Page 64 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 64
2-54 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา
กลุ่มที่จัดตั้งใหม่เป็นทีมงานที่ท้าทายการบริหารมาก ด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก ด้วยภาวะ
ที่ไม่มีใครยอมใคร นั่นคือประเด็นของการจัดตั้งทีมใหม่ แต่เนื่องจากภาวะผู้นำ�ของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ
ความคิดเห็นที่แตกต่างจะนำ�มาซึ่งข้อสรุปที่มีเหตุผล มีการตั้งวิสัยทัศน์ใหม่ มีการโต้แย้งของทีมใหม่เป็น
ประเด็นให้เกิดการทบทวนซํ้าแล้วซํ้าอีกเพื่อให้ได้ความสมดุลของเหตุผลที่ทีมเห็นพ้องต้องกัน แม้ว่าการ
เปลี่ยนแปลงเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ “ทีมใหม่และมีความหลากหลาย” ภายใต้การบริหารของผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง
ที่มีศักยภาพในการประสานงานทั่วทั้งโรงเรียนจะสามารถนำ�พาโรงเรียนให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้งหนึ่ง
ที่มา: ปรับปรุงจาก “The New and More Diverse Team” ใน J.P. Kotter & D.S. Cohen. (2002). The heart of change.
Boston: Harvard Business School Press, p. 43.
จากกรณีศึกษาที่ 2 จะเห็นว่าเป็นการใช้ภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงโน้มน้าวที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ของกลุ่มหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ (Yukl, 1989: 2) โดยการกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimula-
tion-IS) (Bass & Avolio, 1993: 114–122) ให้ผู้ตามตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ทำ�ให้
ผู้ตามมีความต้องการหาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหาในหน่วยงาน เพื่อหาข้อสรุปใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่อทำ�ให้
เกิดสิ่งใหม่และสร้างสรรค์ ซึ่งกรณีศึกษาดังกล่าวอาจใช้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงแบบวิเคราะห์องค์การของ
คอตเตอร์ โดยการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการจัดตั้งทีมงานบริหารสถานศึกษาโดยพิจารณา
แต่งตั้งบุคคลใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านตำ�แหน่งงานหรือทักษะการทำ�งาน จากนั้นจะสร้างพลัง
อำ�นาจสนับสนุนโดยบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมทีมจะมาจากฝ่ายต่างๆ มีการสร้างวิสัยทัศน์สำ�หรับ
การเปลีย่ นแปลง ประเดน็ ตอ่ ไปทีผ่ ูบ้ รหิ ารจะตอ้ งท�ำ ตอ่ จากนี้ คอื การสือ่ สารถา่ ยทอดวสิ ยั ทศั นใ์ หก้ บั บคุ ลากร
ในองค์การได้รับรู้และทำ�ให้เกิดการยอมรับ นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาสิ่งที่อาจทำ�ให้เกิดอุปสรรคต่อการ
ทำ�งาน อาจได้แก่ การต่อต้านจากทีมงานเดิม กลยุทธ์ต่อมาคือ จะต้องสร้างผลงานที่ประสบผลสำ�เร็จใน
ระยะสั้นๆ เพื่อให้บุคลากรทุกคนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และที่สำ�คัญที่สุด คือ ผู้บริหารต้องบริหาร
การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นทำ�ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นกลายเป็นวัฒนธรรมองค์การในที่สุด
หลงั จากศกึ ษาเน้อื หาสาระตอนที่ 2.2 แลว้ โปรดปฏิบัตกิ จิ กรรม 2.2
ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 2 ตอนที่ 2.2