Page 229 - สังคมโลก
P. 229
องค์การระหว่างประเทศ 8-35
เช่น การเกษตรของประเทศด้อยพัฒนายังใช้วิธีการที่ล้าหลัง การพึ่งพากับสภาพตามธรรมชาติมากเกินไปทำให้
ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอ การขาดการศึกษา การเชื่อในสิ่งที่เร้นลับ การขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาปรับปรุง
ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง สภาพทางสังคมไม่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการเมืองขาดเสถียรภาพทำให้การ
พัฒนาเศรษฐกิจท ำได้ยาก
ประเทศท พี่ ัฒนาแ ลว้ แ ละก ำลังพ ัฒนาจ ึงร ว่ มก นั เข้าม าใหค้ วามช ว่ ยเหลือเพือ่ ห าท างแ กไ้ ขป ัญหา ส่งเสรมิ ค วาม
เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สวัสดิการความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทั้งในระดับสากลและภูมิภาค ดังนั้น องค์การ
ระหว่างประเทศโดยเฉพาะส หประชาชาติจึงได้เข้าม าม ีบทบาทในการพ ัฒนาเศรษฐกิจในหลายล ักษณะด ังนี้
การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ สหประชาชาติได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปีในรูปแบบของ
เงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า องค์กรสำคัญคือโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (Unitied Nations
Development Program: UNDP) ได้ร ่วมม ือกับบ รรดาร ัฐสมาชิกมากกว่า 170 ประเทศ รวมถ ึงองค์กรรองภ ายใน
สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ ในการวางแผนดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจในด้าน
การเกษตร อุตสาหกรรม การศึกษาและสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่มีความ
แตกต่างกันอ อกไป นอกจากน ี้ย ังช่วยถ ่ายท อดเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ก ับป ระเทศด ้อยพัฒนา ช่วยในการฝ ึกอบรมด ้าน
บุคลากร การจัดการด้านเทคนิค ให้ทุนการศ ึกษาเพื่อการวิจัยแ ละพัฒนาง านด ้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
การให้การสนับสนุนด้านการเงิน สหประชาชาติให้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านทางธนาคารโลกและ
กองทุนก ารเงินระหว่างป ระเทศ (IMF) องค์กรเหล่าน ี้ท ำหน้าที่ให้ก ู้ยืมแก่ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาเพื่อนำ
เงินไปใช้ในการพัฒนาประเทศโดยมีอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อประโยชน์และมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่น ส่วนใน
ด้านก ารค ้าแ ละก ารพ ัฒนา สหประชาชาติได้ด ำเนินก ารผ ่านก ารป ระชุมว ่าด ้วยก ารค ้าแ ละก ารพ ัฒนา (United Nations
Conference on Trade and Development : UNCTAD) เพื่อเป็นเวทีป รึกษาห ารือระหว่างป ระเทศเพื่อการค้าและ
การพัฒนา
นอกจากนี้ยังมีองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคที่มีบทบาทด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเหล่านี้ได้เช่นกัน
ในยุโรปมีองค์การเพื่อการพัฒนาและร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Cooperation and
Development: OECD) และกองทุนเพื่อการพัฒนายุโรป (European Development Fund) เพื่อให้ความ
ช่วยเหลือเพื่อก ารล งทุนด ้านโครงสร้างพ ื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมถึงให้การช่วยเหลือด้านก ารพัฒนาด ้านเทคนิคและ
การจัดการด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาก็มีพันธมิตรเพื่อความ
ก้าวหน้า (Alliance for Progress) เพื่อช่วยด้านก ารล งทุน การพ ัฒนาส ังคม และการดำเนินธ ุรกิจในภ ูมิภาค ส่วนใน
เอเชียมีอ งค์การร ะหว่างป ระเทศด้านเศรษฐกิจท ี่ส นับสนุนระบบเศรษฐกิจแ ละก ารพัฒนา เช่น ธนาคารเพื่อการพ ัฒนา
แห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) องค์กรค วามร ่วมม ือท างเศรษฐกิจในต ะวันออกกลางแ ละเอเชียก ลาง
(Economic Cooperation Organisation: ECO) และอ าเซียนในก รอบข องป ระชาคมเศรษฐกจิ แ หง่ อ าเซยี น (ASEAN
Economic Community : AEC) เป็นต้น
ดังนั้น บทบาทของอ งค์การร ะหว่างประเทศน ับวันย ิ่งมีบทบาทด ้านเศรษฐกิจมากย ิ่งขึ้น เพราะร ัฐไม่สามารถ
อยู่ลำพังโดยไม่พ ึ่งพาด ้านเศรษฐกิจจ ากร ัฐอ ื่น จึงจ ำเป็นต ้องอาศัยความร ่วมม ือเพื่อประสานนโยบายของรัฐต่างๆ เข้า
ด้วยกันเพื่อสร้างเสถียรภาพของเงินตราและการดำเนินการด้านเศรษฐกิจในกรอบขององค์การระหว่างประเทศทั้งใน
ระดับสากลและภ ูมิภาค
ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช