Page 73 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 73
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-63
โปรแกรมภาวะผู้นำ�แบบเต็มรูปแบบเป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง
ซึ่งรูปแบบการพัฒนาจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำ�คัญ คือ 1) ผลสะท้อนจากผลลัพธ์ของ Multifac-
tor Leadership Questionnaire (MLQ) และ 2) การจัดทำ�แผนพัฒนาตนเอง (personal development
plan) (Bass & Riggio, 2006: 152)
1. ผลสะท้อนจากผลลัพธ์ของ MLQ (feedback of MLQ results) สำ�หรับบุคคลที่ต้องการจะ
เปลี่ยนพฤติกรรม การรับรู้ และทัศนคติ บุคคลเหล่านั้นจำ�เป็นต้องการสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงพวกเขา และ
จะต้องมีแรงจูงใจให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การวิเคราะห์เป็นสิ่งที่จำ�เป็นเพื่อที่จะจัดการการเปลี่ยนแปลง
ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของพวกเขาในการปรับปรุงภาวะผู้นำ�อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำ�เร็จ
ข้อมูลใน MLQ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่สอบถามถึงผลการปฏิบัติงานของผู้นำ� ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อน
ร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาของผู้นำ� ในกรณีใช้วิธีการประเมินแบบ 360 องศา ซึ่งผลการประเมินจะถูกแปล
ความให้ผู้นำ�ฟังโดยผ่านที่ปรึกษา โดยข้อมูลสะท้อนกลับจากการวิเคราะห์จะบ่งบอกถึงการเปรียบเทียบ
คะแนนของผู้นำ�กับบรรทัดฐานของผู้นำ�ทั้งหมด ผลคะแนนการประเมินตนเองของผู้นำ�เมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลการให้คะแนนของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา และผลคะแนน MLQ ของผู้นำ�
เมื่อเปรียบเทียบกับผลคะแนนของผู้นำ�คนอื่นๆ ต่างองค์การ นอกจากนี้ รายการแต่ละรายการใน MLQ รวม
ทัง้ คะแนนแตล่ ะองคป์ ระกอบ จดุ แขง็ ทีส่ �ำ คญั และจดุ ออ่ นจะถกู เกบ็ อยา่ งเปน็ ระบบในขอ้ มลู สว่ นตวั (profile)
ของผู้นำ�แต่ละคน
และเนื่องจากรายการบางรายการไม่สามารถอธิบายภาพรวมของพฤติกรรมของผู้นำ�ได้ ผู้นำ�แต่ละ
คนควรที่จะแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรายการเป็นการเพิ่มเติม ซึ่งรายการในการสอบถามจะถูกแบ่งออก เป็น
0 (ไม่เคย) ถึง 4 (บ่อยครั้ง) ในทางที่เป็นจริงควรที่จะจัดลำ�ดับแบ่งออกเป็น ระดับ 3 หรือสูงกว่า จะเป็น
องค์ประกอบของภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) ระดับ 2 หรือตํ่ากว่า จะเป็น
องค์ประกอบของภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยน (transactional leadership) และระดับ 1 หรือตํ่ากว่าจะเป็น
องคป์ ระกอบของภาวะผูน้ ำ�แบบปลอ่ ยตามสบาย (laissez-faire leadership) ในขณะเดียวกัน เมื่อผลลพั ธท์ ี่
คำ�นวณได้ ควรพิจารณาถึงช่วงห่าง (gap) ระหว่างคะแนนประเมินตนเองและคะแนนที่ผู้อื่นประเมินให้ และ
ช่วงห่างระหว่างคะแนนตนเองกับคะแนนตามบรรทัดฐาน
คะแนนดังกล่าวข้างต้นจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงในตัวผู้นำ� ผู้นำ�จะเริ่มมอง
เห็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและเป้าหมายที่จะเสริมสร้างศักยภาพภาวะผู้นำ�ของตน
2. การจดั ท�ำ แผนพฒั นาตนเอง (personal development plan) ขอ้ มลู ทีไ่ ดจ้ ากการสะทอ้ นผล MLQ
จะถูกนำ�มาเป็นข้อมูลในการวางแผนและกำ�หนดเป้าหมายในการพัฒนาภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง แผนงาน
ที่ทำ�ขึ้นจะเป็นแผนแต่ละบุคคลและแตกต่างไปตามความต้องการจำ�เป็นของผู้นำ�แต่ละคน
โปรแกรมภาวะผู้นำ�แบบเต็มรูปแบบ (Full Range Leadership Program-FRLP)
โปรแกรมภาวะผู้นำ�แบบเต็มรูปแบบโดยทั่วไปจะเป็นการประชุม 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการประชุม
ขั้นพื้นฐาน และช่วงที่ 2 เป็นการประชุมขั้นก้าวหน้า โดยการประชุมขั้นพื้นฐาน เป็นการประชุมปฏิบัติการ
(workshop) ใช้เวลา 3 วัน จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมจะกลับไปปฏิบัติงานในองค์การของตน เป็นเวลา 3 เดือน