Page 154 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 154

12-10 การจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ

2. 	 ชนิดและพันธุม์ ะลิทพ่ี บในประเทศไทย

       มะลิทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 200 ชนิด มีทั้งชนิดเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย ใบอาจจะเป็นใบเดี่ยวหรือ
ใบรวม ดอกอาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อดอกก็ได้ ในประเทศไทยพบว่ามีอยู่ 45 ชนิด ในจำ�นวนนี้เป็นชนิดพื้นเมือง
อยู่ 25 ชนิด มะลิที่เราพบเห็นกันมาก ได้แก่ มะลิลา มะลิลาซ้อน มะลิซ้อน มะลิถอด มะลิพิกุลหรือมะลิฉัตร มะลิ
พวง มะลิเลื้อย มะลิวัลย์ พุทธชาด ปันหยี เครือไส้ไก่ อ้อยแสนสวย มะลิทะเล และมะลิเขี้ยวงู นอกจากนี้ยังมีมะลิ
ชนิดอื่นอีก เช่น มะลิไส้ไก่ มะลิฝรั่ง มะลิย่าน มะลิเถื่อน เป็นต้น มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันคือ มะลิลา เชื่อ
ว่ามะลิลาไม่สามารถผสมในสายพันธุ์เดียวกันได้ (self-incompatibility) จึงจำ�เป็นต้องผสมข้ามต่างสายพันธุ์ หรือ
ต่างพันธุกรรม (cross pollination) เป็นเหตุให้มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีสัณฐานวิทยาแตกต่างกัน และมีชื่อเรียก	
แตกต่างกันไปตามถิ่นกำ�เนิด

       แม้ว่าในประเทศไทยจะมีมะลิมากมายหลายชนิดก็ตาม แต่ที่นิยมปลูกกันเป็นการค้าในปัจจุบันก็คือ มะลิลา	
ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac สำ�หรับพันธุ์มะลิลาที่นิยมปลูกเป็นการค้ากันมากมี 3 พันธุ์ด้วยกัน คือ
พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร การจำ�แนกพันธุ์มะลิลาค่อนข้างยาก เนื่องจากมีลักษณะภายนอก
แตกต่างกันไม่ชัดเจน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมะลิลาเป็นพืชที่ไม่ติดเมล็ด วิธีการกระจายพันธุ์จึงเป็นการขยายพันธุ์แบบ
ไม่ใช้เพศ ดังนั้นความแตกต่างของพันธุ์มะลิลา อาจเกิดจากการตอบสนองของต้นพันธุ์ต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
หรือการกลายพันธุ์จากส่วนของกิ่งหรือตาข้างที่เรียกว่าไดเมอรา ทำ�ให้เกิดความสับสนในการจำ�แนกพันธุ์ อย่างไร
ก็ตามมะลิลาทั้ง 3 พันธุ์ต่างก็เป็นพันธุ์ดั้งเดิมทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันพอสังเกตได้ ส่วนพันธุ์
ไหนจะได้รับความนิยมมากกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำ�ไปใช้งานและความนิยมของท้องถิ่น เช่น	
ถ้าต้องการมะลิลาดอกเล็ก ปลายเรียวแหลม เหมาะสมกับการนำ�มาร้อยมาลัย ก็ใช้พันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร
แต่ถ้าต้องการมะลิลาดอกใหญ่ ปลายดอกบาน ก็ใช้พันธุ์แม่กลอง เป็นต้น

       พันธุ์แม่กลอง เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะทรงต้นและพุ่มต้นใหญ่ หนาดกและทึบ เจริญเติบโตเร็วใบมีขนาดใหญ่
และหนา ใบมีสีเขียวเข้มเกือบดำ�  รูปทรงใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน ช่วงข้อใบห่างดอกใหญ่และกลม ลักษณะ	
ช่อดอกมักมี 1 ชุด ชุดละ 3 ดอก พันธุ์แม่กลองจะให้ปริมาณดอกน้อยกว่าพันธุ์ราษฎร์บูรณะและพันธุ์ชุมพร

       พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ลักษณะทรงพุ่มเล็กกว่าพันธุ์แม่กลองแต่พุ่มค่อนข้างทึบ ใบมีขนาดเล็กบางมีสีเขียวไม่
เข้ม รูปใบเรียวช่วงใบค่อนข้างถี่ ดอกมีขนาดเล็ก เรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมี 1–2 ชุด ชุดละ 3 ดอก เป็นพันธุ์
ที่ให้ดอกดก โดยจะทยอยให้ดอกเรื่อยๆ

       พันธุ์ชุมพร มีลักษณะทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดูโปร่งกว่าเล็กน้อย ใบมีลักษณะคล้ายพันธุ์
ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า มีช่วงข้อใบถี่ ลักษณะดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะคือมีขนาดเล็ก
เรียวแหลม ลักษณะช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุดๆ ละ 3 ดอก เป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดกมาก แต่จะทิ้งระยะห่างเป็นช่วงๆ

                             ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159