Page 31 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 31
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวก ับการวัด 6-21
สำ�หรับน ักเรียน ถึงแ มใ้นข ั้นแ รกจ ะย อมรับว ่าด ินสอท ั้งส องแ ท่งย าวเท่าก ัน ดังแ สดงในภ าพท ี่ 6.4 (1)
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนตำ�แหน่งของดินสอไป นักเรียนจะไม่ยอมรับว่าดินสอสองแท่งยังมีความยาวเท่ากันอยู่
เช่น ในภาพที่ 6.4 (2) นักเรียนจ ะบ อกว ่าดินสอท ี่ไม่มีล ายมีค วามย าวกว่าดินสอท ี่มีลาย ส่วนในภาพท ี่ 6.4 (3)
และ 6.4 (4) นักเรียนจะบอกว่าดินสอที่มีลายมีความยาวกว่าดินสอที่ไม่มีลาย นักเรียนที่แสดงคำ�ต อบใน
ลักษณะนี้ถือว่ายังไม่มีความสามารถในการอนุรักษ์ความยาว นักเรียนที่มีความสามารถในการอนุรักษ์
ความยาวจะต้องแสดงคำ�ต อบให้เห็นว่า ไม่ว่าตำ�แหน่งของสิ่งของจะเปลี่ยนไปอย่างไรความยาวย่อมไม่
เปลี่ยนแปลง ความสามารถในการอนุรักษ์ความยาวของนักเรียนมีความสำ�คัญและจำ�เป็นต่อความเข้าใจ
เรื่องการวัด ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการวัดความยาวนั้น ครูต้องฝึกให้นักเรียนเกิดความ
สามารถในก ารอ นุรักษ์ค วามยาว มิเช่นน ั้นอ าจเกิดเหตุการณ์ท ี่เมื่อเปลี่ยนเครื่องม ือว ัดจ ากไม้บรรทัดอ ันห นึ่ง
ไปเป็นอ ีกอ ันห นึ่ง ความยาวท ี่ได้ในก ารว ัดส ิ่งต่างๆ อาจเปลี่ยนไป
ความส ามารถในก ารอ นุรักษ์ค วามย าวน ี้ค รอบคลุมไปถ ึงค วามส ามารถในก ารอ นุรักษ์ค วามย าวข อง
ส่วนย่อยๆ ที่ป ระกอบกันเป็นส่วนใหญ่ด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากในการวัดใดๆ สิ่งท ี่ถูกว ัดจ ะต้องถ ูกแ บ่งอ อกเป็น
ส่วนย ่อยๆ โดยที่แ ต่ละส ่วนม ีค วามย าวเช่นเดียวก ับค วามย าวข องห น่วยก ารว ัดท ี่ใช้ การท ดลองเกี่ยวก ับ การ
อนุรักษ์ความยาวของส่วนย่อยท ำ�ได้โดยการนำ�แ ถบกระดาษซ ึ่งมีขนาดเท่าก ันมาสอ งแผ่น แล้วนำ�แ ผ่นห นึ่ง
มาต ัดเป็นส่วนๆ เช่น สองส ่วน สามส่วน แล้วนำ�แ ถบกระดาษน ั้นม าจัดเรียงในลักษณะต ่างๆ กัน ดังแสดง
ในภาพท ี่ 6.5
(1)
(2) (3)
ภาพท่ี 6.5 การเปรียบเทียบค วามย าวของแ ถบก ระดาษเมอื่ ม กี ารเปลย่ี นแปลงร ูปร ่าง
นักเรียนที่สามารถอนุรักษ์ความยาวของส่วนย่อยคือ นักเรียนที่ตอบได้ว่าแถบกระดาษสองอันใน
แต่ละภาพม ีค วามย าวเท่ากัน ถึงแม้ในภาพท ี่ 6.5 (2) และ 6.5 (3) แถบกระดาษอันห นึ่งจ ะถ ูกแ บ่งออกเป็น
ส่วนย ่อยๆ แล้วนำ�ม าจัดรูปใหม่ก ็ตาม