Page 16 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 16

9-6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย

เรอ่ื งท่ี 9.1.1 ความหมายของหลกั การใชภ้ าษาไทย

ความหมายของหลักภาษาไทย

       การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีการกำ�หนดวิชาที่สอน แยกเป็นวิชา
หลักภาษาไทย วิชาการใช้ภาษาไทย และวิชาวรรณคดีไทย ในช่วงเวลานั้นเราจึงเห็นหรือได้ยิน วลี “หลัก
ภาษาไทย” กับ “การใช้ภาษาไทย” แยกออกจากกัน

       ในอดตี หลกั ภาษาไทย มกี ารใชเ้ รยี กชอื่ ต�ำ ราภาษาไทย ในความหมายเดยี วกนั กบั ค�ำ วา่ ไวยากรณไ์ ทย
ดังปรากฏในอารัมภกถา ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) ครั้งแสดงปาฐกถาหลักภาษาไทย
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ซึ่งท่านได้กล่าวถึงตำ�ราภาษาไทยของท่าน คือ อักขรวิธี วจีวิภาค
วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ โดยเรียกว่า ตำ�ราไวยากรณ์ (ไวยากรณ์สยาม) บ้าง ตำ�ราหลักภาษาไทยบ้าง
เป็นต้น (พระยาอุปกิตศิลปสาร 2548: 11-14) นอกจากนี้ คำ�กล่าวของปรีชา ช้างขวัญยืน (ปรีชา ช้างขวัญ-
ยืน 2537: 32) ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อก่อนเรามีตำ�ราไวยากรณ์ไทยหรือหลักภาษาไทยที่ใช้เป็นมาตรฐานอยู่เล่ม
เดียว คือตำ�ราของพระยาอุปกิตศิลปสาร...” คำ�กล่าวนี้ช่วยยืนยันและแสดงให้เข้าใจได้ว่า หลักภาษาไทย กับ
ไวยากรณ์ไทย มีความหมายที่แทนกันได้

       ปราชญ์ทางภาษาไทยอีกท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า หลักภาษา คือวิชาที่ว่าด้วยระเบียบการใช้อักษร การ
เขียน การอ่าน การใช้คำ� ความหมายของคำ� การเรียงคำ� และที่มาของภาษา ซึ่งมีวิวัฒนาการไปในลักษณะ
ต่างๆ (กำ�ชัย ทองหล่อ 2550) ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับตำ�ราไวยากรณ์ เพราะตำ�ราไวยากรณ์นั้น ว่าด้วย
ระเบียบแบบแผนของภาษาที่เราใช้พูดจากัน

       ในช่วงเวลาต่อมา มีความนิยมใช้คำ�ว่า หลักภาษาไทย หรือเรียกสั้นๆ ว่า หลักภาษา มากกว่าการใช้
คำ�ว่า ไวยากรณ์ และคำ�ว่า ไวยากรณ์กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักภาษา ดังคำ�กล่าวของ ปรีชา ช้างขวัญยืน
โดยสรุปในทำ�นองที่ว่า ความรู้เรื่องไวยากรณ์มีหลากหลายแนวทางและมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่า
ไวยากรณ์กลายมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักภาษา (ปรีชา ช้างขวัญยืน 2537: 32) นอกจากนี้ในการอธิบาย
เรื่อง โครงสร้างทางภาษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักภาษาของปราชญ์ทางภาษาไทยบางท่าน ยังได้แจกแจงไว้
ว่า โครงสร้างทางภาษาประกอบด้วยส่วนสำ�คัญ 2 ส่วน คือ โครงสร้างทางไวยากรณ์ และโครงสร้างทางเสียง
แสดงว่า ไวยากรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของหลักภาษาเช่นกัน

       นภาลัย สุวรรณธาดา (นภาลัย สุวรรณธาดา 2539: 444) ได้ให้ความหมายของหลักภาษาไว้ค่อนข้าง
ชัดเจนอีกว่า “หลักภาษา คือระเบียบแบบแผนของภาษาที่กำ�หนดขึ้นเพื่อให้คนที่ใช้ภาษาเดียวกันใช้ภาษา
ในการสื่อสารได้ตรงกัน หากไม่มีหลักเกณฑ์ของภาษา ทุกคนก็จะใช้ภาษาอย่างไม่มีระเบียบ ผลก็คือ ความ
เข้าใจในการสื่อสารจะลดน้อยลง” หากแต่ความคิดเห็นของปรีชา ช้างขวัญยืน (ปรีชา ช้างขวัญยืน 2537: 32)
ที่ได้แสดงไว้ก่อนหน้านี้ว่า หลักภาษาเป็นข้อสังเกตมากกว่ากฎตายตัวของภาษา ทั้งท่านยังได้กล่าวไว้อย่าง
น่าสนใจอีกด้วยว่า “เราเรียนรู้ภาษาโดยไม่ได้เริ่มจากการเรียนหลักภาษา แต่เราเรียนจากการใช้ภาษา..”
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21