Page 68 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 68

2-58 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

       2. 	การสืบเสาะ (inquiry) เป็นศักยภาพที่จำ�เป็นในการกำ�หนดเป้าประสงค์ส่วนบุคคล ซึ่งหมาย
รวมถึงบรรทัดฐานส่วนตน ลักษณะนิสัยและวิธีการสำ�หรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

       3. 	การเรยี นรูเ้ พือ่ เพิม่ ความสามารถ (mastery) เปน็ อกี ศกั ยภาพหนึง่ ทีจ่ �ำ เปน็ และทีส่ �ำ คญั ศกั ยภาพ
นี้จะเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และการสืบเสาะ การเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถนี้จะเป็นลักษณะนิสัยที่สำ�คัญใน
การพัฒนาภาวะผู้นำ� ซึ่งผู้นำ�เองก็ควรที่จะมีทักษะในด้านนี้เป็นอย่างมาก

       4. 	การร่วมมือ (collaboration) เป็นสิ่งที่จำ�เป็นสำ�หรับการเรียนรู้ส่วนบุคคล ฟูลแลน กล่าวว่า
บุคคลจะเข้มแข็งได้ต้องมีองค์ประกอบของความร่วมมือเป็นหลักทั้งในระดับเล็ก (small scale) ซึ่งหมายถึง
ทัศนคติและความสามารถในการให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�และสัมพันธ์ภาพกับเพื่อนร่วมงาน และในระดับที่ใหญ่
กว่า (large scale) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทำ�งานระหว่างสถานศึกษากับสถานศึกษา หรือระหว่าง
สถานศึกษากับชุมชน

       คลาค (Clark, 1999) ไดศ้ กึ ษาแนวทางการพฒั นาภาวะผูน้ �ำ ของผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา พบวา่ แนวทาง
การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

       1. 	ขั้นเตรียมการเบื้องต้น (initial preparation) จุดเน้นอยู่ที่การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ
และการพัฒนาความเป็นภาวะผู้นำ�

       2. 	ขั้นพัฒนาความเป็นมืออาชีพ (professional development) ซึ่งอาจใช้เครือข่ายร่วมพัฒนา
เช่น สถานศึกษากับมหาวิทยาลัยซึ่งไม่เพียงแต่ผู้บริหารสถานศึกษาจะได้รับการพัฒนา หากแต่บุคลากร
มหาวิทยาลัยยังได้รับการพัฒนาในวิธีการสอนแบบใหม่ๆ อีกด้วย

       3. 	ขั้นวางแผนเพื่อความสำ�เร็จ (succession planning) ขั้นตอนการวางแผนเพื่อความสำ�เร็จนี้รวม
ถึงการวางแผนเพื่อก้าวขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้นด้วยซึ่งจะเป็นการจูงใจให้ผู้บริหารเกิดความมั่นใจในความก้าวหน้า
และความมั่นคงในอาชีพ

       4. 	ขั้นการให้รางวัล (rewards) การพัฒนาภาวะผู้นำ�ที่ประสบความสำ�เร็จควรมีการให้รางวัลเป็น
สิง่ ตอบแทนในความพยายาม ซึง่ รางวลั ทีอ่ ยูใ่ นรปู ของโอกาสทางอาชพี เปน็ สิง่ ทีจ่ �ำ เปน็ เชน่ การเขา้ รว่ มประชมุ
วิชาชีพ การได้รับการสนับสนุนให้ดำ�รงตำ�แหน่งที่สูงขึ้น เป็นต้น

       ผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ�ยังพบอีกว่า การพัฒนาภาวะผู้นำ�ของผู้บริหาร
ระดับสูง (senior executives) มีแนวทางและวิธีการที่สำ�คัญ ซึ่งวูดดอลและวินสแตนลี่ย์ (Woodall &
Winstanley, 1998) ได้ระบุถึงแนวทางและวิธีการที่สำ�คัญในการพัฒนภาวะผู้นำ� ดังตารางที่ 2.5
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73