Page 20 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 20
9-10 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
ที่เกี่ยวกับหลักภาษาไทยยังคงมีอยู่ ในสาระที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่เรียกว่า “หลักการใช้ภาษา
ไทย” นอกจากนี้ มาตรฐานการเรียนรู้และหรือตัวชี้วัดที่กำ�หนดไว้ในหลักสูตรดังกล่าวนั้นได้มีการสอดแทรก
เนื้อหาที่เป็นหลักภาษาไว้ในสาระอื่นๆ ด้วยอยู่แล้ว ทั้งสาระการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด
เป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการใช้ภาษาไปพร้อมๆ กันกับการเรียนรู้หลักทางภาษานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ หลักภาษาไทย ยังคงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิชาภาษาไทยอยู่
ตลอดมาและจะยงั คงสมั พนั ธ์เกี่ยวขอ้ งกันอยูอ่ กี ตลอดไป เพราะเนื้อหาสาระหลักภาษาไทยจะเป็นเครือ่ งชว่ ย
ให้กระบวนการพัฒนาทักษะทางการใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างมีหลักการ มีเหตุผล มีหลักวิชาเป็นเครื่องช่วย
ให้ผู้รับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยทุกด้านเกิดความเข้าใจ และการมีหลักช่วยในการใช้ภาษาย่อมจะ
ส่งผลให้การใช้ภาษาทุกด้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ หรือ
พูดง่ายๆ ก็คือจะสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล และสถานที่ รวมทั้ง
ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน หรือทั้งในบทบาทของการส่งสาร
และบทบาทของการรับสาร
ตัวอย่างของการพัฒนาทักษะทางการใช้ภาษาที่ต้องอาศัยสาระความรู้จากหลักภาษา ที่แสดงให้เห็น
ถึงความสัมพันธ์ของหลักภาษาไทยกับการใช้ภาษาไทยมีดังต่อไปนี้
ในการพัฒนาทักษะการฟัง อาจเกิดอุปสรรคปัญหาในการพัฒนาได้ เพราะลักษณะบางประการของ
ภาษาไทยอาจทำ�ให้กระบวนการพัฒนาทักษะการฟังเกิดขึ้นได้ยาก เช่น การมีคำ�พ้องเสียงในภาษาไทย การ
มีคำ�ที่เสียงใกล้เคียงกัน การมีคำ�ภาษาไทยท้องถิ่น การมีคำ�ราชาศัพท์ คำ�สุภาพ การมีสำ�นวนไทยและคำ�ที่
ใช้ความหมายโดยนัย รวมทั้งการมีคำ�ที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งลักษณะเฉพาะทางภาษาไทยที่กล่าว
มาเหล่านี้อาจทำ�ให้การพัฒนาทักษะการฟังเป็นไปได้ช้า สับสน ไม่สามารถสื่อความหมายตรงตามที่ต้องการ
ได้ แต่ความรู้ในเรื่องหลักภาษาสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะถ้าขณะที่มีการฝึกฝนทักษะการฟัง
ก็สามารถนำ�เอาเหตุผลเชิงวิชาการในเรื่องหลักการอ่านคำ�พ้องเสียง หลักการใช้คำ�ราชาศัพท์ หลักการอ่าน
ออกเสียงคำ�ประเภทต่างๆ เป็นต้น ที่ต่างก็เป็นสาระของหลักภาษาไทย หากมีอรรถาธิบายประกอบการฝึก
ทักษะการฟัง ก็จะทำ�ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและดำ�เนินการฝึกปฏิบัติไปได้ต่อเนื่องไม่ติดขัด ซึ่งย่อมจะ
สามารถขจัดปัญหาดังกล่าวได้อย่างสิ้นเชิงแน่นอน
ในการพัฒนาทักษะการพูด และการอ่านออกเสียงในฐานะผู้ส่งสารต่างก็ต้องเปล่งเสียงออกมาเป็น
ถอ้ ยค�ำ วลี ประโยค แตล่ กั ษณะเฉพาะของภาษาไทยทีม่ ี ค�ำ พอ้ งรปู กด็ ี ค�ำ ราชาศพั ทก์ ด็ ี ค�ำ ภาษาบาลี สนั สกฤต
และคำ�ในภาษาต่างประเทศอื่นๆ อีกก็ดี คำ�อักษรย่อก็ดี การใช้เสียงวรรณยุกต์ในคำ�ไทยก็ดี การใช้อักษร
ควบกลํ้า อักษรนำ� และเสียงตัว “ร” ตัว “ล” ก็ดี ล้วนอาจเป็นตัวแปรสำ�คัญในการสร้างปัญหาในการสื่อสาร
ด้วยการพูดและการอ่านออกเสียงได้ แต่ถ้าผู้เรียนได้รับการฝึกฝนเรียนรู้จดจำ�มาดีจนมีความรู้ความเข้าใจ
ในหลักการออกเสียงถ้อยคำ� วลีหรือประโยคเหล่านั้น ตามหลักภาษาไทยซึ่งเป็นตำ�ราที่ได้รวบรวมสาระ
เหล่านั้นไว้และผู้สอนได้นำ�มาสอดแทรกให้ความรู้ในขณะที่มีการฝึกทักษะดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา ปัญหา
เรื่องการพูดหรืออ่านออกเสียงผิดถ้อยคำ� ไม่ถูกอักขรวิธีก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งทำ�ให้การสื่อความหมายใน
กระบวนการสื่อสารสำ�เร็จได้ด้วยดีเช่นกัน