Page 217 - สังคมโลก
P. 217
องค์การระหว่างป ระเทศ 8-23
สมชั ชาใหญ่ (General Assembly) ประกอบไปด ว้ ยผ ูแ้ ทนไมเ่กนิ 5 คนจ ากร ฐั ส มาชิกท กุ ร ฐั ข องส หประชาชาติ
แต่มีสิทธิลงคะแนนเสียงได้เพียงเสียงเดียว โดยปรกติจะมีการประชุมสามัญปีละครั้ง แต่ก็สามารถประชุมสามัญ
เป็น 2 ครั้งได้ในก รณีจ ำเป็น เช่น ในป ี ค.ศ. 1946 และ 1958 มีการป ระชุมพิจารณาป ัญหาค าเมร ูนที่อยู่ภายใต้ภาวะ
ทรัสต ีข องฝ รั่งเศส เป็นต้น นอกจากน ี้ม กี ารป ระชุมส มัยว ิสามัญซ ึ่งส ามารถเรียกป ระชุมได้โดยเลขาธิการส หประชาชาติ
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เลขาธิการจะเรียกประชุมสมัยวิสามัญตามคำขอของคณะมนตรีความมั่นคงหรือเสียง
ส่วนใหญ่ข องรัฐสมาชิกในส มัชชาใหญ่ ในสมัยป ระชุมสมัชชาใหญ่จะมีก ารป ระชุมแบบเต็มค ณะ (Plenary session)
หรือประชุมร ะดับคณะกรรมาธิการ (Committee session) ก็ได้ โดยที่คณะกรรมาธิการจะรับผ ิดชอบปัญหาเฉพาะ
ด้านเพื่อกลั่นกรองก่อนจะเข้าสู่การประชุมใหญ่ของสมัชชาใหญ่ การรับรองมติของสมัชชาใหญ่ใช้วิธีลงคะแนนเสียง
ตามกฎบัตร มาตรา 18 กำหนดให้รัฐสมาชิกทุกรัฐมีคะแนนเสียงหนึ่งเสียงเท่ากัน คำวินิจฉัยของสมัชชาใหญ่ใน
ปัญหาสำคัญต ้องอ าศัยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของส มาชิกที่มาประชุมและออกเสียงคำว ินิจฉัยในปัญหาอ ื่นๆ อาศัยเสียง
ข้างมากของส มาชิกท ี่มาป ระชุมและอ อกเสียง40
คณะม นตรีความม ั่นคง (Security Council) เป็นอ งค์กรหลักท ี่ส ำคัญองค์กรหนึ่งในสหประชาชาติ มีหน้าท ี่
รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรดำเนินไปด้วยความสะดวก
รวดเร็ว และต่อเนื่อง คณะมนตรีความมั่นคงประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนจำกัดอันประกอบไปด้วยสมาชิกถาวร
5 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศจากบรรดารัฐ
สมาชิกต่างๆ ที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาโดยสมัชชาใหญ่ลงคะแนนเสียง 2 ใน 3 และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี โดย
ครึ่งหนึ่งของสมาชิกไม่ถาวรจะมีการผลัดเปลี่ยนทุกปีทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกไม่ถาวรมีอำนาจเท่ากับมหา-
อำนาจท ี่เป็นส มาชิกถ าวร คณะม นตรีค วามม ั่นคงม ีบ ทบาทแ ละอ ำนาจห น้าที่ท ี่ส ำคัญอ ย่างม ากในท างการเมืองร ะหว่าง
ประเทศ กล่าวคือคำตัดสินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) มีผลบังคับทางกฎหมายกับ
บรรดารัฐสมาชิกมากกว่าสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่มีอำนาจเพียงให้คำแนะนำ (Recommendation) แก่
บรรดารัฐสมาชิกเท่านั้น41
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ
จากประเทศผู้แทนจาก 5 ทวีปโดยผ่านการเลือกจากสมัชชาใหญ่ มีวาระ 3 ปี โดย 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกคือ
18 ประเทศจะถูกจ ับฉลากออกแต่จ ะสามารถลงส มัครเลือกตั้งแ ละกลับเข้ามาในวาระต่อเนื่องได้อีก คณะมนตรีและ
เศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยคณะกรรมาธิการประจำ คณะกรรมาธิการภูมิภาค และองค์กรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
อื่นๆ42 มกี ารป ระชุมอ ย่างน ้อยป ลี ะ 2 ครั้งโดยจ ะพ ิจารณาป ัญหาต ่างๆ ระหว่างป ระเทศด ้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
การศึกษา อนามัย และอื่นๆ อีกทั้งยังให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐ านแ ก่ประชาชน
คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) คณะมนตรีภาวะทรัสตีเคยเป็นหนึ่งในองค์กรหลักของ
สหประชาชาติมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนบางแห่งได้พัฒนาตนเองขึ้นจนสามารถ
ปกครองตนเองได้หรือจนได้รับเอกราช ดินแดนในภาวะทรัสตี มาตรา 77 ในกฎบัตรสหประชาชาติ ได้กำหนดไว้ 3
ประเภทค ือ ประเภทแรก ดินแ ดนท ี่อ ยู่ภ ายใต้อ าณัติ (mandate) ของส ันนิบาตช าติ ประเภทที่ส อง ดินแ ดนท ี่แ ยกอ อก
มาจากรัฐศัตรูภายหลังสงครามโลกค รั้งที่ 2 และประเภทท่ีสาม ดินแดนที่รัฐปกครองอ ยู่ยินยอมม อบให้อยู่ในภาวะ
40 รุ่งพงษ์ ชัยนาม หน่วยที่ 10 สหประชาชาติ เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยส ุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี 2530 หน้า 774
41 Diane ÈTHIER, op.cit, p. 89.
42 ดูเพิ่มเติม รุ่งพ งษ์ ชัยนาม เพิ่งอ ้าง หน้า 780-782 และ http://www.un.org/en/ecosoc/about/subsidiary.shtml
ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช