Page 26 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย
P. 26

9-16 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย

เรอ่ื งท่ี 9.2.2 หลกั การใชภ้ าษาไทยกับการพัฒนาทักษะการสง่ สาร

       ทักษะการส่งสาร ได้แก่ การพูด การเขียน และการอ่าน (ออกเสียง) ส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงทักษะการ
ส่งสาร หลายคนมักจะลืมนึกถึงการอ่านออกเสียง อาจเป็นเพราะในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะทางการใช้
ภาษา เราเริ่มฝึกให้เด็กอ่านออกเสียงเป็นเบื้องต้น เมื่อเด็กมีความสามารถในการอ่านออกเสียงได้ซึ่งเป็น
เครื่องยืนยันได้ว่า เด็กคนนั้นอ่านหนังสือออกแล้ว นับว่าบรรลุวัตถุประสงค์เบื้องต้นของการอ่านในระดับ
หนึ่งแล้ว หลังจากนั้น แม้เราจะมีแนวทางในการฝึกฝนการอ่านออกเสียงให้มีพัฒนาการที่สูงขึ้น เช่น อ่านได้
แคล่วคล่องว่องไว ถูกต้องตามอักขรวิธีแล้วก็ตาม แต่เราก็มักเน้นในเรื่องของการอ่านที่ไม่ต้องออกเสียงหรือ
อ่านในใจ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการจับใจความสำ�คัญ การวิเคราะห์ การประเมินสิ่งที่อ่าน จนถึง
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสำ�คัญ ด้วยเหตุนี้การอ่านออกเสียงจึงถูกมองข้ามไป

       การอ่านออกเสียงเพื่อส่งสารที่พบเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การอ่านรายงานข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจได้ยินจากการอ่านแถลงการณ์ การอ่านประกาศต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งสารที่นำ�มาอ่านส่วนมากอยู่ในรูปของเนื้อความที่เป็น “ร้อยแก้ว” คือเป็นความเรียง ตามลักษณะสารที่นำ�
เสนอ เช่น ข่าว บทความ สารคดี แถลงการณ์ และประกาศ เป็นต้น การอ่านสารในรูปแบบที่กล่าวมานี้ ล้วนมี
จุดเน้นให้อ่านได้อย่างถูกต้องตามอักขรวิธี ฉะฉาน ชัดเจน และใช้นํ้าเสียงตามรูปแบบของสาร เช่น อ่านหรือ
ประกาศข่าวรายวันโดยทั่วไป ให้ใช้นํ้าเสียงที่ค่อนข้างนุ่มนวลน่าฟัง ขณะที่อ่านแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติก็
ต้องใช้นํ้าเสียงให้เข้มแข็ง หนักแน่น ดุดันพอสมควร เป็นต้น แต่กระนั้นก็ตามต้องถูกต้องตามอักขรวิธีเป็น
สำ�คัญ

       การส่งสารด้วยการอ่านออกเสียง นอกจากจะอ่านออกเสียงร้อยแก้วแล้ว ยังมีการอ่านออกเสียง
รอ้ ยกรอง ซงึ่ มกั นยิ มใหอ้ า่ นแบบมที ว่ งท�ำ นองและจงั หวะทฟ่ี งั แลว้ มคี วามไพเราะทเี่ รยี กกนั วา่ อา่ นท�ำ นองเสนาะ
การอ่านดังกล่าวนี้ มีเป้าประสงค์ในการฝึกฝนคือเพื่อให้เห็นคุณค่า ความงดงามทางวรรณศิลป์ที่ปรากฏใน
ภาษาไทย ซึ่งภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความไพเราะ ด้วยเสียงวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสคล้องจองในภาษา และ
มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่มีภาษาใดเสมอเหมือน นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าอย่างยิ่ง และการ
ธำ�รงรักษาไว้ให้อยู่คู่กับประเทศไทยได้อีกยาวนานต้องอาศัยหลักสูตรของชาติเป็นสื่อสำ�คัญในการสืบสาน
ต่อไป ฉะนั้นครูภาษาไทยจึงควรให้ความสำ�คัญไว้ด้วยเช่นกัน

       สำ�หรับการพูดซึ่งมีการเปล่งเสียงขณะสื่อสารเช่นเดียวกับการอ่านออกเสียง แต่การพูดเป็นการ
เปล่งเสียงที่เป็นไปตามธรรมชาติ ใช้สื่อธรรมชาติ กล่าวคือไม่ต้องมีบทหรือข้อความที่เขียนไว้แล้วมาเป็นสื่อ
อย่างการอ่านออกเสียง แต่สาระที่เกิดขึ้นพร้อมกับเสียงที่เปล่งออกมาจากการพูดเป็นความคิด ความรู้สึก
ของผู้พูดที่พรั่งพรูออกมาเป็นถ้อยคำ�และใจความพร้อมกับเสียงที่สามารถสื่อความหมายได้ในทันที กระนั้น
ก็ตาม การที่บุคคลจะพูดได้ดี หรือที่เรียกได้ว่า มีทักษะในการพูด ก็ควรมีหลักการทางภาษาไว้เป็นแนวทาง
เช่นกัน ฉะนั้นการเรียนการสอนการพูดจึงมีเรื่องของหลักการใช้ภาษาเพื่อพัฒนาการพูดอยู่ในหลักสูตร
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31