Page 62 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 62
4-52 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
เรือ่ งท่ี 4.4.1 หลักการจัดการศกึ ษาปฐมวัยตามอธั ยาศยั
การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่เด็กปฐมวัยเรียนรู้ เสริมสร้างเจตคติ ค่านิยม จาก
ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม และจากประสบการณ์ในชีวิตประจำ�วัน เป็นการจัดการศึกษาโดยจัดสภาพ
แวดล้อม ปัจจัยเกื้อหนุน สื่อ แหล่งเรียนรู้ และบุคคล เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส เป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการมีหลายรูปแบบ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลา
เรียนที่แน่นอน เป็นส่วนหนึ่งของการดำ�รงชีวิต จะเห็นได้ว่าการศึกปฐมวัยตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่
เป็นโอกาสสำ�คัญที่จะทำ�ให้เกิดความเจริญงอกงามขึ้นในตัวบุคล ดังที่ รัชนี ธงไชย (2553: บทนำ�) กล่าวถึง
ความสำ�คัญของเสรีภาพทางการศึกษาว่า ลำ�พังเพียงการปฏิรูปการศึกษาจากในระบบหรือโดยกระทรวง
ศึกษาธิการย่อมไม่เพียงพอ จำ�เป็นที่จะต้องอาศัยพลังการปฏิรูปจากภายนอกทุกๆ ภาคส่วนของสังคมด้วย
รวมทั้งลำ�พังรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักสูตร ตามมาตรฐานกลางไม่สามารถตอบสนองหลักการและ
จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปการศึกษา ไม่สามารถสร้างความเจริญงอกงามทั้งในตัวปัจเจกชนและสังคมโดย
รวมได้ บทเรียนจากนานาประเทศเห็นชัดเจนว่า หากขาดเสียซึ่งเสรีภาพทางการศึกษาก็ไม่อาจคาดหวังได้ถึง
เรื่องคุณภาพ จำ�เป็นจะต้องให้มีการศึกษาทางเลือกที่มีความแตกต่าง มีนวัตกรรมของการศึกษาเรียนรู้ตอบ
สนองต่อผู้เรียนทุกกลุ่ม และสามารถระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบ
การศึกษาของชาติได้อย่างแท้จริง
ทองอยู่ แก้วไทรฮะ (2554: 1-47-1-49) กล่าวถึงหลักการของการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้
1. การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และจัดบริการแก่ผู้เรียน ซึ่ง
ผู้เรียนสามารถเลือกและกำ�หนดวิธีการเรียน การแสวงหาความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง วิธีการนี้ผู้เรียน
สามารถนำ�ไปใช้ในระบบการศึกษาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียน (การศึกษาในระบบ) การเรียน
เป็นกลุ่ม การอบรม หรือการเรียนตามสถานการณ์ (การศึกษานอกระบบ) ผู้เรียนเลือกวิธีการเรียนการสอน
ด้วยตนเองในการศึกษาตามอัธยาศัย หลักการของการเรียนรู้โดยผู้เรียนกำ�หนดวิธีการเรียนด้วยตนเองเป็น
หัวใจของแนวคิดเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย
2. การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การเรียนการสอนที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ อุบัติขึ้น รวมทั้งที่ไม่ได้เกิด
ขึ้นด้วย เป็นการเรียนที่ไหนก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้
3. เนื้อหา หลักสูตรของการศึกษาตามอัธยาศัยไม่มีตายตัว หรือแน่นอนแบบการศึกษาระบบอื่นๆ
แม้ว่าจะมีขั้นตอนการเรียนการสอน การแสวงหาความรู้ การค้นหาคำ�ตอบ จัดว่าเป็นเพียงลำ�ดับขั้นในการ
เรียนที่ไม่มีการระบุชัดเจนแบบหลักสูตรทั่วๆ ไป เรียกว่า Non-curriculum
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน ในการศึกษาตามอัธยาศัยขึ้นอยู่กับผู้เรียนและ
การนำ�ไปใช้ให้เกิดประโยชน์