Page 214 - สังคมโลก
P. 214
8-20 สังคมโลก
โครงสรา้ งข ององค์การร ะหวา่ งประเทศ
รัฐถือกำเนิดจากสงครามหรือจากรัฐธรรมนูญ (Constitution)32 ของการต่อรองระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ
ทางการเมือง ในขณะที่บรรดาองค์การระหว่างประเทศทั้งหลายกำเนิดจากข้อตกลง ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาหรือ
กฎบัตร ตั้งแต่สองร ัฐขึ้นไป และเปิดให้รัฐอื่นส ามารถเข้าเป็นร ัฐส มาชิกขององค์การได้ตามข้อตกลง รัฐธรรมนูญเป็น
ตัวกำหนดโครงสร้างสถาบันและอำนาจทางการเมือง รวมถึงกฎหมายต่างๆ ในรัฐ เช่นเดียวกับกฏบัตรขององค์การ
ระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เหมือนกับรัฐธรรมนูญของรัฐซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะ โครงสร้างอำนาจต่างๆ และ
ระเบียบในการป ฏิบัติห น้าที่ข ององค์กร บางอ งค์การระหว่างประเทศเป็นเหมือนสมาพันธรัฐ (Confederation) ของ
บรรดาร ัฐท ั้งห ลายท ี่ม ีข นาดใหญ่แ ละแ บบร วมศ ูนย์กลางอ ำนาจ (pouvoir centralisè) เนื่องจากค ำต ัดสินข องอ งค์การ
ระหว่างประเทศมีลักษณะบังคับให้รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตาม เช่น ข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประ-
ชาชาติ (rèsolutions du Conseil de sècuritè) และก ฎร ะเบียบข องคณะมนตรีแห่งส หภาพยุโรป (directives du
Conseil de l’Union europèenne)33 ในทางตรงกันข้าม ถ้าองค์การระหว่างประเทศมีลักษณะโครงสร้างอำนาจ
แบบก ระจายอ ำนาจ คำต ัดสินข องอ งค์การน ั้นจ ะไม่มผี ลบ ังคับใหร้ ัฐส มาชิกต ้องป ฏิบัตติ าม ซึ่งอ งค์การร ะหว่างป ระเทศ
ส่วนใหญ่จ ะม ีล ักษณะโครงสร้างดังกล่าวแ บบนี้34
วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ความสนใจกับองค์การระหว่างประเทศในเชิงโครงสร้างซึ่งมีลักษณะ
ของกลไกการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย รวมถึงบทบาทขององค์การในฐานะที่เป็นตัวแสดงระหว่างประเทศ โดย
ทั่วไปโครงสร้างหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศจะมีลักษณะที่ซับซ้อนและแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนและ
ลักษณะขององค์กรภายใน ภารกิจต่างๆ รวมถึงลักษณะของความสัมพันธ์ของบรรดารัฐสมาชิกภายในองค์การ
ระหว่างป ระเทศน ั้นๆ พัฒนาการข องรูปแบบก ารก ่อตั้งองค์การร ะหว่างป ระเทศม ีจุดที่น่าสนใจเริ่มจากก ารก ่อตั้งของ
สันนิบาตชาติ กล่าวคือได้มีการนำเอารูปแบบของแนวทางปฏิบัติทางการทูตในศตวรรษที่ 19 และ 20 มาไว้ด้วยกัน
กล่าวคือ องค์กรในร ูปจำกัดแบบ ประกอบด้วยม หาอำนาจเท่านั้นเช่นเดียวกับก ารป ระชุมความร ่วมม ือแห่งย ุโรป และ
องค์กรในรูปแบบของการประชุมใหญ่ประกอบด้วยบรรดารัฐต่างๆ จำนวนมากเช่นเดียวกับการประชุมสันติภาพที่
กรุงเฮก35 องค์กรด ังก ล่าวได้แก่
คณะมนตรี (Council) เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามแบบการประชุมร่วมมือแห่งยุโรป ประกอบไปด้วย 5
มหาอำนาจพ ันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นร ัฐสมาชิกถ าวรข องคณะมนตรี
และป ระเทศท ี่ร่วมร บในสงครามโลกค รั้งที่ 1 อีกบ างป ระเทศ ต่อมาเพื่อให้คณะมนตรีได้เป็นองค์กรที่ม ีผ ู้แ ทนของร ัฐ
สมาชิกมากขึ้นจ ึงขยายส มาชิกซึ่งต ่อมาขยายอ อกไปอีก 4 ประเทศ36 ซึ่งจ ะเป็นส มาชิกไม่ถาวรโดยได้รับการค ัดเลือก
จากบ รรดารัฐส มาชิกท ั้งหมด
สมัชชา (Assembly) เป็นองค์กรท ี่ป ระชุมใหญ่ทางการท ูตของบรรดารัฐสมาชิกทุกรัฐ โดยการป ระชุมจะยึด
หลักความเสมอภาคทางอธิปไตยของรัฐ รัฐแต่ละรัฐมีสิทธิสามารถลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียงเท่ากัน โดยทั้งสอง
องค์กรห ลักนี้ยึดหลักม ติเสียงเอกฉันท์ (Consensus) เช่นเดียวกัน ทั้งคณะมนตรีแ ละส มัชชามีล ักษณะท ี่เป็นองค์กร
ประจำถาวร มีอำนาจใกล้เคียงก ัน และมีก ฎระเบียบการป ระชุมที่แ น่นอนและส ม่ำเสมอ ซึ่งแตกต่างจ ากก ารประชุมใน
32 คำว ่า constitution หมายถึงก ารสถาปนาหรือการก่อตั้งรัฐ หลังจากก ารป ฏิวัติทั้งในสหรัฐอเมริกา (1776) และในฝ รั่งเศส (1789)
ต่างก ็มีรัฐธรรมนูญเป็นล ายลักษณ์อ ักษร ซึ่งต ่างจ ากรัฐธรรมนูญของอังกฤษที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
33 Diane ÈTHIER, op.cit, p. 87.
34 Ibid.
35 เพิ่งอ ้าง หน้า 24
36 ต่อมาได้ขยายสมาชิกออกไปเป็น 6 ประเทศ 9 ประเทศและ 11 ประเทศตามลำดับ http://www.larousse.fr/encyclopedie/
divers/Soci%C3%A9t%C3%A9_des_Nations/144659 (28 พ.ค. 2554)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช