Page 19 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 19
กลวิธีเพื่อการเรียนการสอนหลักการใช้ภาษาไทยในระดับประถมศึกษา 9-9
ความส�ำ คญั ของหลักการใชภ้ าษาไทย
เมื่อพิจารณาถึง “หลักการใช้ภาษาไทย” ตามนัยแห่งความหมายที่กล่าวไว้ในเรื่องที่ 9.1.1 แล้ว
จะพบว่าหลักการใช้ภาษาไทยมีความสำ�คัญต่อการพัฒนาทักษะทางการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน
เป็นอย่างยิ่ง เพราะหากกระบวนการพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งการฟัง การดู การพูด การอ่าน และการเขียน
เป็นไปอย่างตั้งหน้าตั้งตาฝึกฝนไปเรื่อยๆ โดยอาศัยการจดจำ�ว่า คำ�ๆ นี้อ่านออกเสียงอย่างไร เขียนสะกด
อย่างไร ก็คงจะจดจำ�กันไม่ไหวเพราะมีคำ�ในภาษามาก แต่หากผู้เรียนได้ศึกษาหลักการสะกดคำ� หลักการ
ออกเสียงคำ�ที่ถูกต้อง ผู้เรียนก็จะสามารถนำ�หลักดังกล่าวไปเทียบเคียงกับคำ�ที่พบใหม่ๆ แล้วใช้หลักการ
เขียน หลักการอ่านที่ได้เรียนรู้มาแล้วนั้นมาเทียบเคียง เมื่อเห็นว่าเข้ากับแนวทางของหลักที่ได้ศึกษามาก็จะ
สามารถใช้ภาษา คือ อ่านและเขียนคำ�เหล่านั้นได้ถูกต้อง ที่ยกตัวอย่างมานี้แสดงให้เห็นความสำ�คัญของหลัก
การใช้ภาษาไทยได้ประการหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังมีผู้รู้ทางภาษาไทยได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใช้ภาษาควรรู้และเข้าใจลักษณะและโครงสร้างทาง
ภาษาของตน เพราะโครงสร้างของภาษาหรือไวยากรณ์ของภาษาเป็นสิ่งสำ�คัญมาก เนื่องจากเป็นระเบียบ
แบบแผนในการใช้ภาษาของคนในสังคม การไม่รู้ระเบียบแบบแผนของภาษาจนทำ�ให้ใช้ภาษาผิดไปย่อม
ทำ�ให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาขึ้นได้ ในทางตรงข้ามผู้ที่รู้ระเบียบแบบแผนของภาษาอย่างดี มักไม่มีความ
ผิดพลาดในการใช้ภาษา แม้อาจจะมีการใช้ภาษาผิดพลาดไปบ้างก็จะสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ในโอกาสที่
จะใช้ภาษาครั้งต่อๆ ไป
เรอ่ื งท่ี 9.1.3 ความสมั พันธ์ของหลกั ภาษาไทยกับการใช้ภาษาไทย
การเรียนการสอนภาษาไทยมุ่งเน้นการพัฒนาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คือการฟัง การ
พูด การอ่าน และการเขียนให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก ดังที่พบว่าผู้สอนภาษาไทยส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัติกัน
อย่างจริงจังมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ในหลักสูตรการศึกษาของชาติตลอดช่วงเวลากว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เช่น หลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรการศึกษาแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เกิดขึ้นใน
ชว่ งการปฏริ ูปการศกึ ษาของชาติ รอบทศวรรษที่ 1 ตอ่ เนือ่ งสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ดงั ทีป่ รากฏ
ว่าใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกำ�หนดสาระการเรียนรู้ไว้ 5 สาระ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การดู
และการพูด หลักการใช้ภาษาไทย และวรรณคดีและวรรณกรรมนั้นเป็นสิ่งที่แสดงเจตนาที่ชัดเจนในการปรับ
เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาให้แก่เยาวชนของชาติ ด้วยการพัฒนาทักษะการสื่อสารเป็นที่ตั้ง
การกำ�หนดสาระการเรียนรู้ภาษาไทยออกเป็น 5 สาระดังกล่าวทำ�ให้อาจมองไปได้ว่า สาระที่เกี่ยว
กับ หลักภาษาไทย จะไม่มีการนำ�มาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กันอีกแล้ว แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสาระ