Page 60 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 60

2-50 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

       2. 	การสรา้ งความรูส้ กึ เรง่ ดว่ นส�ำ หรบั การเปลีย่ นแปลง (creating a sense of urgency for change)
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำ�คัญที่จะกระตุ้นให้บุคลากรในองค์การเห็นความสำ�คัญของการเปลี่ยนแปลง

       3. 	การอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ (facilitating organizational
change)

       4. 	การแก้ไขปัญหา (solving problems) เมื่อพบกับปัญหา ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็น
นักวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหานั้นๆ เป็นปัญหาที่แท้จริงหรือไม่ และต้องทำ�การแก้ไขอย่างทันท่วงที

       5. 	การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน (performing analysis) ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงจะต้องทำ�การ
วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานด้วยความเที่ยงตรง และใช้เทคนิควิธีการหลากหลายวิธีเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์
การปฏบิ ตั งิ านทีส่ ามารถบง่ บอกถงึ ผลของการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กดิ ขึน้ วา่ มปี ระสทิ ธผิ ลเพยี งใด ควรท�ำ การแกไ้ ข
ในเรื่องใดบ้าง 	

       ธนา ศิริวัลลภ และชัยพงษ์ พงษ์พานิช (2553) กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของ
องค์การประสบความสำ�เร็จ จะประกอบด้วย

       1. 	ความจริงจังของผู้บริหารระดับสูง หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูง การ
เปลี่ยนแปลงที่เริ่มขึ้นในองค์การจะไม่ประสบผลสำ�เร็จ นั้นหมายความว่า องค์การจะประสบความสำ�เร็จได้
ก็ต่อเมื่อผู้บริหารมีบทบาทในการเป็นผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง

       2. 	การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบบนลงล่าง เมื่อผู้บริหารเห็นชอบกับการ
เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากระดับบนสู่ระดับล่าง ทั้งในแง่ของนโยบาย
งบประมาณและบุคลากร

       3. 	การสอื่ สารทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล ความส�ำ เรจ็ ของทกุ ๆ การเปลยี่ นแปลง จะขนึ้ อยกู่ บั
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์การสื่อสารเป็นปัจจัยที่มีความจำ�เป็นเพื่อให้มั่นใจว่าการ
เปลี่ยนแปลงจะสำ�เร็จเสร็จสิ้น การสื่อสารอาจนำ�มาใช้ในหลายประเภทและหลายลักษณะ แต่ทุกประเภทจะ
ต้องสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งองค์การ

       4. 	สังเกตการณ์ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทั้งก่อนและหลัง
เปลี่ยนแปลงองค์การ หากมีการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด จะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้งาน
ชะงักงันได้ รวมทั้งเพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงนั้นจะได้รับการดำ�เนินการในลักษณะที่เหมาะสม

       5. การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรเป็นองค์ประกอบที่มีความสำ�คัญต่อการ
บริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การบริหารทรัพยากรซึ่งหมายถึง บุคลากร งบประมาณ เวลา และอื่นๆ จึงมี
ความจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

       นอกจากนี้ เสน่ห์ จุ้ยโต (2552) กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา
มีทั้งสิ้น 9 ประการ คือ

       1. 	การสร้างเครือข่าย ผู้นำ�จำ�เป็นต้องสร้างตนเองให้เป็นที่รู้จักของคนในทุกวงการและทุกอาชีพ
โดยต้องเรียนรู้ทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลักษณะสหสาขาวิชา (interdisciplinary) ให้มากขึ้น เนื่องจากสังคม
ยุคข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น ดังนั้น เครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น ผู้นำ�ยุคใหม่ต้องสร้าง
เครือข่ายงานที่กว้าง พร้อมที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายในรูปของหุ้นส่วนหรือพันธมิตร
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65