Page 44 - สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ
P. 44
5-34 สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ
เรอื่ งท่ี 5.2.1 การเรียนก ารสอนก ารออกเสียง
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 5.1 ว่าองค์ประกอบของภาษา จำ�แนกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
เนื้อหาทางภาษา และทักษะทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษานั้นควรสอนเนื้อหาทางภาษา
และทักษะทางภ าษาผสมผ สานกันไป ซึ่งเป็นการจ ัดการเรียนการสอนแบบบ ูรณาการ (integration)
ไมไ่ ดม้ กี ารแ ยกก ารส อนก ารอ อกเสยี ง ค�ำ ศพั ท์ ไวยากรณ์ และก ารส ือ่ ค วามห มายอ อกจ ากก นั เปน็ ส ว่ นๆ
(discrete point) ผู้สอนจำ�เป็นต้องคิดวิเคราะห์ว่าควรจะมีจุดเน้นด้านเนื้อหาทางภาษา เช่น เสียง
คำ�ศัพท์และไวยากรณ์ในส่วนใดเรื่องใด แล้วนำ�มาฝึก สอน และทบทวนให้ผู้เรียนรู้จัก สังเกต และ
เห็นตัวอย่าง ด้วยการฟัง การพ ูด การอ ่าน และ/หรือการเขียน แล้วจึงให้ฝ ึกใช้ค ำ�และไวยากรณ์นั้นๆ
ในสถานการณ์ต ่างๆ ในรูปแ บบข องก ารป ฏิสัมพันธ์ (interaction) เพื่อให้ผ ู้เรียนเข้าใจ เกิดก ารเรียนร ู้
ใช้ภ าษาได้คล่องแคล่วและแ ม่นยำ�มากข ึ้น
สคริเวเนอร์ (Scrivener, 2009) กล่าวถึงการใช้ภาษาและการจัดการเรียนการสอนภาษาว่า
เนื้อหาทางภาษาเป็นสิ่งที่จำ�เป็นต้องรู้ เข้าใจและสามารถนำ�มาใช้ได้ และในขณะเดียวกันทักษะทาง
ภาษาย่อมม ีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องก ัน โดยเฉพาะอ ย่างยิ่งก ารฟังแ ละการพูด ควรจะนำ�มา
ใช้ควบคู่ก ัน นอกจากนี้ทักษะอื่นๆ เช่น การค ิด ความจำ� การเจรจาหาข ้อต กลงร่วมก ัน (mediating)
ก็ค วรจะนับว่าเป็นทักษะทางภ าษาด้วย โดยส รุปเป็นแ ผนภูมิได้ด ังนี้
ระบบเนือ้ หาทางภาษา ทักษะทางภาษา
(Language Systems) (Language Skills)
มคี วามรู้ ปฏบิ ัติ
- สัทวิทยาหรือระบบเสียง (phonology)
- ระบบคำ� (lexis) การส่งสาร การพูด
- ไวยากรณ์ (grammar)
- หน้าที่ของภาษา (function) (productive) การเขียน
- การใช้คำ�สัมพันธ์ความ (discourse)
การรับสาร การฟัง
(receptive) การอ่าน
ภาพที่ 5.1 ระบบเน้ือหาท างภาษาแ ละท กั ษะ (Language Systems and Skills)
ที่มา: Language Systems and Skills. (Scrivener, 2009:29)