Page 68 - การเมืองการปกครองไทย หน่วยที่ 5
P. 68
5-58 การเมืองการปกครองไทย
สถาบันน ิติบัญญัติ ใช้ระบบรัฐสภา โดยประกอบด ้วย 2 โครงสร้างย ่อย คือ วุฒิสภา สมาชิก 100
คน มีวาระ 6 ปี เมื่อครบ 3 ปี ให้จับสลากออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้มีการแต่งตั้งใหม่ มีอำ�นาจหน้าที่ในการ
กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร และมีอำ�นาจในการควบคุมและตรวจสอบการทำ�งาน
ของค ณะรัฐมนตรีด ้วยวิธีก ารต ั้งก ระทู้ถามเท่านั้น อีกโครงสร้างหนึ่ง คือ สภาผู้แทนร าษฎร มีจ ำ�นวนร ะหว่าง
240-300 คน ตามส ัดส่วนป ระชากรที่ก ำ�หนดไว้ในกฎหมายเลือกต ั้ง ผู้สมัครร ับเลือกตั้งต ้องมีอายุ 25 ปีข ึ้น
ไป มีว าระด ำ�รงต ำ�แหน่ง 4 ปี อำ�นาจห น้าที่ส ำ�คัญค ือ การต ราก ฎหมาย และค วบคุมก ารบ ริหารร าชการแ ผ่นด ิน
ของรัฐบาล ตั้งแต่ก ารตั้งก ระทู้ถ ามแ ละก ารย ื่นญัตติข อเปิดอ ภิปรายเพื่อล งม ติไม่ไว้ว างใจค ณะรัฐมนตรีเป็น
รายบุคคลห รือท ั้งคณะ ทั้งนี้ ห้ามข้าราชการประจำ�ดำ�รงต ำ�แหน่งสมาชิกร ัฐสภาโดยเด็ดข าด
สถาบันบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยน ายกร ัฐมนตรี 1 คน และร ัฐมนตรีอ ีกไม่เกิน 30 คน
โดยนายกรัฐมนตรีต ้องเป็น ส.ส. และร ัฐมนตรีอ ีกไม่น้อยก ว่าก ึ่งห นึ่งต้องเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ประธานร ัฐสภา
เป็นผ ูล้ งน ามร ับส นองพ ระบรมร าชโองการแ ต่งต ั้งน ายกร ัฐมนตรี ห้ามข ้าราชการป ระจำ�ดำ�รงต ำ�แหน่งร ัฐมนตรี
โดยเด็ดขาด อำ�นาจหน้าที่หลักๆ ของค ณะรัฐมนตรี คือ การบริหารราชการแ ผ่นดิน โดยต ้องได้ร ับค วามไว้
วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้าบริหารงานด้วยคะแนนเสียงข้างมากของสภา และในการถ่วงดุลอำ�นาจ
กับส ภา คณะร ัฐมนตรีก็ส ามารถขอให้พระมหากษัตริย์ใช้พระร าชอ ำ�นาจย ุบส ภาผ ู้แทนราษฎรได้
สถาบันต ุลาการ นอกจากศาลย ุติธรรมท ี่บ ัญญัติให้ม ีอ ิสระในก ารพ ิจารณาพิพากษาอรรถค ดีท ั้งป วง
แล้ว รัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้มี “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” จำ�นวน 9 คน ที่ได้รับพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งโดยพระม หากษัตริย์แ ละจะต้องไม่เป็น ส.ว. ส.ส. ข้าราชการประจำ� และไม่สามารถด ำ�รงตำ�แหน่งใน
รัฐว ิส าหกิจใดๆ ด้วย ทำ�หน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่าก ฎห มายใดๆ ที่ผ ่านสภาขัดหรือแ ย้งกับร ัฐธรรมนูญห รือไม่
พรรคการเมือง มีบ ทบัญญัติให้ป ระชาชนทั่วไปสามารถจ ัดตั้งขึ้นได้ และต ่อม าก็ได้อ อกประกาศใช้
กฎหมายพรรคการเมือง ที่ถ ือเป็นก ฎหมายพ รรคการเมืองฉบับที่ 3 ของไทย ทำ�ให้การจัดตั้งพรรคการเมือง
มีลักษณะเป็นทางการ (ยกเว้นพรรคที่เคลื่อนไหว “ใต้ดิน” หรือในเขตชนบท คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย หรือ พคท. ถือเป็นพ รรคน อกก ฎหมาย) และในท างป ฏิบัตกิ ม็ ผี ูจ้ ัดต ั้งพ รรคการเมืองข ึ้นป ระมาณ
50 พรรค ก่อนถึงก ารเลือกตั้งท ั่วไป พ.ศ. 2518
การเลือกตั้งครั้งแ รกในรอบ 6–7 ปี ครั้งน ี้ยังคงให้ก ระทรวงมหาดไทยควบคุม และจ ัดการเลือกต ั้ง
แต่มีลักษณะเปิดกว้างกว่าใน พ.ศ. 2512 และพรรคการเมืองต่างๆ ก็มีแนวทางทางการเมือง หรือแม้แต่
ลักษณะของความค ิด ความเชื่อ หรือ “อุดมการณ์ท างการเมือง” (political ideology) แตกต ่างก ัน โดยอ าจ
แยกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มอนุรักษ์นิยม (Conservative Parties) กลุ่มก ้าวหน้าส ังคมนิยม และ
คอมมิวนิสต์ (Radical Parties) และกลุ่มสายก ลาง (Moderate Parties) และป รากฏว่าม ีพ รรคการเมือง
ในท ั้ง 3 กลุ่ม ได้รับเลือกต ั้งถ ึง 22 พรรค โดยส ่วนใหญ่อ ยู่ในก ลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มสายก ลาง รัฐบาล 2
กลุ่มใหญ่ ที่ตั้งขึ้นภายใต้นายกร ัฐมนตรี 2 คน จึงไม่ค ่อยมั่นคง และม ีการแ ย่งชิงอำ�นาจและผ ลป ระโยชน์กัน
อย่างรุนแรง ขณะท ี่กลุ่มพ ลังท างสังคมต ่างๆ ทั้ง “ซ้าย” และ “ขวา” ก็พ ยายามก ดดันรัฐบาลอ ย่างหนัก จน
เกิดการย ุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งท ั่วไปอ ีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 แต่ร ัฐบาลผสมก็อ่อนแอ
มากจนกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆ เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง และสุดท้ายคณะผู้นำ�ทหารก็ใช้กำ�ลัง
ทหารแ ละอาวุธเข้าย ึดอ ำ�นาจในการรัฐประหารค รั้งรุนแรงว ันท ี่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519