Page 89 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 89
การจัดป ระสบการณ์ก ารเรียนรู้เกี่ยวก ับการว ัด 6-79
เป็นต้นมา และจากแจ้งความกระทรวงทหารเรือ ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2462 ในกรมอุทกศาสตร์
กองทัพเรือ มีหน้าที่รักษาเวลามาตรฐานของประเทศ กรมอุทกศาสตร์เป็นสถาบันรักษามาตรฐาน ทำ�การ
รักษาเวลาอัตราประเทศไทย และเป็นผ ู้ป ระกาศเวลาตลอดมาจ นถึงปัจจุบัน
การต รวจส อบเวลา กรมอ ุทกศาสตร์ กองทัพเรือเป็นหน่วยงานที่ท ำ�ห น้าที่ต รวจส อบเวลาเพื่อร ักษา
เวลามาตรฐานของไทย และแ จ้งสัญญาณเทียบเวลาให้แก่ป ระชาชนเพื่อให้ใช้ได้ตรงกันทั่วป ระเทศ
หลังจ ากศกึ ษาเนอ้ื หาสาระเรอ่ื งที่ 6.6.1 แล้ว โปรดปฏิบัตกิ ิจกรรม 6.6.1
ในแ นวการศ กึ ษาหน่วยท่ี 6 ตอนท ่ี 6.6 เรอ่ื งที่ 6.6.1
เรื่องที่ 6.6.2 การสอนการวดั เวลา
เนื่องจากเวลาเป็นนามธรรมมาก และการวัดเวลาก็มีลักษณะแปลกไปกว่าการวัดแบบอื่น เพราะ
ทุกครั้งที่วัดเวลา เวลาจะเลยผ่านไปและไม่สามารถหวนกลับมาวัดใหม่ได้อีก ดังนั้น การสอนเวลาถึงแม้
จะต้องย ึดห ลักก ารข องการส อนก ารว ัดเช่นเดียวก ับก ารส อนก ารว ัดแ บบ อื่นๆ แต่ก ารส อนก ารว ัดเวลาจะต ้อง
มีลักษณะก ารสอนท ี่เฉพาะ เพื่อช ่วยให้น ักเรียนพ ัฒนาค วามเข้าใจได้อ ย่างแ ท้จริง ดังหลักการส อนท ี่พ อส รุป
ได้ด ังนี้
1. เพียเจตค์ ้นพ บว ่าเด็กๆ มักน ำ�เวลาไปส ัมพันธก์ ับค วามเร็ว ดังต ัวอย่างก ารท ดลองท ีเ่ขาค ้นพ บข ึ้น
โดยน ำ�ต ุ๊กตาไขล านม าสอ งต ัว ให้เริ่มอ อกเดินจ ากต ำ�แหน่งเดียวกัน เดินไปพ ร้อมๆ กันแ ละห ยุดพ ร้อมก ัน ใน
กรณีนี้เด็กๆ จะยอมรับได้ว่า ตุ๊กตาทั้งสองตัวเริ่มและหยุดในเวลาเดียวกัน แต่เมื่อไขลานให้ตุ๊กตาตัวหนึ่ง
เดินได้เร็วก ว่าแ ละเมื่อถ ึงเวลาห ยุด ปรากฏว ่าต ุ๊กตาต ัวน ี้เดินไปได้ไกลก ว่า ในก รณีน ี้เด็กบ างค นจ ะไม่ย อมรับ
ว่าตุ๊กตาทั้งสองตัวหยุดในเวลาเดียวกัน เด็กเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทไม่มีความสามารถในการอนุรักษ์เวลา
(Conservation of Time) เมื่อเรียนเกี่ยวก ับเวลาเด็กเหล่าน ี้อาจจ ะไม่สามารถท ำ�ความเข้าใจได้อ ย่างแ ท้จริง
ดังนั้น ครูจ ึงค วรจ ัดป ระสบการณ์เพื่อส ่งเสริมความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้แก่เด็ก
2. เนื่องจากแนวคิดพื้นฐานในเรื่องของเวลา คือ ลำ�ดับเหตุการณ์ ดังนั้น การสอนเวลาควรเริ่ม
จากการให้ประสบการณ์แก่นักเรียนในรูปของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียงลำ�ดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
เช่น ให้นักเรียนเรียงลำ�ดับเหตุการณ์ในการแต่งตัวมาโรงเรียน หรือเรียงลำ�ดับเหตุการณ์ตั้งแต่ตื่นนอน
จนมาโรงเรียน เป็นต้น หลังจากนั้นให้นักเรียนวาดภาพลำ�ดับของเหตุการณ์ ในการเรียงลำ�ดับเหตุการณ์น ี้
ควรครอบคลุมเหตุการณ์ประเภทท ี่วัตถุม ีการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น เป่าล ูกโป่งแ ล้วล ูกโป่งพองขึ้น เทียนไข
ที่จ ุดไว้ส ั้นล ง เป็นต้น