Page 63 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 63
รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-53
5. ผลการเรียนรู้สามารถสะสมผลการเรียนโดยอาจมีการจัดกระบวนการทดสอบ เพื่อออกใบรับ
รองผลสัมฤทธิ์ ที่สามารถสะสมและมาเทียบระดับกับการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบได้
6. การศึกษาตามอัธยาศัยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าและออกจากการศึกษา
ได้ตลอดชีวิต เป็นการเรียนด้วยประสบการณ์ (Experiential learning)
7. การศึกษาตามอัธยาศัยประกอบด้วยการเรียนรู้ที่อุบัติขึ้น (Accidental learning) การเรียนรู้ที่
เกิดโดยบังเอิญ (Unintentional learning) และวิธีการเรียนด้วยตนเอง (Individual learning)
จากหลักการของการศึกษาตามอัธยาศัยข้างต้น สามารถนำ�ไปปรับใช้เป็นหลักการในการจัดการ
ศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยได้ดังนี้
1. การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยเป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และการบริการส่งเสริม
การเรยี นรูแ้ กเ่ ดก็ ปฐมวยั ซึง่ เดก็ ปฐมวยั สามารถเลอื กและก�ำ หนดวธิ กี ารเรยี น การแสวงหาความรู้ ความเขา้ ใจ
ได้ด้วยตนเอง
2. การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัย คือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ อุบัติขึ้น รวมทั้งที่ไม่ได้เกิด
ขึ้นด้วย เป็นการเรียนที่ไหนก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้
3. เนื้อหา หลักสูตรของการศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยไม่มีตายตัว หรือแน่นอนแบบการศึกษา
ปฐมวัยระบบอื่นๆ
4. การวัดและประเมินการเรียนรู้ในการศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง และการนำ�
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันของเด็กเอง
สรุปได้ว่า การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยยึดหลักการจัดสภาพการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และการ
บริการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อที่จะสามารถเลือกและกำ�หนดวิธีการเรียนรู้ การแสวงหา
ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เรียนรู้ที่ไหนก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ด้วยวิธี
การใดๆ ก็ได้ เนือ้ หา หลักสูตรไม่มตี ายตวั หรอื แน่นอนแบบการศึกษาปฐมวยั ระบบอื่นๆ การวัดและประเมิน
การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับตัวเด็ก และการนำ�ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันของเด็ก