Page 76 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 76
3-12 องค์การแ ละก ารจ ัดการ แ ละการจ ัดการท รัพยากรมนุษย์
เร่ืองที่ 3.1.2
ความจำเปน็ ในการม แี ผน
การวางแผนเป็นส ิ่งจ ำเป็นเนื่องม าจากเหตุผลส ำคัญ ดังต่อไปน ี้
1. ช่วยให้เกดิ ความย ืดหยุ่นตอ่ องคก์ าร
การว างแผนเป็นเรื่องข องก ารค าดก ารณ์เหตุการณ์ในอ นาคตเพื่อร ับก ับส ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุผล
ของการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและบางครั้งเป็นไปแบบก้าวกระโดด
ดังที่กล่าวแล้วทำให้นักบริหารจำเป็นต้องทำการวางแผนล่วงหน้า (proactive) โดยการคาดการณ์หรือทำนาย
การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า โดยอาศัยข ้อมูลจากอ ดีตและปัจจุบันเพื่อป ระเมินผ ลกร ะท บจากก ารเปลี่ยนแปลงท ี่จะเกิด
ขึ้น และเพื่อพัฒนาเครื่องมือให้สามารถสนองต อบด้านการปรับต ัว หรือเป็นส ิ่งช ดเชยการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
2. ช่วยให้องคก์ ารมเี ปา้ ห มายแ ละแนวทาง
การวางแผนเป็นการดำเนินการเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิผล กล่าวคือเป็นการให้
แนวทาง (direction) และแ นวป ฏิบัติ (course of action) ในการต ัดสินใจและในก ารป ฏิบัติง านแ ก่ทั้งผู้บ ริหารและ
พนักงานแผนทำให้สามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการตัดสินใจปัญหาต ่างๆ และท ำให้ก ารต ิดต่อสื่อสารตลอด
จนก ารป ระสานง านเป็นไปไดโ้ดยง ่าย เนื่องจากท ุกค นร ูว้ ่าอ ะไรเป็นว ัตถุประสงคห์ รือเป้าห มายข องอ งค์การ และร ูห้ น้าที่
ของแต่ละคนว่าจะต้องท ำอะไรให้ก ับองค์การ
3. ชว่ ยให้เกดิ การป ระสานงานของฝ า่ ยต า่ งๆ
การว างแผนท ำให้ก ารก ำกับใช้ท รัพยากรข องอ งค์การเป็นไปอ ย่างม ีป ระสิทธิภาพ เนื่องจากก ารว างแผนท ำให้
ทุกฝ่ายในองค์การรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายอย่างชัดแจ้ง และทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จึงเป็นการ
ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้การวางแผนยังสามารถบอก
ให้ทราบถึงความสำคัญก่อนหลังของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดว่า อะไรควรจะต้องให้ความสำคัญก่อนและอะไร
ควรจ ะรอไว้ภายห ลังได้ เป็นต้น
4. ชว่ ยใหก้ ารค วบคมุ ทำได้งา่ ยและเห็นผล
การวางแผนยังช่วยกำหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่ทำให้การควบคุมสามารถทำได้โดยง่าย ดังที่ได้
กล่าวไว้ข ้างต ้นแ ล้วว ่าห ากปราศจากว ัตถุประสงค์ของอ งค์การ หรือม าตรฐานของงานแล้ว การค วบคุมงานไม่สามารถ
จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะจะไม่มีทางทราบได้เลยว่าได้ทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือมาตรฐาน
หรือไม่เนื่องจากไม่มีวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานสำหรับเป็นเครื่องวัดนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการวางแผนนั้นมี
ความส ัมพันธ์ก ันอ ย่างใกล้ช ิดก ับก ารค วบคุม การว างแผนจ ะก ำหนดว ัตถุประสงค์แ ละม าตรฐาน ซึ่งจะถ ูกน ำมาใช้เป็น
พื้นฐ านข องก ารควบคุม และก ารควบคุมก ็จ ะส่งข้อมูลย ้อนก ลับ (feedback) มาให้กับการว างแผนเพื่อให้ทราบว่า ได้
ดำเนินการไปต ามเป้าหมายหรือไม่ และจ ะต ้องแ ก้ไขที่แ ผนหรือไม่อ ย่างไร ความสัมพันธ์นี้อ าจแสดงให้เห็น ดังภาพท ี่
3.3 และภ าพที่ 3.4
ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช