Page 158 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 158

12-14 การจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ

       2.4 	การกำ�จัดวชั พืช  วชั พืชที่สง่ ผลตอ่ การเจรญิ เตบิ โต และตอ่ การใหผ้ ลผลิตดอกมะลิ คือ วัชพชื ข้ามปี เช่น
แห้วหมู หญ้าหวาย หญ้าคา ซึ่งหากระบาดรุนแรงแล้ว ทำ�ให้ระบบรากถูกรบกวน ผลผลติ ลดลงอยา่ งมากโดยเฉพาะถ้า
กำ�จัดภายหลังการปลูกมะลิ ทำ�ให้รากมะลิเสียหาย การเจริญเติบโตทางลำ�ต้นชะงัก และถ้าใช้สารเคมีจะส่งผลกระทบ	
ในลักษณะเดียวกันด้วย ดังนั้น ควรกำ�จัดวัชพืชข้ามปีให้หมดสิ้นในขั้นตอนการเตรียมดิน แต่ถ้าหากมีวัชพืชขึ้น
รบกวนในระยะหลังจากปลูกลงแปลงแล้วจะต้องทำ�การกำ�จัด เพราะวัชพืชต่างๆ เหล่านั้นจะคอยแย่งนํ้า และอาหาร
จากต้นมะลิ การปล่อยให้แปลงปลูกรกรุงรังจะเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงที่จะทำ�ลายต้นมะลิอีกด้วย การกำ�จัด
วัชพืชในสวนมะลิที่นิยมทำ�กันมี 2 วิธี คือ หากปลูกมะลิจำ�นวนไม่มากนักจะกำ�จัดวัชพืชด้วยการใช้จอบหรือเสียมขุด
บริเวณระหว่างต้นและระหว่างแถว แต่จะต้องระวังอย่าให้โดนรากของมะลิ และสำ�หรับกรณีที่ปลูกมะลิเป็นการค้าจำ�
นวนมากๆ ชาวสวนนิยมใช้สารเคมีกำ�จัดวัชพืชชนิดสัมผัส ไม่เลือกทำ�ลาย คือ สารพาราควอท พ่นระหว่างต้นและ
ระหวา่ งแถวเมือ่ วชั พชื เกดิ ขึน้ จ�ำ นวนมาก โดยพยายามไมใ่ หล้ ะอองสารเคมกี ระเดน็ ไปโดนใบและตน้ มะลิ ดงั นัน้ วธิ กี าร	
ที่ดีที่สุดควรตัดแต่งกิ่งและใบใต้ต้นทรงพุ่มให้โปร่ง และมีความสูงของทรงพุ่มเหมาะสมกับลักษณะที่เกษตรกรจะ
ปฏิบัติงานได้ง่ายและสะดวก

       2.5 	การป้องกันกำ�จัดโรคและแมลงศัตรูมะลิ โรคและแมลงศัตรูที่ทำ�ความเสียหายให้กับมะลิตั้งแต่เริ่ม
ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งในแต่ละระยะการเจริญเติบโตของมะลิจะเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช
เข้าทำ�ลายที่แตกต่างกันไป โรคและแมลงศัตรูที่ทำ�ความเสียหายให้กับมะลิ มีดังนี้

            2.5.1 โรคมะลิที่สำ�คัญ  ได้แก่
                1) โรคแอนแทรกโนส สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotricum sp.
                ลกั ษณะอาการ จะมจี ดุ สนี ํา้ ตาลออ่ นบนใบและลกุ ลามออกไป ขอบแผลเปน็ สนี ํา้ ตาลแกเ่ หน็ ไดช้ ดั 	

แผลทีข่ ยายกวา้ งออกไปมลี กั ษณะเปน็ รอยวงกลมซอ้ นกนั เนือ้ เยือ่ ขอบแผลแหง้ กรอบ เวลาอากาศชืน้ บรเิ วณตรงกลาง
แผลจะพบสปอร์เกิดขึ้นเป็นหยดสีส้มอ่อนๆ ขนาดของแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตจ�ำ กัด จนดูเหมือนเป็นโรคใบแห้ง
แต่ในที่สุดใบที่เป็นโรคนี้ก็จะแห้งและร่วงหล่นไป

                การป้องกันกำ�จัด ทำ�ได้โดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำ�จัดเชื้อราสัก 2-3 ครั้ง โรคก็จะ	
หยุดไปเอง สารเคมีที่ใช้ได้ผล ได้แก่ แมนโคเซ็บ และซีเน็บ เป็นต้น

                2) โรคต้นเน่าแห้ง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc.
                ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคจะมีอาการใบเหลืองทั้งต้น เหี่ยวและร่วงในเวลาต่อมาจนเหลือแต่
ต้นและกิ่ง รากเน่า ต้นแห้งตาย เมื่อขุดขึ้นมาดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่บริเวณโคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว และพบ
ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรามีลักษณะเป็นเม็ดกลมขนาดเล็ก มีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีนํ้าตาลดำ�อยู่บนเส้นใยดังกล่าวมี
ลักษณะคล้ายเมล็ดผักกาด โรคนี้มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรดและพื้นที่ที่ปลูกมะลิซํ้ากันเป็นเวลานาน
                การป้องกันกำ�จัด เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนไปเผาทำ�ลายเสีย และดินในหลุมที่เป็นโรคก็ควร
จะขุดไปเผาด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วจะทำ�ให้โรคลุกลามไปยังต้นอื่นๆ ได้ง่ายโดยการระบาดไปในดินปลูก หลังจากนั้น	
ใช้ปูนขาวและใช้สารเคมี พีซีเอ็นบี เช่น เทอร์ราคลอซุปเปอร์เอ็กซ์ ราดลงไปในดิน
                3) โรคใบด่าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นแมลงพาหนะนำ�โรค
                ลักษณะอาการ ใบอ่อนของต้นมะลิมีอาการด่างสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่มองเห็นได้ชัดเมื่อส่อง
ดูกับแสงแดด แต่ใบแก่จะมองเห็นอาการของโรคไม่ชัดนัก
                การป้องกันกำ�จัด ใช้สารเคมีฉีดพ่นป้องกันกำ�จัดแมลงพาหะและหลีกเลี่ยงการนำ�ท่อนพันธุ์ที่
เป็นโรคไปปลูก

                             ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163