Page 23 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 23

กลวิธีเพื่อการเรียนการสอนหลักการใช้ภาษาไทยในระดับประถมศึกษา 9-13

ความน�ำ

       ทกั ษะการสือ่ สาร ไดแ้ ก่ ทกั ษะการพดู การฟงั การอา่ น และการเขยี น ซึง่ เปน็ เครือ่ งมอื ของการสง่ สาร
และการรับสาร การส่งสาร ได้แก่ การส่งความรู้ ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึกด้วยการพูดและการเขียน
ส่วนการรับสาร ได้แก่ การรับความรู้ ความเชื่อ ความคิด ด้วยการอ่านและการฟัง การฝึกทักษะการสื่อสาร
จึงเป็นการฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ให้สามารถรับสารและส่งสารอย่างมีประสิทธิภาพ
(กระทรวงศึกษาธิการ 2551: 68)

       หลกั สตู รวชิ าภาษาไทยระดบั การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน อนั ไดแ้ ก่ ระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษาเริม่
วางแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารมาตั้งแต่ หลักสูตร พ.ศ. 2521, 2524 หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2533 และมาเริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 รวมทั้งในหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ดังที่ปรากฏว่า หลักสูตรที่กล่าวตอนท้ายทั้ง 2 หลักสูตรนี้ ไม่ปรากฏมี
การแบง่ แยกเนือ้ หาวชิ าภาษาไทยออกเปน็ หลกั ภาษา การใชภ้ าษาและวรรณคดี เหมอื นแตก่ อ่ นมา  ซึง่ หลกั สตู ร
ระดับประถมศึกษาจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนมาก่อนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา ปัจจุบันเรียกรวม
กันเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจำ�แนกสาระการเรียนรู้ออกเป็น 5 สาระ ที่แสดงออกไปในทางที่
มุ่งเน้นเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ฝึกหัดการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้ง 1. การอ่าน 2. การเขียน 3. การฟัง การดู และ
การพูด (มีการดูในฐานะเป็นการรับสารเพิ่มขึ้นอีก 1 ทักษะ) 4. หลักการใช้ภาษาไทย และ 5. วรรณคดีและ
วรรณกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการกำ�หนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนไว้ว่าให้เป็นไปอย่างบูรณาการ
ทักษะต่างๆ กับสาระหลักการใช้ภาษาไทยและสาระวรรณคดีและวรรณกรรมด้วย

       สำ�หรับสาระหลักการใช้ภาษาไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทางภาษาไทย ซึ่งเรียกกันแต่เดิมว่า
“หลักภาษาไทย” อนั เปน็ สาระที่เน้นส่วนเนื้อหาน�ำ มาผนวกกบั เรือ่ งของการใชภ้ าษาไทยซึง่ เปน็ สาระทีเ่ น้นการ
ฝึกปฏิบัติเพื่อการสื่อสาร และเพื่อแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น กล่าวคือ การที่ผู้สอนมักสอนหลักภาษาเพื่อความรู้
ในเนื้อหามากเกินไป มิใช่สอนเพื่อนำ�มาใช้ประโยชน์ต่อปฏิบัติการการใช้ภาษาในชีวิตประจำ�วัน แต่โดย
ธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาต้องเรียนจากการใช้ภาษาไม่ใช่เรียนจากหลักภาษา (ปรีชา ช้างขวัญยืน 2537:
32) กระนั้นก็ตาม การพัฒนาการใช้ภาษาตามธรรมชาติด้วยการปฏิบัติ ทั้งการฟัง การอ่าน การพูด และการ
เขียน หากเป็นไปโดยได้รู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษาไปด้วยนั้นน่าจะย่อมได้ผล
ดีกว่าที่จะมุ่งฝึกปฏิบัติไปอย่างไร้หลักการใดๆ หลักการใช้ภาษาไทยจึงเป็นสาระที่ช่วยส่งเสริมหรือกระตุ้น
ให้เกิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะทางการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ทั้งทักษะ
การรับสารและทักษะการส่งสาร

       ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่อง สาระ
หลกั การใชภ้ าษาไทย ซึง่ ไดม้ กี ารก�ำ หนด มาตรฐานการเรยี นรูไ้ ว้ ใน มาตรฐาน ท 4.1 เขา้ ใจธรรมชาตขิ องภาษา
และหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28