Page 32 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 32

4-22 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

และทิศทาง ซึ่งถ้ามีความสัมพันธ์กันในปริมาณสูงและทางบวก (r = .80 ขึ้นไป) แสดงว่าจำ�นวนวิชาที่เรียนมี
ความสัมพันธ์กับผลการสอนมาก

       การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มีลักษณะ ดังนี้
            1) 	 เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อตัดสินว่ามีความสัมพันธ์เกิดขึ้น

ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณสองตัวหรือมากกว่าหรือไม่ และในระดับใด
            2) 	 ขนาดของความสัมพันธ์พิจารณาได้จากขนาดของค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์
            3) 	 ถ้าตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กัน อาจแปลความหมายได้ว่า คะแนนที่ได้จากการวัด

ตัวแปรหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้จากการวัดตัวแปรอีกตัว
            4) 	 การมคี วามสมั พนั ธเ์ กดิ ขนึ้ ระหวา่ งตวั แปร ไมไ่ ดแ้ สดงถงึ ความเปน็ เหตแุ ละเปน็ ผลระหวา่ ง

ตัวแปร 2 ตัว
            5) 	 การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์เป็นการประมาณขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่าง

ตัวแปร
            6) 	 ยิ่งตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันสูง การทำ�นายที่ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง

2 ตัวยิ่งมีความถูกต้องมากขึ้น
       การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มีหลากหลายรูปแบบ และนักวิจัยทางการศึกษาส่วนใหญ่ทำ�วิจัยโดยใช้

รูปแบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ รูปแบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ที่ใช้กันมาก คือ การวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณ (multiple regression) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis) การวิเคราะห์ความ
สัมพันธ์อย่างง่าย (simple regression) การวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) และการวิเคราะห์พหุระดับ
(multilevel analysis)

            1.3.1 	การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่าย (simple regression) เช่น การวิเคราะห์ความ
สัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำ�หรับข้อมูลสองตัวที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ทิศทางของความสัมพันธ์พิจารณาจาก
เครื่องหมายของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คำ�นวณได้ เครื่องหมายที่เป็นบวก แสดงว่าตัวแปรทั้ง 2 ตัว มี
ความสมั พนั ธไ์ ปในทศิ ทางเดยี วกนั มคี วามแปรปรวนไปในทศิ ทางเดยี วกนั นัน่ คอื ผูท้ ีม่ คี า่ การวดั จากตวั แปร
หนึ่งสูง จะได้ค่าการวัดจากอีกตัวแปรสูงด้วย และผู้ใดที่มีค่าการวัดจากตัวแปรหนึ่งตํ่า ก็จะได้ค่าการวัดจาก
อีกตัวแปรหนึ่งตํ่าด้วย การจะเป็นเช่นนี้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ขนาดของความสัมพันธ์

       การพจิ ารณาความสมั พนั ธข์ องตวั แปรท�ำ ไดโ้ ดยการวาดภาพการกระจายของตวั แปรทัง้ สอง (scatter
plot) ดังภาพที่ 4.3 ซึ่งแสดงการกระจายของตัวแปรความพร้อมในการทำ�งาน (readiness) และศักยภาพ
(potential) ของสถานศึกษา (ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง คือ r = .161, p < 0.05) ซึ่งมีความสัมพันธ์
กันน้อย วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีจำ�นวนมาก การเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์จะขึ้นอยู่กับประเภทของ
ข้อมูล เช่น ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ จะใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างกัน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37