Page 63 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 63

ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-53

          เราเริ่มเปลี่ยนหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ และมันทำ�ให้พวกเราในโรงเรียนเกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่
  เพียงแค่หัวข้อข่าวที่เพียงผ่านไปในแต่ละวันเท่านั้น แต่มันทำ�ให้ทุกคนสามารถรับรู้และเข้าใจถึงเป้าหมายของ
  โรงเรียนที่ต้องการบรรลุผลสำ�เร็จ

ที่มา: 	ป รับปรุงจาก “The Screen Saver” ใน J.P. Kotter & D.S. Cohen. (2002). The heart of change. Boston: Harvard
     Business School Press, p. 95.

       จากกรณีศึกษาที่ 1 จะเห็นว่าเป็นการใช้ภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงในฐานะที่เป็นศิลปะ (Bass,
1981: 78) ที่ก่อให้เกิดการยินยอมทางอ้อมและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ สมาชิกของกลุ่ม นอกจากนี้
ผู้นำ�ยังให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล และทำ�ให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่า และมีความสำ�คัญ ในกรณีนี้
ผู้นำ�ได้มีการสร้างทิศทาง (establishing direction) โดยการพัฒนาวิสัยทัศน์ของอนาคตในระยะไกลและ
กำ�หนดแนวยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่จำ�เป็น มีการสื่อสารทุกรูปแบบกับกลุ่มรวมถึงการ
สรา้ งอทิ ธพิ ลทีจ่ ะท�ำ ใหเ้ กดิ แนวรว่ มทีส่ ามารถเขา้ ใจวสิ ยั ทศั นแ์ ละเปา้ หมายขององคก์ าร และทา้ ยสดุ ท�ำ ใหเ้ กดิ
การเปลี่ยนแปลง (producing change) โดยการขับเคลื่อนหรือผลิตการเปลี่ยนแปลงในระดับสำ�คัญและมี
ศักยภาพทำ�ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นมีประโยชน์สำ�หรับองค์การในอนาคต (Kotter, 1996: 26)

       2. 	กรณีศึกษาที่ 2 “ทีมใหม่และหลากหลาย”
       กรณีศึกษาต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานใหม่ซึ่งเป็นภารกิจที่สำ�คัญของผู้บริหารการ
เปลี่ยนแปลง

          เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำ�เร็จใน
  การบริหารจัดการโรงเรียนหนึ่งในแถบตอนเหนือของประเทศ ครูที่สอนเก่งและมีคุณวุฒิต่างสนใจย้ายเข้ามา
  ทำ�งานในโรงเรียนของเรา ทีมงานของโรงเรียนเป็นทีมงานที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

          สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้บริหารเดินสำ�รวจอยู่รอบๆ โรงเรียน ได้ยินเสียงกลุ่มครูสนทนากันอยู่
  ว่า “เมื่อก่อนเราทำ�งานกันหนักเพื่อให้โรงเรียนสำ�เร็จ ตอนนี้ก็สำ�เร็จแล้ว และก็เริ่มเบื่อที่จะทำ�แล้ว ไม่มีอะไร
  น่าตื่นเต้นเลย เก็บไว้ให้ครูหนุ่มๆ สาวๆ ทำ�กันต่อเถอะ” ปัญหาที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สิ่งที่ใหญ่โต แต่
  เป็นปัญหาที่อาจกัดกร่อนความเข้มแข็งของโรงเรียนไปทีละเล็กละน้อย

          สิ่งทีป่ รากฏผล คอื ทมี ทำ�งานของโรงเรียนเริ่มเล็กลง หลายคนพยายามตีตวั ออกห่างจากภารกจิ งาน
  ที่เคยรับผิดชอบ ทีมที่ทำ�อยู่ปัจจุบันจะมีเพียงครูใหม่ที่มีทักษะและประสบการณ์ทำ�งานยังน้อยอยู่

          เชา้ วันต่อมา เลขานุการของผูบ้ ริหาร ได้โทรศัพทป์ ระสานบคุ ลากรทีอ่ ยู่ในฝา่ ยและกลุ่มสาระฯ ตา่ งๆ
  เขา้ ประชมุ ในฐานะเปน็ ตวั แทนของแตล่ ะฝา่ ยและทกุ ระดบั ในโรงเรยี นเขา้ ประชมุ ในทีป่ ระชมุ ผูบ้ รหิ ารไดก้ ลา่ ว
  ถึงการจัดตั้งทีมงานบริหารโรงเรียน โดยกล่าวว่าผู้ที่อยู่ในห้องประชุมทุกคนเป็นผู้ที่ผู้บริหารพิจารณาแล้วว่า
  เป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีมุมมองในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเป็นเลิศ เช่น ตัวแทนฝ่ายการเงิน ฝ่าย
  บุคคล กลุ่มสาระต่างๆ กลุ่มนี้เองเป็นตัวแทนของผู้ที่มีมุมมองและภูมิหลังที่แตกต่างกัน ไม่เพียงแตกต่าง
  ในด้านทักษะเท่านั้นแต่ยังแตกต่างในภาพรวมอีกด้วย
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68