Page 17 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 17

กลวิธีเพื่อการเรียนการสอนหลักการใช้ภาษาไทยในระดับประถมศึกษา 9-7

ความคิดเห็นนี้สะท้อนให้ได้คิดว่า การพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับผู้เรียนตั้งแต่ระดับพื้นฐานนั้นไม่ควรเริ่ม
ด้วยการสอนหลักภาษาแต่ควรสอนการใช้ภาษาคือการมุ่งพัฒนาทักษะ การฟัง การพูด การดู การอ่านและ
การเขียน เป็นฐานก่อนซึ่งครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ต้องตระหนักเห็นความสำ�คัญในเรื่องนี้ไว้ด้วย เพราะ
“การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา ไม่มีการสอนหลักภาษากับเด็กโดยตรง แต่ให้เด็ก
ได้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอักษร วิธีประสมอักษร และวิธีใช้อักษรจากการใช้ภาษาโดยการฟัง พูด อ่านและ
เขียน” (เยาวพา เดชะคุปต์ 2535: 233)

       นอกจากนี้ ปรีชา ช้างขวัญยืน ยังได้แสดงความคิดเห็นไว้อีกว่า หลักภาษาเองก็สามารถที่จะเปลี่ยน
แปลงได้ ดังคำ�กล่าวของท่านที่ว่า “ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ที่ไปศึกษาในต่างประเทศมีความรู้เรื่องไวยากรณ์
เพิ่มขึ้น และได้ศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์มาต่างกัน ได้นำ�ทฤษฎีที่ตนเห็นว่าดีมาใช้ ทำ�ให้เกิดคำ�อธิบาย
ไวยากรณ์ไทยขึ้นหลายแนว..”

       จากความเปลี่ยนแปลงของ “หลักภาษา” ดังกล่าวมา ในปัจจุบันจึงมีการหลีกเลี่ยงการใช้คำ�ว่า หลัก
ภาษาเป็นชื่อวิชาในกลุ่มภาษาไทย โดยใช้ชื่ออื่นๆ แทน เช่น “ภาษาพาที” บ้าง “วิวิธภาษา” บ้าง และ “หลัก
การและการใช้ภาษา” บ้าง แม้แต่หนังสือที่สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้รวบรวม
นักปราชญ์ราชบัณฑิตทางภาษาไทยเขียนตำ�ราหลักภาษาขึ้นมาเผยแพร่ก็ได้ให้ชื่อชุดหนังสือนั้นว่า
“บรรทัดฐานภาษาไทย” ทั้งที่เนื้อหาสาระก็คือสาระทางหลักภาษาไทยนั่นเอง

       สำ�หรับวลี “การใช้ภาษาไทย” นั้น ประทีป วาทิกทินกร (ประทีป วาทิกทินกร 2514: 1) ได้อธิบาย
ไว้ในบทนำ�ว่า “การใช้ภาษา คือการสื่อสารทำ�ความเข้าใจกันโดยใช้ภาษาเป็นสื่อหรือเครื่องมือ ภาษาในที่นี้
หมายถึงภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งผู้ที่ต้องการสื่อสารจะส่งออกไปด้วยการพูดหรือการเขียน ส่วนผู้รับก็
จะรับด้วยการฟังและการอ่าน ดังนั้น การใช้ภาษาจึงย่อมหมายถึง การพูด การฟัง การเขียน และการอ่าน
ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน”

ความหมายของหลักการใช้ภาษาไทย	

       “หลักการใช้ภาษาไทย” น่าจะมีที่มาจากคำ�ว่า “หลักภาษา” รวมกับคำ�ว่า “การใช้ภาษาไทย” ซึ่งทั้ง
2 คำ� ต่างเป็นชือ่ เรยี ก “วิชา” หรือ “รายวชิ า” ในการจดั การเรยี นการสอนภาษาไทยของวงการศึกษาไทยระดับ
ต่างๆ มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่ผู้เรียนและผู้สอนภาษาไทยเป็นอย่างดีโดยไม่ต้องมีการ
ให้คำ�จำ�กัดความ ทั้งนี้โดยอาศัยการพิจารณาจากลักษณะเนื้อหาสาระที่ปรากฏอยู่ในแต่ละวิชานั่นเอง การ
เรียนการสอนในระดับกลางคือระดับมัธยมศึกษาที่ผ่านมาและระดับสูงคือในระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาและ
ในปัจจุบันจะพบว่า มีชื่อวิชาทั้ง 2 วิชานี้อย่างชัดเจน โดยแยกสอนเป็นวิชาๆ แต่ในการศึกษาระดับพื้นฐาน
คือ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในปัจจุบัน ปรากฏมีการใช้คำ�ว่า “หลักการใช้ภาษาไทย” แทนที่ ดัง
ตัวอย่างที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่จัดให้ “หลักการใช้ภาษา
ไทย” เป็น สาระหนึ่ง ในห้าสาระของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งมุ่งเน้นให้จัดการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการไปกับสาระวรรณคดีและวรรณกรรมรวมทั้งสอดแทรกในการพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งการฟัง
การพูด การดู การอ่านและการเขียนแบบสัมพันธ์ทักษะด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22