Page 11 - การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
P. 11

แนวคิด หลักการและกลวิธิีของการป้องกันโรค 2-9

เรื่องท​ ี่ 2.1.2
ธรรมชาตขิ​ องก​ าร​เกดิ โ​รค

       ก่อน​ที่​จะ​ได้​ทำการ​ศึกษา​ให้​เกิด​ความ​เข้าใจ​เกี่ยว​กับ​แนวคิด​การ​ป้องกัน​โรค ควร​ทำความ​เข้าใจ​เกี่ยว​กับ​
ธรรมชาติ​ของก​ ารเ​กิด​โรคโ​ดย​สังเขปก​ ่อน

1. 	 โรคต​ ิดต่อ

       ปัจจัย​ที่​ทำให้​เกิด​โรค​ติดต่อ​มี 3 ประการ​ที่​มี​อิทธิพล​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​เกิด​โรค​และ​การก​ระ​จาย​โรค​ติดต่อ​ใน​
ชุมชนท​ ี่เ​รียกว​ ่า ปัจจัยส​ าม​ทาง​วิทยาการร​ ะบาด (Epidemiologic Triad) ประกอบด​ ้วย สิ่ง​ที่​ทำให้​เกิด​โรค (Agent)
โฮสต์ (Host) และส​ ิ่งแ​ วดล้อม (Environment)

       การเ​กิดโ​รคต​ ิดต่อต​ ้องม​ ี​ทั้ง 3 ปัจจัย โดยที่​ปัจจัย​ทั้ง 3 นี้ม​ ีค​ วาม​สัมพันธ์ก​ ัน ใน​ภาวะ​ปกติม​ ีค​ วามส​ มดุล​กัน​
ระหว่าง​ปัจจัย​ทั้ง 3 ทำให้​ไม่มี​โรค​ติดต่อ​เกิด​ขึ้น​ใน​ชุมชน ใน​ภาวะ​ผิด​ปกติ​จะ​เกิด​ความ​ไม่​สมดุล​ระหว่าง​ปัจจัย​สาม
น​ ั้นซ​ ึ่ง​อาจ​เกิดไ​ด้จ​ าก

       1) 	สิ่งท​ ี่​ทำให้เ​กิด​โรค มีค​ วาม​สามารถ​ใน​การแ​ พร่​กระจายแ​ ละ​ทำให้เ​กิด​โรค​มาก​ขึ้น
       2) 	โฮสต์ท​ ี่ห​ มาย​ถึง​ คน​ที่ม​ ีค​ วามไ​วใ​น​การเ​กิด​โรค​ติดต่อ​เพิ่ม​มากข​ ึ้น​โดย​เฉพาะก​ ลุ่ม​เสี่ยง เช่น เด็ก​แรก​เกิด
ทารก ผู้ส​ ูง​อายุ เป็นต้น
       3) 	การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​สิ่ง​แวดล้อม​ที่​สนับสนุน​ให้​เกิด​โรค​ติดต่อ เช่น ฤดู​ฝน​ทำให้​ยุง​ลาย​เพิ่ม​จำนวน
การ​ขาดแคลนอ​ าหาร​และ​น้ำด​ ื่มท​ ี่​สะอาด เป็นต้น
       สิ่ง​ที่​ทำให้​เกิด​โรค เป็น​ปัจจัย​หรือ​สาเหตุ​ที่​ทำให้​เกิด​โรค​ติดต่อ​ซึ่ง​เป็น​สิ่ง​ที่​มี​ชีวิต ถ้า​พบ​มาก​หรือ​น้อย​เกิน​ไป​
อาจ​ทำให้​เกิด​โรค​ติดต่อ​ได้ สิ่ง​ที่​มี​ชีวิต​ที่​ทำให้​เกิด​โรค​ใน​ร่างกาย​มนุษย์​อาจม​อง​เห็น​ได้​หรือ​มอง​เห็น​ไม่​ได้​ด้วย​ตา​เปล่า
เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ริคเค็ท​เซีย คลา​มีเดีย เชื้อ​รา โปร​โตซัว อาร์โธร​ปอด ไพ​รออน พยาธิ เป็นต้น การ​เกิด​โรค​ใน​
ประชากร​ขึ้น​กับ​ความ​สามารถ​ของ​เชื้อ​โรค​ใน​การ​ดำรง​ชีวิต​อยู่​ได้​ใน​สิ่ง​แวดล้อม ความ​สามารถ​ของ​เชื้อ​โรค​ใน​การ​เพิ่ม​
จำนวน​เมื่อ​อยู่ภ​ ายนอกร​ ่างกายม​ นุษย์ ความ​สามารถข​ องเ​ชื้อโ​รค​ในก​ าร​ทำให้​เกิดโ​รคใ​น​ร่างกายม​ นุษย์ สิ่ง​ที่ท​ ำให้เ​กิด​
โรค​รวม​ถึงแ​ หล่งร​ ังโ​รค (Reservoirs) ที่​หมาย​ถึง คน สัตว์ พืช ดิน น้ำ​หรือส​ ิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด​ที่เ​ชื้อ​โรคต​ ิดต่อ หรือ​ปรสิต​
อาศัย​อยู่​หรือ​แบ่ง​ตัว​จน​มี​จำนวน​มาก​พอที่​จะ​แพร่​กระจาย​ไป​ให้​คน​หรือ​สัตว์​อื่น​ได้ เวก​เตอร์ (Vector) ที่​หมาย​ถึง​
สัตว์​และ​แมลง​นำ​โรค​ที่​อาจ​ส่ง​ผ่าน​เชื้อ​โรค​หรือ​ปรสิต​จาก​แหล่ง​รัง​โรค​ไป​ยัง​คน​หรือ​สัตว์ สัตว์​มัก​เป็น​สัตว์​มี​กระดูก​
สัน​หลัง เช่น สัตว์​ฟัน​แทะ เป็นต้น และ​พาหะ (Carriers) ที่​หมาย​ถึง คน​หรือ​สัตว์​ที่​มี​เชื้อ​โรค​อยู่​ใน​ร่างกาย​และ​
สามารถ​ถ่ายทอด​โรค​นั้น​ไป​ให้​คน​อื่น​ได้ ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​ผู้​ติด​เชื้อ​ที่​มี​โรค​โดย​ไม่​ปรากฏ​อาการ (Subclinical Case)
ผู้ป​ ่วยท​ ี่​มี​อาการท​ าง​คลินิก (Clinical Case) ผู้เ​ป็น​พาหะ​ที่ย​ ังม​ ี​สุขภาพ​ดี (Healthy Carrier) ผู้​เป็น​พาหะ​ที่ส​ ัมผัส​โรค​
มาถ​ ่ายทอดใ​ห้ค​ นอ​ ื่น (Contact Carrier) ผู้เ​ป็นพ​ าหะท​ ี่โ​รค​กำลังอ​ ยู่​ใน​ระยะฟ​ ักตัว (Incubatory Carrier) และผ​ ู้​เป็น​
พาหะ​ที่อ​ ยู่​ในร​ ะยะพ​ ักฟ​ ื้น​จาก​การ​ป่วย (Convalescent Carrier) และ​ผู้​ป่วยท​ ี่เ​ป็นโ​รคเ​รื้อรัง (Chronic Carrier)
       โฮสต์ เป็น​ปัจจัย​ที่​เกี่ยว​กับ​มนุษย์​ที่​แสดง​ถึง​ความ​ไว​ใน​การ​ติด​โรค​ซึ่ง​ถือ​เป็น​ปัจจัย​ภายใน​ของ​มนุษย์​ที่​
ประกอบ​ด้วย อายุ เพศ เชื้อ​ชาติ สรีรวิทยา จิตใจ ความ​แปรปรวน​ทาง​จิต​หรือ​อารมณ์ การ​เคย​มี​ภูมิ​ต้านทาน​
มา​ก่อน การเ​คยเ​ป็น​โรค​หรือไ​ด้​รับก​ ารร​ ักษา​โรค​นั้น​มาก​ ่อน พฤติกรรม ฯลฯ

ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16