Page 71 - การเมืองการปกครองไทย หน่วยที่ 5
P. 71
โครงสร้าง และสถาบันการเมืองการปกครองของไทย 5-61
3. ภายใต้รฐั ธรรมนูญฯ พ.ศ. 2520
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็เกิดขึ้นจากผลของการรัฐประหาร โดยคณะผู้นำ�ทหารและข้าราชการกลุ่ม
เดียวกันกับปี 2519 เจตนารมณ์ต้องการให้เป็นฉ บับช ั่วคราว โดยเขียนบ ังคับไว้ว่า จะต ้องจ ัดท ำ�รัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ และจ ัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน พ.ศ. 2521 หรืออ ย่างช้าก็ค ือภายใน 120 วัน นับจ ากส ิ้นป ี
2521 ซึ่งถือเสมือนเป็นคำ�มั่นสัญญาของคณะรัฐประหารที่จะไม่สืบทอดอำ�นาจโดยไม่มีกำ�หนดเหมือนยุค
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ์ และจ อมพลถนอม กิตติข จร
โครงสร้าง และสถาบันทางการเมืองการปกครองหลักๆ ได้ยึดถือตามแบบอย่างของ “ต้นแบบ
เผด็จการ” รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2502 คือ มีบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในกรอบแคบๆ และ
เกี่ยวกับพระราชอำ�นาจในเชิงจารีตประเพณี เช่น การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภานิติบัญญัติ
เป็นต้น องค์กรนิติบัญญัติก็ค ือ “สภาน ิติบัญญัติแ ห่งชาติ” สมาชิกม าจากก ารแ ต่งต ั้ง จำ�นวน 300–400 คน
มีอำ�นาจหน้าที่จัดทำ�รัฐธรรมนูญและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ส่วนด้านบริหาร ก็มีนายกรัฐมนตรี
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง “ตามคำ�กราบบังคมทูลของประธานสภานโยบายแห่งชาติ” และในมาตรา 27
ได้บ ัญญัติให้อำ�นาจพ ิเศษที่มีล ักษณะร วมศ ูนย์อำ�นาจบ ริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ให้กับน ายกร ัฐมนตรี
เหมือนกับรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2515 และ พ.ศ. 2502 โดยกำ�หนดให้ผลย้อนหลังเหมือนกับ
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2515
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กำ�หนดให้มี “สภานโยบายแห่งชาติ” ประกอบด้วย บุคคลสำ�คัญจาก
คณะรัฐประหาร มีหัวหน้าคณะรัฐประหาร (พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่) เป็นประธาน มีอำ�นาจหน้าที่กำ�หนด
แ นวน โยบายแ ห่งรัฐ และให้ความค ิดเห็นแก่คณะรัฐมนตรีในการบ ริหารร าชการแผ่นดิน และร่วมประชุมก ับ
คณะรัฐมนตรีในกรณีท ี่น ายกร ัฐมนตรีให้ม ีก ารพ ิจารณาป ัญหาส ำ�คัญ
ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เลขาธิการคณะรัฐประหารได้เข้าดำ�รง
ตำ�แหน่งนายกร ัฐมนตรี จนถึงเดือนมีนาคม 2523 จึงป ระกาศล าออกจากก รณีป ัญหา “นํ้ามันแพง” บุคคล
สำ�คัญอีกคนหนึ่งในคณะรัฐประหารคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงได้เข้าดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี
ต่อเนื่องม าถ ึง 8 ปี 6 เดือน
4. ภายใตร้ ัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521
โครงสร้าง และสถาบันทางการเมืองการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งส่วนขององค์กร
ทางการเมืองตัวแทนประชาชนและเปิดทางให้ประชาชนใช้สิทธิ เสรีภาพในหลายๆ ด้านรวมทั้งผ่านการ
เลือกต ั้ง และในส ่วนที่เปิดทางให้ “อภิสิทธิ์ชน” คือ ทหารแ ละข้าราชการ ได้เข้าดำ�รงต ำ�แหน่งทางการเมือง
ทั้งในรัฐสภา และฝ ่ายบริหาร โดยไม่ต ้องผ่านการเลือกตั้ง หรือจำ�เป็นต้องก ่อต ั้งพ รรคการเมือง เหตุน ี้จึงอาจ
เรียกโครงสร้างท างการเมืองด ังก ล่าวน ีว้ ่า “กึ่งป ระชาธิปไตยแ ละก ึ่งอ ำ�มาต ย าธิปไตย” ได้ หรือโน้มเอียงจ ะเป็น
“กึง่ ป ระชาธิปไตยผ สมผ สานธ นาธปิ ไตย กงึ่ อ�ำ มาต ย าธปิ ไตย” เพราะน ักธ ุรกจิ และก ลุม่ ท นุ เข้าม าม บี ทบาทท าง
การเมืองโดยตรงมากขึ้น ส่วนสถาบันท างการเมืองการปกครอง ยังคงยึดหลักการระบบรัฐสภาท ี่เป็นสภาคู่
คณะรัฐมนตรี และร ะบบศาลเดียว รวมท ั้งกำ�หนดให้มีพรรคการเมืองข ึ้นทำ�หน้าที่ในโครงสร้างส่วนก ลาง