถุประสงค์​นั้น
Shermahorn:7

       การ​วางแผน คือ กระบวนการ​กำหนด​วัตถุประสงค์​และ​แนวทาง​ใน​การ​ดำเนิน​การ​เพื่อ​บรรลุ​วัตถุประสงค์​ที่​
กำหนด และ​แผน​คือ​ข้อความ​ที่​เขียน​ขึ้น​อย่าง​เป็น​ทางการ​เพื่อ​แสดง​ให้​เห็น​ถึง​เจตนา​ที่​จะ​ดำเนิน​การ​ต่างๆ เพื่อ​บรรลุ​
วัตถุประสงค์​ที่ก​ ำหนด​ขึ้น

       ซึ่ง​พอ​จะ​สรุป​จาก​ความ​หมาย​ของ​การ​วางแผน​จาก​นัก​วิชาการ​ด้าน​การ​บริหาร​เหล่า​นี้​ได้​ว่า การ​วางแผน​เป็น​
หน้าที่​สำคัญ​ใน​กระบวนการ​ของ​การ​จัดการ ซึ่ง​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ตัดสิน​ใจ​ล่วง​หน้า​ใน​การ​กำหนด​วัตถุประสงค์​หรือ​
​เป้า​หมาย​และ​แนวทาง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ใน​อนาคต โดย​การ​วิเคราะห์​จาก​สภาวะ​แวดล้อม​ของ​โอกาส​และ​ข้อ​จำกัด​ต่างๆ​
ของ​องค์การ​และ​จุด​แข็ง​จุด​อ่อนข​อง​องค์การ​ที่​มี​อยู่ จาก​คำ​จำกัด​ความ​นี้ จะ​เห็น​ได้​ว่า​ใน​การ​วางแผน​นั้น​จำเป็น​ที่​จะ
​ต้อง​ทำการ​วิเคราะห์​ข้อมูล​ทั้ง​ใน​อดีต​และ​ใน​ปัจจุบัน และ​ยัง​ต้อง​ทำการ​ประเมิน​สภาวะ​แวดล้อม​ใน​อนาคต​ทั้ง​ภายใน​
และภ​ ายนอกอ​ งค์การเ​พื่อใ​ห้​สามารถก​ ำหนดแ​ นวป​ ฏิบัติท​ ี่​จะ​นำไ​ป​สู่​ความส​ ำเร็จต​ ามว​ ัตถุประสงค์ท​ ี่ก​ ำหนดไ​ว้ไ​ด้ และ​
ผลลัพธ์​ที่​ได้​จาก​กระบวนการ​วางแผน​ก็​คือ แผน (plan) ใน​เรื่อง​ของ​การ​วางแผน​นี้​ยัง​มี​คำ​หลาย​คำ​ที่​จำเป็น​จะ​ต้อง​
ทำความเ​ข้าใจ หรือท​ ราบค​ วามแ​ ตกต​ ่างไ​ว้ก​ ่อนก​ ็ค​ ือ แผน (plan) เป้าห​ มาย (goal) มาตรฐาน (standard) การค​ าดค​ ะเน
(forecast) และก​ าร​ตัดสินใ​จ (decision making) ซึ่ง​คำ​เหล่าน​ ี้​มี​ความ​หมายต​ ่างก​ ันด​ ังนี้ คือ

       แผน คือ ผลท​ ี่​ได้​จากก​ าร​วางแผน หรือก​ ล่าวอ​ ีก​นัย​หนึ่ง​ว่า การ​วางแผนน​ ั้นเ​ป็น​กิจกรรม ส่วน​แผนน​ ั้น​เป็นผ​ ล​
ที่​ได้​จาก​กิจกรรม​การ​วางแผน​ซึ่ง​ก็​คือ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​จะ​ใช้​เป็น​แนวทาง​ใน​การ​บรรลุ​วัตถุประสงค์​นั่นเอง โดย​ทั่วไป​แผน​
นั้นม​ ักจ​ ะ​แสดงออก​เป็น​ตัวเลขเ​พื่อ​สะดวก​แก่ก​ ารนำ​ไปป​ ฏิบัติ

       เป้าห​ มาย คือ แผนซ​ ึ่งแ​ สดงออกใ​นล​ ักษณะท​ ี่เ​ป็นการค​ าดห​ วังว​ ่าจ​ ะไ​ด้ผ​ ลห​ รือเ​งื่อนไขบ​ างอ​ ย่างใ​นอ​ นาคต เช่น
เป้า​หมาย​ของ​บริษัท A คือ การ​เข้า​สู่ต​ ลาด​สินค้า​ของ​เด็กเ​ล่นใ​ห้ไ​ด้ภ​ ายใน 1 ปี ซึ่ง​เมื่อม​ อง​ความ​แตกต​ ่าง​ของท​ ั้ง​สองค​ ำ​
นี้​แล้ว​อาจ​จะ​เห็น​ความ​แตก​ต่าง​ได้​ชัด โดย​สรุป​เป้า​หมาย​คือ​เงื่อนไข​ที่​ต้องการ​ได้​รับ​หรือ​บรรลุ ส่วน​แผน​นั้น​เป็น​เรื่อง​
ของแ​ นว​ปฏิบัติท​ ี่​จะต​ ้องม​ ี​การป​ ฏิบัติ​เพื่อท​ ำให้​บรรลุเ​งื่อนไข​ตามท​ ี่ค​ าด​หวัง​ไว้

       มาตรฐาน คือ เกณฑ์* ที่​ใช้​วัด​ว่า​ได้​มี​การ​ปฏิบัติ​ตาม​แผน​หรือ​แนว​ปฏิบัติ​ที่​ได้​จัด​ทำ​ไว้​หรือ​ไม่ ซึ่ง​การ​จะ​
พิจารณา​ว่า​ได้ม​ ี​การ​ปฏิบัติ​ตาม​แผนที่ว​ างไ​ว้​หรือ​ไม่ จำเป็น​ต้องท​ ำการเ​ปรียบเ​ทียบ​ผล​ที่เ​กิดข​ ึ้น​จริงๆ กับ​ผลท​ ี่​ต้องการ​
หรือ​คาด​หวังว​ ่า​จะ​เกิด​ขึ้น ดังน​ ั้น​ถ้าจ​ ะใ​ห้​คำจ​ ำกัด​ความ​ของม​ าตรฐานก​ ็​อาจจ​ ะ​กล่าวไ​ด้​ว่าม​ าตรฐานค​ ือ​เกณฑ์ท​ ี่​กำหนด​
ขึ้น​เพื่อใ​ช้​ในก​ าร​วัด​เปรียบเ​ทียบแ​ ละ​ตรวจ​สอบก​ ารป​ ฏิบัติ​งาน​นั่นเอง จะเ​ห็นไ​ด้​ว่าใ​น​บางค​ รั้ง​เป้าห​ มาย​ก็จ​ ะถ​ ูก​นำ​มา​ใช​้
เป็น​มาตรฐาน​ใน​การ​วัด​หรือ​เปรียบ​เทียบ​ได้​ด้วย อย่างไร​ก็​ดี​ใน​หลาย​กรณี​จะ​พบ​ว่า​มี​การ​จัด​ทำ​เกณฑ์​ขึ้น​มา​เพื่อ​ใช้​ใน​
การ​วัด​และ​เปรียบ​เทียบ​ผลเ​ป็นการ​เฉพาะ

	 *เกณฑ์ หมาย​ถึง​หลัก​การท​ ี่​ครอบคลุมอ​ ย่า​งก​ว้างๆ ว่าแ​ ค่​ไหน​เพียง​ไรท​ ี่​จะ​เป็น​ที่​ยอมรับ​ได้

                             ลิขสิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79