Page 157 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 157

การจัดการการผลิตไม้เด็ดดอก 12-13

เคล้าลงในดินให้เข้ากัน แล้วใส่ดินที่ผสมนั้นลงไปในหลุมปลูก โดยให้ดินในหลุมปลูกสูงกว่าปากหลุมประมาณ 10-15
เซนติเมตร แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จึงนำ�เอาต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก ซึ่งการเตรียมดินในหลุมปลูกให้มีอินทรีย
วัตถุและธาตุอาหารเพียงพอนั้น จะทำ�ให้การปลูกมะลิได้ผลดี

       1.2 การปลูก โดยนำ�ต้นพันธุ์มะลิมาวางไว้ที่ปากหลุมจนครบทุกหลุม แล้วใช้เสียมแหวกดินในหลุมปลูกให้
เป็นหลุมพอที่จะใส่ต้นพันธุ์ได้ จากนั้นฉีกถุงออกโดยไม่ให้ถุงแตกหรือรากต้นมะลิขาด วางต้นพันธุ์ลงปลูกที่กลาง
หลุมให้ต้นตั้งตรง แล้วใช้ดินกลบและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นยึดไม้หลักกับต้นพันธุ์มะลิด้วยเชือก เพื่อ
ป้องกันต้นพันธุ์มะลิโยก หลังจากปลูกเสร็จรดนํ้าให้ชุ่ม

2. การดูแลรักษา

       2.1 ระบบการให้นํ้า นํ้าเป็นสิ่งจำ�เป็นมากสำ�หรับการปลูกมะลิ เนื่องจากมะลิเป็นพืชที่ต้องการนํ้ามาก
พอสมควรคุณภาพนํ้ามีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6-7 แต่จะไม่ชอบนํ้าขัง เพราะจะทำ�ให้โคนเน่าและรากเน่าง่าย	
ดังนั้นก่อนปลูกมะลิควรได้พิจารณาหาแหล่งนํ้าให้เพียงพอต่อความต้องการตลอดปี การรดนํ้ามะลิหลังจากปลูก
ใหม่ ควรรดนํ้าอย่างสมํ่าเสมอโดยรดในตอนเช้าทุกวันจนกว่าต้นมะลิจะตั้งตัวได้ ยกเว้นวันไหนที่ฝนตกไม่ต้องรดนํ้า	
หลังจากนัน้ ให้รดนํา้ ตามความจ�ำ เปน็ หากดนิ ยังแฉะอยูก่ ็ยังไมค่ วรรดนํา้ ควรรอจนกวา่ ดินแห้งหมาดๆ เสยี ก่อน ปกติ
มะลิไม่ชอบให้มีนํ้าท่วมหรือขังอยู่ในแปลงนานๆ เพราะจะทำ�ให้ต้นมะลิไม่สมบูรณ์ ใบเหลือง ลำ�ต้นแคระแกร็น และ
อาจตายได้ ดังนั้นเกษตรกรควรรดนํ้าให้มะลิทุกวันแต่ละครั้งที่ให้นํ้าไม่ควรให้มากเกินไปจนแฉะ หรืออาจจะรดนํ้า	
2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศแต่ต้องให้อย่างพอเพียงโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูแล้งสำ�หรับในระยะ
ที่มะลิเริ่มผลิใบใหม่ ระยะแทงช่อดอก และระยะพัฒนาการของดอกเป็นระยะที่มะลิมีความต้องการนํ้าอย่างยิ่ง หาก
มะลิขาดนํ้าในระยะดังกล่าวจะทำ�ให้ผลผลิตดอกลดลง ขนาดดอกเล็กลงหรืออาจจะไม่ให้ผลผลิตเลยก็ได้

       2.2 	การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยมะลิ นอกจากจะใส่ขณะเตรียมหลุมก่อนปลูกแล้ว เกษตรกรมักนิยมใช้ปุ๋ยเคมีที่มี
ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการคือ N-P-K ในสัดส่วนเท่ากับ 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหรือปริมาณที่จะให้ขึ้น
อยูก่ บั ขนาดของทรงพุม่ ใสเ่ ดอื นละครัง้ โดยการหวา่ นรอบทรงพุม่ แลว้ รดนํา้ ตามทกุ ครัง้ หรอื หวา่ นลงรอ่ งทีข่ ดุ เปน็ แถว
หรือขุดรอบชายพุม่ ต้นแล้วกลบปุ๋ยกอ่ นรดนํา้ ปรมิ าณการใส่ควรเพิ่มมากขึ้นตามขนาดทรงพุ่ม อัตราปุ๋ยปกติที่ใสม่ ะลิ
อายุ 2-3 ปี เท่ากับ 50 กรัมต่อต้น ใส่ทุก 2 เดือน ในฤดูร้อน และฤดูฝน สำ�หรับฤดูหนาวควรใส่ปุ๋ยทุกเดือน โดยใช้
ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กรัมต่อต้น ใส่สลับกับสูตร 15-15-15 ก่อนใส่ปุ๋ยควรงดให้นํ้าจนดินแห้งเต็มที่เสียก่อน
แล้วจึงใส่ปุ๋ยและรดนํ้าตาม นอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยนํ้า เช่น ปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุอาหารหลักเช่นที่กล่าวแล้ว	
หรือใช้ปุ๋ยที่ประกอบด้วยทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมด้วยแล้วจะส่งผลดีมากยิ่งขึ้น ผสมนํ้า
พ่นให้ใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะที่มะลิกำ�ลังพัฒนาดอก

       2.3 	การตดั แตง่ กิง่ การตดั แตง่ กิง่ เปน็ ปจั จยั ส�ำ คญั ในการชว่ ยปรบั เปลีย่ นกลไกเพือ่ ใหม้ ะลอิ อกดอก ดว้ ยการ
กอ่ ใหเ้ กดิ ตาดอกและพฒั นาเนือ้ เยือ่ เพือ่ การเจรญิ เตบิ โตไปเปน็ ดอกไดใ้ นทีส่ ดุ ดงั นัน้ การตดั แตง่ กิง่ จงึ ยงั มคี วามจำ�เปน็
อยู่ รูปแบบและช่วงเวลาของการตัดแต่งกิ่งควรน�ำ มาพิจารณาประกอบร่วมกัน สำ�หรับการคาดคะเนถึงกำ�หนดการ
และปริมาณที่ต้องการผลิต ปกติแล้วหลังจากปลูกมะลิไปประมาณ 1 ปี ขึ้นไป มะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย จึง
ควรทำ�การตัดแต่งกิ่ง ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งมะลิก็คือทำ�ให้ต้นโปร่ง ทรงพุ่มไม่แน่นทึบ การปฏิบัติดูแลง่าย ช่วย
ให้โรคและแมลงรบกวนน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น และให้ดอกมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวก
ในการปฏิบัติงานและเก็บดอก การตัดแต่งกิ่งมะลิควรทำ�ทุกปี และควรงดการให้นํ้าก่อนการตัดแต่งกิ่ง กิ่งที่ควรตัด
ออก ได้แก่ กิ่งแห้ง กิ่งตาย กิ่งแก่ กิ่งเลื้อย กิ่งที่เป็นโรค และกิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรตัดแต่งกิ่งให้โคนพุ่ม
ต้นโปร่งและสูงอยู่เหนือระดับพื้นดินประมาณ 45 เซนติเมตร หลังจากทำ�การตัดแต่งกิ่งแล้วควรพ่นสารเคมีป้องกัน
กำ�จัดเชื้อรา เพื่อป้องกันเชื้อเข้าทำ�ลายโดยผ่านทางบาดแผล

                              ลขิ สิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162