Page 216 - สังคมโลก
P. 216

8-22 สังคมโ​ลก

ระหว่างร​ ัฐ (organes interètatiques) และ​องค์กร​แบบ​บูรณาการ (organes intègrès) และ​หลัก​การ​สุดท้าย การ​
แบ่ง​ตาม​ลักษณะ​ภารกิจ​ของ​องค์การ​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​องค์กร​ทางการ​เมือง องค์กร​ทางการ​บริหาร และ​องค์กร​ทางการ​
ศาล38 ซึ่ง​จะ​มี​อยู่​ใน​เฉพาะ​องค์การ​ระหว่าง​ประเทศ เช่น ศาล​ยุติธรรม​ระหว่าง​ประเทศ (Cour internationale de
Justice) ของ​สหประชาชาติ ศาล​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ยุโรป (Cour europèenne des droits de l’homme) ของ​
สหภาพ​ยุโรป หรือศ​ าล​สิทธิ​มนุษย​ชนร​ ะหว่าง​รัฐอ​ เมริกัน (Inter-American Court of Human Rights) ของ​องค์การ​
นานา​รัฐ​อเมริกัน เป็นต้น นอกจาก​นี้​ยัง​มี​องค์กร​ใน​ลักษณะ​ของ​ศาล​ปกครอง (tribunal administratif)39 เช่น
องค์การ​แรงงาน​ระหว่าง​ประเทศ (Organisation internationale du travail) และ​ธนาคาร​เพื่อ​การ​บูรณะ​และ​
พัฒนาร​ ะหว่างป​ ระเทศ (Banque internationale pour la reconstruction et le dèveloppement) หรือธ​ นาคารโลก
(Banque mondiale) และ​ศาล​อาญา​ระหว่าง​ประเทศ (tribunal pènal international) เช่น ศาล​อาญา​ระหว่าง​
ประเทศก​ รณีฆ​ ่า​ล้างเ​ผ่า​พันธ์​ใน​รวันดาแ​ ละส​ งครามกลางเมือง​ในย​ ูโกสลาเวีย เป็นต้น

       องค์การ​ระหว่าง​ประเทศ​ใน​ปัจจุบัน​มี​จำนวน​มากมาย ใน​ที่​นี้​จะ​ขอ​กล่าว​ถึง​เพียง​องค์การ​ที่​สำคัญ​ใน​ระดับ​
สากล​คือส​ หประชาชาติ และใ​น​ระดับภ​ ูมิภาค​คือส​ หภาพย​ ุโรป องค์การ​นานา​รัฐ​อเมริกัน และอ​ าเซียน รวม​ถึงอ​ งค์การ​
นอก​ภาค​รัฐ​ระหว่าง​ประเทศ

สหประชาชาติ

       สหประชาชาติ​เป็น​องค์การ​ระหว่าง​ประเทศ​ใน​ระดับ​สากล​ที่​แสวงหา​หลัก​การ​การ​อยู่​ร่วม​กัน​และ​ความ
ร​ ่วมม​ ือ​กัน​ระหว่าง​ประเทศ ประกอบ​ไป​ด้วยส​ มาชิกจ​ าก​รัฐ​ต่างๆ 192 รัฐ​ทั่ว​โลกท​ ี่ม​ ีร​ ะบอบก​ ารเมือง เศรษฐกิจ สังคม​
และ​วัฒนธรรม​แตก​ต่าง​กัน บรรดา​รัฐ​สมาชิก​ทั้ง​หลาย​ก็​จะ​ส่ง​ผู้​แทน​ของ​รัฐ​ตน​ไป​ประจำ​ใน​สหประชาชาติ และ​ยัง​มี​
เจ้า​หน้าที่​ประจำ​สหประชาชาติ​อีก สหประชาชาติ​มี​วัตถุประสงค์​ที่​สำคัญ 4 ประการ ดัง​ระบุไ​ว้​ใน​มาตรา 1 ของ​กฎบัตร​
สหประชาชาติ คือ

       1.	 เพื่อ​ดำรง​ไว้​ซึ่ง​สันติภาพ​และ​ความ​มั่นคง​ระหว่าง​ประเทศ เพื่อ​ให้​บรรลุ​ถึง​เป้า​หมาย​ดัง​กล่าว​นี้ ประเทศ​
สมาชิก​จะ​ดำเนิน​การ​ร่วม​กัน​เพื่อ​ป้องกัน​และ​ปราบ​ปราม​การ​รุกราน​หรือ​การก​ระ​ทำ​ใดๆ ก็ตาม​ซึ่ง​เป็นการ​คุกคาม​
สันติภาพ ถ้า​เกิด​กรณี​พิพาทใ​ด ซึ่ง​จะเ​ป็น​ภัย​ต่อ​สันติภาพแ​ ล้ว​จะ​ให้​มี​การแ​ ก้ไขห​ รือ​ทำความต​ กลง​กัน​โดยส​ ันติ​วิธี โดย​
ถือค​ วามย​ ุติธรรม​และ​กฎหมาย​ระหว่าง​ประเทศ​เป็นห​ ลัก

       2.	 เพื่อ​ส่ง​เสริม​สัมพันธไมตรี​ระหว่าง​ประเทศ​โดย​ถือ​ความ​เสมอ​ภาค​และ​สิทธิ​ที่​จะ​เลือก​วิธี​การ​ปกครอง​ของ​
ตนเ​ป็นห​ ลัก และ​การใ​ช้ว​ ิธีก​ าร​อื่นท​ ี่​เหมาะ​สม​เพื่อ​ธำรงร​ ักษาส​ ันติภาพใ​ห้​มั่นคง​สืบไป

       3.	 เพื่อ​ส่ง​เสริม​ความ​ร่วม​มือ​ระหว่าง​ประเทศ​ใน​การ​แก้ไข​ปัญหา​เศรษฐกิจ สังคม​และ​วัฒนธรรม สนับสนุน​
ให้ท​ ุกช​ าติเ​คารพใ​นส​ ิทธิแ​ ละเ​สรีภาพข​ อง​มวลม​ นุษย์​โดย​ไม่​คำนึงถ​ ึง​เชื้อ​ชาติ เพศ ภาษา หรือศ​ าสนา และ

       4.	 เพื่อ​เป็น​ศูนย์กลาง​ประสาน​งาน​ของ​ประเทศ​ต่างๆ ให้​บรรลุ​ตาม​ความ​มุ่ง​หมาย​ร่วม​กัน สหประชาชาติ​
ประกอบ​ด้วย​องค์กร​หลัก​และ​องค์กร​รอง ใน​มาตรา 7 ของ​กฎบัตร​สหประชาชาติ ระบุ​ว่า องค์กร​หลัก คือ​องค์กร​
ที่​กำหนด​โดย​กฎบัตร​สหประชาชาติ ประกอบ​ไป​ด้วย 6 องค์กร​หลัก ได้แก่ สมัชชา​ใหญ่ คณะ​มนตรี​ความ​มั่นคง
คณะ​มนตรีเ​ศรษฐกิจแ​ ละ​สังคม คณะ​มนตรี​ภา​วะท​ รัสต​ ี ศาล​ยุติธรรม​ระหว่างป​ ระเทศ และส​ ำนัก​เลขาธิการ

         38 Daniel Dormoy, Droit des Organisations Internationales, Dalloz, Paris, 1995 ดู​เพิ่ม​เติม ขจิต จิตต​เส​วี อ้าง​แล้ว หน้า
102-103

         39 เพิ่ง​อ้าง หน้า 106

                             ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221